ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กบฏบวรเดช"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่ "พระยามโนปกรณ์ฯ" → "พระยามโนปกรณฯ" ด้วยสจห.
บรรทัด 34:
[[พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช|พลเอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช]] เป็นเจ้านายผู้กล่าวโจมตีระบอบ[[สมบูรณาญาสิทธิราชย์]]มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 พระองค์มีความชิงชังต่อการปกครองของ[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ที่แต่งตั้งคนสอพลอเข้ามาไว้ราชสำนักมากมาย พระองค์เจ้าบวรเดชเคยวางแผนยึดอำนาจจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า แล้วจะทูลเชิญ[[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต|เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์]] เจ้านายผู้มากบารมีและมีความเด็ดขาดขึ้นเป็นกษัตริย์แทน แต่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเสด็จสวรรคตเสียก่อน เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์รับตำแหน่งกษัตริย์ เจ้าฟ้าประชาธิปกจึงได้เสวยราชย์
 
พระองค์เจ้าบวรเดชเป็นทหารมีความสามารถและมีอุปนิสัยแข็งกร้าว และรู้กันดีว่าทรงเป็นผู้นิยมระบอบทหาร จึงเป็นที่เกรงใจของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าซึ่งเคยเป็นทหารรุ่นน้องอย่างมาก พระองค์เจ้าบวรเดชได้เป็นเสนาบดีกลาโหมในรัชกาลใหม่ ถึงกระนั้นก็ยังมีความขัดแย้งกับพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวระบอบการปกครอง พระองค์เจ้าบวรเดชต้องการขึ้นเงินเดือนทหารแต่ในหลวงไม่ยินยอมแพ้มติในที่ประชุมสภาเสนาบดี พระองค์จึงลาออกจากตำแหน่งเสนาบดีกลาโหม
 
เมื่อลาออกจากราชการแล้ว พระองค์เจ้าบวรเดชพยายามยุให้อดีตลูกน้องในบัญชาให้ยึดอำนาจการปกครอง ทรงเรียกพันเอก[[พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน)|พระยาพหลพลหยุหเสนา]]และพันเอก[[พระยาศรีสิทธิสงคราม (ดิ่น ท่าราบ)|พระยาศรีสิทธิสงคราม]]มาถามความเห็นเรื่องระบอบการปกครอง ทั้งคู่ต่างลงความเห็นว่าระบอบปัจจุบันไม่เหมาะแก่ยุคสมัย ควรจะเปลี่ยนแปลงเป็นประชาธิปไตย แต่ทั้งคู่มีความเห็นไม่ลงรอยกันในเรื่องของวิธีการที่จะใช้เปลี่ยนแปลงการปกครอง<ref>วิเทศกรณีย์ (นามแฝง). เหตุการณ์ทางการเมือง 43 ปีแห่งระบอบประชาธิปไตย. (พระนคร : รวมการพิมพ์, 2518) หน้า 379-380</ref>
บรรทัด 44:
ทางด้านพระยาศรีสิทธิสงครามก็ถูกเชิญให้เข้าร่วมรัฐบาลคณะราษฎร แต่พระยาศรีสิทธิฯปฏิเสธเพราะไม่พอใจที่คณะราษฎรใช้วิธีการรุนแรงเปลี่ยนแปลงการปกครอง [[พระยาทรงสุรเดช (เทพ พันธุมเสน)|พระยาทรงสุรเดช]]ไม่พอใจที่พระยาศรีสิทธิฯทำตัวเหินห่างกับคณะราษฎร จึงสั่งย้ายพระยาศรีสิทธิฯไปอยู่[[กระทรวงศึกษาธิการ (ประเทศไทย)|กระทรวงธรรมการ]]<ref name="jk"/> นัยว่าเป็นการลงโทษทางอ้อม
 
