ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แคทารีน เฮปเบิร์น"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Novaskosia (คุย | ส่วนร่วม)
Novaskosia (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 44:
เรื่อง เดอะวอรริเออร์ฮัสแบนด์ ได้พิสูจน์เห็นเห็นถึงความพลุ่งพล่านในการแสดงละครของเฮปเบิร์น [[ชาร์ล ฮิกแฮม]] ผู้เขียนชีวประวัติ ได้กล่าวว่า บทบาทนี้เป็นอุดมคติสำหรับนักแสดงหญิงที่มีลักษณะพลังที่ก้าวร้าวและกระฉับกระเฉง และเธอมีความกระตือรือร้นอย่างมากในละครเรื่องนี้<ref name="higham p 17">Higham (2004) p. 17.</ref> ละครเวทีเปิดรอบแสดงในวันที่ 11 มีนาคม ค.ศ. 1932 ที่[[โรงละครโมรอสโก]]ในบรอดเวย์ การปรากฏตัวครั้งแรกของเฮปเบิร์น เรียกได้ว่า เธอกระโจนลงมาจากบันไดแคบๆ โดยสวมเสื้อคลุมเหนือไหล่และใส่ทูนิคสั้นสีเงิน ละครเวทีแสดงเป็นเวลาสามเดือน และเฮปเบิร์นได้รับบทวิจารณ์ในแง่บวก<ref>Berg (2004) p. 75.</ref> ริชาร์ด การ์แลนด์จากหนังสือพิมพ์ [[นิวยอร์กเวิลด์-เทเลกราฟ]] ได้เขียนว่า "เป็นเวลาหลายคืนนับตั้งแต่นั้นที่มีความเปล่งแสงโชติช่วงด้วยการแสดงที่ได้ฉายแสงในฉากของบรอดเวย์"<ref>Dickens (1990) p. 229.</ref>
 
===ความสำเร็จในฮอลลีวูด (ค.ศ. 1932 - 341934)===
[[ไฟล์:Abillofdivorcement.jpg|thumb|left|alt=Hepburn and David Manners acting in ''A Bill of Divorcement''. They are holding hands and looking at each other emotionally.|เฮปเบิร์นปรากฏตัวครั้งแรกในภาพยนตร์แนวประโลมโลก เรื่อง ''[[อะบิลออฟดีโวสเมนต์ (ภาพยนตร์ปี 1932)|อะบิลออฟดีโวสเมนต์]]'' (ค.ศ. 1932) ในบท ซิดนีย์ แฟร์ฟิลด์ โดยคู่กับ[[เดวิด แมนเนอร์]] นักวิจารณ์ชื่นชอบการแสดงของเธอและทำให้เธอโด่งดังในทันที]]
แมวมองของ[[ลีแลนด์ เฮย์วาร์ด]] นายหน้าในฮอลลีวูดได้มาสังเกตเห็นรูปโฉมของเฮปเบิร์น ในละครเวที ''เดอะวอรริเออร์ฮัสแบนด์'' และได้ขอให้เธอลองมาทดสอบในบท ซิดนีย์ แฟร์ฟิลด์ ในภาพยนตร์ของ[[อาร์เคโอพิกเจอร์|อาร์เคโอพิกเตอร์]] เรื่อง ''[[อะบิลออฟดีโวสเมนต์ (ภาพยนตร์ปี 1932)|อะบิลออฟดีโวสเมนต์]]''<ref>Hepburn (1991) p. 128.</ref> [[จอร์จ คูกอร์]] ผู้กำกับรู้สึกประทับใจในสิ่งที่เขาเห็น เขากล่าวว่า "นี่คือสิ่งแปลกที่พระเจ้าได้สร้างสรรค์ขึ้นมา" เขาจำได้ว่า "เธอไม่เหมือนใครที่ผมเคยได้ยินพบเจอมาก่อน" โดยเฉพาะเขาชื่นชอบอากัปกิริยาที่เธอหยิบแก้วขึ้นมา โดยกล่าวว่า "ผมคิดว่าเธอมีความสามารถมากในการแสดงอากัปกิริยาเช่นนั้น"<ref>Higham (2004) p. 23.</ref> เฮปเบิร์นเรียกร้องค่าจ้าง 1,500 ดอลลาร์ฯต่อสัปดาห์ สำหรับการรับบทนี้ ซึ่งเป็นค่าจ้างที่สูงมากสำหรับนักแสดงหน้าใหม่<ref>Higham (2004) p. 21.</ref> คูกอร์ได้สนับสนุนให้ทางสตูดิโอยินยอมตามข้อเรียกร้องของเธอและพวกเขาก็ได้เซ็นสัญญากับเฮปเบิร์นเป็นการชั่วคราวรับประกันสามสัปดาห์<ref name="Time"/><ref>Haver (1980) p. 94.</ref> [[เดวิด โอ.เซลสนิคก์]] ประธานอาร์เคโอ ได้คิดทบทวนใหม่ถึงการที่เขาจะได้ "โอกาสครั้งยิ่งใหญ่" จากการคัดเลือกนักแสดงหญิงผู้แหวกแนวคนนี้<ref name="haver 96">Haver (1980) p. 96.</ref>
