ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 36:
วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้าใช้หลักสูตรของ[[ทบวงมหาวิทยาลัย]] ซึ่งใช้เวลาในการศึกษา 7 ปี (เตรียมแพทย์ 2 ปี ปรีคลินิก 2 ปี คลินิก 2 ปี และแพทย์ฝึกหัด 1 ปี) ตั้งแต่ปี [[พ.ศ. 2518]] ถึงปี [[พ.ศ. 2523]] จนมีการเปลี่ยนหลักสูตรการศึกษา[[แพทยศาสตรบัณฑิต]]เป็น 6 ปี (เตรียมแพทย์ 1 ปี ปรีคลินิก 2 ปี คลินิก 3 ปี) ตั้งแต่ปี [[พ.ศ. 2524]] ถึงปัจจุบัน
 
เมื่อวันที่ [[28 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2530]] [[ผู้บัญชาการทหารบก]] ในขณะนั้น อนุมัติให้ผลิตนักเรียนแพทย์ทหารเพิ่มจาก 32 เป็น 65 นายต่อปี ประกอบกับในขณะนั้น[[รัฐบาล]]มีโครงการผลิตแพทย์เพิ่มให้พอกับความต้องการของประเทศ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า ตั้งแต่ปี [[พ.ศ. 2536]] ถึงปี [[พ.ศ. 2544]] จากนั้นชะลอโครงการประมาณ 2 ปีเนื่องจากสภาวะตกต่ำทางเศรษฐกิจ แต่ภายหลังในปี [[พ.ศ. 2547]] จึงกลับมารับนักเรียนแพทย์ทหารเป็น 65 นายต่อ
 
ในปี [[พ.ศ. 2548]] ความขาดแคลนแพทย์และศักยภาพของวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า ทำให้[[กระทรวงสาธารณสุข]]ให้งบประมาณสนับสนุน รับนักเรียนแพทย์ทหารได้เป็น 100 นายต่อปี แต่เนื่องจากข้อจำกัดทางด้านกำลังพลของกองทัพ ไม่สามารถบรรจุแพทย์ทหารเข้ารับราชการได้ทุกนาย วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้าจึงได้ทำข้อตกลงกับ[[สถาบันพระบรมราชชนก]] ให้รับบัณฑิตแพทย์เข้ารับราชการใน[[กระทรวงสาธารณสุข]] ทำให้เกิดนโยบายการรับบุคคลเข้าศึกษา 100 คนแบ่งเป็น นักเรียนแพทย์ทหาร และนักศึกษาแพทย์ชาย-หญิง ตั้งแต่ปี [[พ.ศ. 2549]] จนถึงปัจจุบัน
บรรทัด 54:
* '''[[พระมหาพิชัยมงกุฎ]]'''พร้อมรัศมี หมายถึง ราชอิสริยาภรณ์ ราชาธิปไตย อันเป็นเครื่องประดับพระเศียร [[พระมหากษัตริย์]]แห่ง[[ราชวงศ์จักรี]]สร้างในรัชสมัย[[รัชกาลที่ ๑]] ซึ่ง[[พระมหากษัตริย์]]ทรงสวมในพิธีพระบรมราชาภิเษก และพระราชพิธีสำคัญ
* '''เลข ๖''' ใน วงกลมหมายถึง [[รัชกาลที่ ๖]] แห่ง[[ราชวงศ์จักรี]] ผู้ทรงสร้าง[[พระราชวังพญาไท]] ซึ่งเป็นพื้นที่ตั้ง วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า ปัจจุบัน (บางส่วน)
* '''รร''' ในวงกลมหมายถึง พระนามาภิไธยปรมาภิไธยย่อ รามรามาธิบดี ในพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
* '''[[พญานาค]]''' หมายถึง วิชา[[แพทย์]] ที่พระวิศวามิตร์เล่าไว้ในบ่อเกิด[[รามเกียรติ์]]ว่า [[เทวดา]] และ[[อสูร]] ต้องการเป็น[[อมตะ]] จึงทำพิธี[[กวนเกษียรสมุทร]] โดยใช้เขามนทรคีรีเป็นไม้กวน นำพญา[[วาสุกรี]]เป็น[[เชือก]] เป็นผลให้เกิดประถมแพทย์ [[ธันวันตะรี]] ผู้ชำนาญใน[[อายุรเวท]]<ref>สัญลักษณ์วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า[http://www.pcm.ac.th/druweb/?q=node/14]ค้นหาวันที่21 มีนาคม 2556</ref>