เมื่อพระยามโนปกรณนิติธาดาได้เป็นประธานกรรมการราษฎร ก็เกิดความขัดแย้งกับส่วนใหญ่ของคณะราษฎร [[ปรีดี พนมยงค์|หลวงประดิษฐ์มนูธรรม]]เสนอแผนเค้าโครงเศรษฐกิจที่เรียกว่า "[[สมุดปกเหลือง]]" ซึ่งจะทำให้ราษฎรทุกคนมีงานทำ ชาวนามีบำนาญเช่นเดียวกับข้าราชการ พระยามโนปกรณ์ฯปกรณฯมองว่าคณะราษฎรคิดก้าวหน้าเกินไป และโจมตีหลวงประดิษฐ์มนูธรรมอย่างรุนแรงว่าเป็นคอมมิวนิสต์ พระยามโนฯประกาศยุบสภา ออกพระราชบัญญัติว่าด้วยคอมมิวนิสต์และใช้เล่นงานหลวงประดิษฐ์มนูธรรมจนต้องออกไปอยู่ต่างประเทศ คณะราษฎรสายหลวงประดิษฐ์ฯจึงหมดอำนาจการเมือง ฝ่ายเจ้าเริ่มมีอำนาจเพิ่มขึ้นและยุยงให้พระยามโนปกรณฯแยกตัวจากคณะราษฎร
 
มีเหตุให้พระยาพหลฯโกรธพระยาทรงสุรเดชถึงขั้นจะใช้มีดไล่ฟัน พระยาทรงสุรเดชหลบออกมาหา[[พระยาฤทธิอัคเนย์ (สละ เอมะศิริ)|พระยาฤทธิ์อัคเนย์]]และ[[พระประศาสน์พิทยายุทธ (วัน ชูถิ่น)|พระประศาสน์พิทยายุทธ]]บอกว่า ''"ไอ่พจน์มันกลัดมันเป็นบ้า อยู่ด้วยกันไม่ได้แล้ว"'' ทั้งสามยื่นใบลาออกจากตำแหน่งราชการทั้งหมดเมื่อ 10 มิถุนายน 2476 อ้างว่าสุขภาพไม่อำนวย ส่งผลให้พระยาพหลฯต้องลาออกจากผู้บัญชาการทหารบกด้วยเพื่อรักษามารยาท ตำแหน่งทหารที่เคยเป็นของสี่เสือคณะราษฎรจึงว่างลงทั้งหมด กลุ่มเจ้าเห็นเป็นโอกาสที่จะส่งคนของตนขึ้นแทน ในวันที่ 18 มิถุนายน มีพระบรมราชานุญาติให้สี่เสือออกจากตำแหน่งโดยมีผลในวันที่ 24 มิถุนายน พลตรีพระยาพิชัยสงครามจะได้เป็นผู้บัญชาการทหารบก พันเอกพระยาศรีสิทธิสงครามจะได้เป็นเจ้ากรมยุทธการทหารบก พันโทหลวงพิบูลสงครามจะได้เป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก
 
[[ไฟล์:Phraya Srisitthisongkhram.jpg|165px|thumb|พันเอกพระยาศรีสิทธิสงคราม รองแม่ทัพกบฏ]]
มีรายงานลับมาถึงหลวงพิบูลสงครามว่า พระยาศรีสิทธิสงครามเตรียมโยกย้ายทหารสายคณะราษฎรพ้นจากตำแหน่งคุมกำลังทั้งหมด ทำให้ในวันที่ 20 มิถุนายน พระยาพหลฯ หลวงพิบูลฯ และหลวงศุภชลาศัย ชิงก่อ[[รัฐประหารในประเทศไทย มิถุนายน พ.ศ. 2476|รัฐประหารล้มรัฐบาลพระยามโนปกรณนิติธาดา]]โดยใช้การที่พระยามโนปกรณ์ฯปกรณฯปิดสภามาเป็นข้ออ้างต่อสาธารณชน พันโทประยูรถามว่าทำไมทำเช่นนี้ หลวงพิบูลฯตอบพันโทประยูรว่า ''"ประยูร จำเป็นต้องทำ ไม่มีทางเลี่ยง เพราะเจ้าคุณศรีสิทธิสงครามเล่นไม่ซื่อหักหลัง เตรียมสั่งย้ายนายทหารผู้กุมกำลังทั้งกองทัพ พวกก่อการจะถูกตัดตีนมือและถูกฆ่าตายในที่สุด"''<ref name="jk">หนังสือที่ระลึกในงานพิธีพระราชทานเพลิงร้อยโทจงกล ไกรฤกษ์. หน้า 35-40</ref> ประยูรระบุว่าหลังจากนั้นพระยาศรีสิทธิฯ ''"หน้าเหี้ยมเกรียม ตาแดงก่ำเป็นสายเลือด นั่งกัดกรามพูดว่าหลวงพิบูลสงครามเล่นสกปรก..."''<ref name="jk"/>
 
===เหตุแห่งกบฏ===