บรรทัด 52:
[[ไฟล์:Katharine hepburn little women.jpg|thumb|upright|alt=Hepburn, dressed in 19th-century clothes, sat with tears in her eyes.|แสดงเป็น โจ มาร์ช ใน ''[[สี่ดรุณี (ภาพยนตร์ปี 1933)|สี่ดรุณี]]'' (ปี 1933) อันเป็นภาพยนตร์ซึ่งเป็นที่นิยมมากในขณะนั้น]]
ภาพยนตร์เรื่องที่สองของเฮปเบิร์นคือ ''[[คริสโตเฟอร์สตรอง]]'' (ปี 1933) เป็นเรื่องราวของนักบินและความสัมพันธ์ของเธอที่มีต่อชายที่แต่งงานแล้ว ภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่ค่อยประสบความสำเร็จทางการตลาดเท่าไร แต่บทวิจารณ์เฮปเบิร์นนั้นดี<ref>Berg (2004) p. 84.</ref> เรจินา ครีวี เขียนในหนังสือพิมพ์[[นิวยอร์กจัวนัล-อเมริกัน]]ว่าแม้ว่ากิริยาท่าทางของเธอจะค่อนข้างเถื่อน แต่"กิริยาเหล่านั้นก็สามารถดึงดูดความสนใจ และทำให้ผู้รับชมต้องหลงใหลเธอ เธอมีบุคลิกชัดเจน เด็ดขาด และบุคลิกภาพด้านบวก"<ref name="higham p 44">Higham (2004) p. 44.</ref> ภาพยนตร์เรื่องที่สามของเฮปเบิร์นเป็นสิ่งยืนยันให้เธอเป็นนักแสดงหลักของฮอลลีวูด<ref name="Berg p 86">Berg (2004) p. 86.</ref> ด้วยการแสดงเป็นนักแสดงผู้ทะเยอทะยานชื่อ เอวา เลิฟเลซ บทที่ตั้งใจมอบให้กับ[[คอนสแตนซ์ เบนเนต]] ในเรื่อง ''[[มอร์นิ่งกลอรี (ภาพยนตร์ปี 1933)|มอร์นิ่งกลอรี]]'' ซึ่งทำให้เธอได้รับ[[รางวัลออสการ์ สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม]] เธอเคยเห็นบทวางอยู่บนโต๊ะของโปรดิวเซอร์[[ปานโดร เอส.เบอร์แมน]] และเธอเชื่อว่าเธอเกิดมาเพื่อรับบทนี้ เป็นบทที่สร้างมาเพื่อเธอ<ref>Berg (2004) p. 85.</ref> เฮปเบิร์นเลือกที่จะไม่เข้าร่วมงานประกาศรางวัล และเธอจะไม่เข้าร่วมเลยตลอดอาชีพการทำงานของเธอ แต่ก็รู้สึกตื่นเต้นต่อชัยชนะมาก<ref>Berg (2004) p. 88.</ref> ความสำเร็จของเธอยังมีต่อในบท โจ ในเรื่อง ''[[สี่ดรุณี (ภาพยนตร์ปี 1933)|สี่ดรุณี]]'' (ปี 1933) ภาพยนตร์โด่งดังมาก จนกลายเป็นหนึ่งในความสำเร็จของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ในช่วงเวลานั้น<ref name="haver 96" /> และเฮปเบิร์นได้รับรางวัลนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยมจาก[[เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเวนิส]] เรื่อง ''สี่ดรุณี'' เป็นภาพยนตร์ที่เธอชอบเป็นการส่วนตัวและเธอพึงพอใจกับการแสดงมาก ซึ่งในภายหลังเธอบอกว่า "ฉันท้าได้เลยว่า ใครจะเล่นเป็น [โจ] ได้ดีกว่าที่ฉันเล่น"<ref name="Berg p 86" />
 
ปลายปีค.ศ. 1933 เฮปเบิร์นเป็นนักปสดงภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียง แต่เธอต้องการพิสูจน์ตัวเองในบรอดเวย์<ref>Berg (2004), p. 89; Higham (2004) p. 57.</ref> [[เจ็ด แฮร์ริส]] ซึ่งเป็นหนึ่งในโปรดิวเซอร์ละครเวทีที่ประสบความสำเร็จที่สุดในทศวรรษที่ 1920 กำลังผ่านช่วงตกต่ำของอาชีพของเขา<ref name="berg p 91" /> เขาขอให้เฮปเบิร์นแสดงในละครเวทีเรื่อง ''[[เดอะเลค (บทละคร)|เดอะเลค]]'' ซึ่งเฮปเบิร์นยินยอมรับงานในอัตราค่าตอบแทนที่ต่ำ<ref name="Berg p 92">Berg (2004) p. 92.</ref> ก่อนที่เธอจะลาไปบรอดเวย์ อาร์เคโอเสนอให้เธอเล่นภาพยนตร์เรื่อง ''[[สปิทไฟเออร์ (ภาพบนตร์ปี 1934)|สปิทไฟเออร์]]'' (ปี 1934) เฮปเบิร์นแสดงเป็น ทริกเกอร์ ฮิกส์ เด็กสาวที่อาศัยบนภูเขาซึ่งไม่ได้รับการศึกษา แม้ว่าภาพยนตร์เรื่องนี้ทำได้ดีในบ็อกซ์ออฟฟิศ แต่สปิทไฟเออร์ก็ถูกวิจารณ์ว่าเป็นภาพยนตร์ที่แน่ที่สุดของแคทารีน เฮปเบิร์น และเธอก็ได้รับคำวิจารณ์ที่ไม่ค่อยดีนัก<ref>Berg (2004) p. 89.</ref> เฮปเบิร์นเก็บรูปถ่ายของตัวเองที่แสดงเป็นฮิกส์ไว้ในห้องนอนตลอดชีวิตเพื่อให้ฉัน "[มี]ความเจียมเนื้อเจียมตน"<ref name="Berg 2004 p. 90">Berg (2004) p. 90.</ref>
 
มีการฉายตัวอย่างการแสดงละครเวทีเรื่องเดอะเลคในวอชิงตัน ดี.ซี. ทำให้มีการซื้อตั๋วล่องหน้าจำนวนมาก<ref name="Berg p 92" /> ทิศทางการทำงานที่ย่ำแย่ของแฮร์ริสได้ทำลายความเชื่อมั่นของเฮปเบิร์นและเธอก็ประสบความลำบากในการแสดง<ref>Higham (2004) p. 60.</ref> ด้วยเหตุนี้แฮร์ริสจึงย้ายการแสดงไปยังนิวยอร์กโดยไม่มีการซ้อมล่วงหน้า ละครเวทีจัดแสดงที่[[โรงละครอัลเฮิร์ชเฟลด์|โรงละครมาร์ติน แบ็ค]] ในวันที่ 26 ธันวาคม ค.ศ. 1933 และเฮปเบิร์นก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์ในทันที<ref>Higham (2004) p. 62.</ref> [[โดโรธี ปาร์กเกอร์]] ได้เหน็บแนมว่า "เฮปเบิร์นใช้แต่ช่วงโทนเสียงอารมณ์ตั้งแต่เอถึงบีตลอดทั้งเรื่อง"<ref>Hendrickson (2013) p. [https://books.google.com/books?id=0W4n4m9RVnEC&pg=PT311 311]</ref> ด้วยต้องผูกติดกับสัญญาทั้งหมด 10 สัปดาห์ เฮปเบิร์นต้องทนลำบากใจที่ยอดขายบ็แกซ์ออฟฟิศลดลงอย่างรวดเร็ว<ref>Hepburn (1991) p. 166.</ref> แฮร์ริสจึงตัดสินใจจัดแสดงที่ชิคาโก และพูดกับเฮปเบิร์นว่า "ที่รัก ความสนใจหนึ่งเดียวที่ผมมีต่อคุณคือเงินที่ผมได้จากคุณ" เฮปเบิร์นไม่อยากแสดงในละครเวทีที่ล้มเหลวของแฮร์ริสอีกต่อไป เธอจึงจ่ายเงินให้แฮร์ริสถึง 14,000 ดอลลาร์ ซึ่งมาจากเงินเก็บชั่วชีวิตของเธอ เพื่อหยุดยั้งการจัดแสดงนี้แทน<ref>Berg (2004) p. 93.</ref> ในภายหลังเธอกล่าวถึงแฮร์ริสว่า "ตัดสินให้เป็นคนที่โหดร้ายที่สุดที่ฉันเคยพบเจอมาในชีวิต"<ref name="berg p 91">Berg (2004) p. 91.</ref> และเธออ้างว่าประสบการณ์ครั้งนี้เป็นสิ่งสำคัญที่สอนให้เธอมีความรับผิดชอบในอาชีพของเธอ<ref>Hepburn (1991) p. 4.</ref>
===ความล้มเหลวในอาชีพ (ค.ศ.1934-1938)===
 
== อ้างอิง ==