ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แคทารีน เฮปเบิร์น"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Novaskosia (คุย | ส่วนร่วม)
Novaskosia (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 17:
'''แคทารีน ฮอตัน เฮปเบิร์น''' ({{lang-en|Katharine Houghton Hepburn}}) ([[12 พฤษภาคม]] [[ค.ศ. 1906]] - [[29 มิถุนายน]] [[ค.ศ. 2003]]) เป็นนักแสดงหญิงชาวอเมริกัน เธอเป็นที่รู้จักอย่างมากจากนิสัยที่รักอิสระอย่างรุนแรงและมีชีวิตชีวา เฮปเบิร์นเป็นสตรีชั้นนำใน[[ฮอลลีวูด]]มาเป็นเวลากว่า 60 ปี เธอปรากฏตัวในวงการบันเทิงหลากหลายประเภท มีทั้ง[[ภาพยนตร์ตลกพ่อแง่แม่งอน]] (Screwball comedy film) จนถึงภาพยนตร์แนววรรณกรรม และเธอได้รับ[[รางวัลออสการ์]]ใน[[รางวัลออสการ์ สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม|สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม]]ถึง 4 ครั้ง ซึ่งมีการบันทึกว่าเป็นจำนวนมากกว่านักแสดงใดๆ ในปี ค.ศ. 1999 เฮปเบิร์นได้รับการประกาศชื่อจาก[[สถาบันภาพยนตร์อเมริกัน]]ในฐานะ[[AFI's 100 Years...100 Stars|นักแสดงหญิงที่ยอดเยี่ยมที่สุดตลอดกาล]] ของภาพยนตร์ฮอลลีวูดยุคคลาสสิก
 
เฮปเบิร์นเติบโตขึ้นใน[[รัฐคอนเนตทิคัต]]และถูกเลี้ยงดูโดยบิดามารดาที่มั่งคั่งและอยู่ในยุค[[สมัยแห่งความก้าวหน้า]] เฮปเบิร์นเริ่มแสดงขณะศึกษาอยู่ที่[[วิทยาลัยบรินมอร์]] หลังจากใช้เวลาสี่ปีแสดงในโรงละคร ได้มีบทวิจารณ์ที่ดีในช่วงที่ทำการแสดง[[ละครบรอดเวย์]]ได้ทำให้เธอเป็นที่สนใจของฮอลลีวูด ช่วงปีแรกๆของเธอในวงการภาพยนตร์เริ่มต้นด้วยความสำเร็จ โดยเธอได้รางวัลออสการ์จากการแสดงในภาพยนตร์เรื่องที่สามของเธอ คือ เรื่อง ''[[มอร์นิ่งกลอรี (ภาพยนตร์ปี 1933)|มอร์นิ่งกลอรี]]'' (ค.ศ. 1933) แต่ก็ตามมาด้วยความล้มเหลวในเชิงพาณิชย์ซึ่งทำให้เธอถูกตีตราว่าเป็น "[[บ็อกออกฟิศพอยชั่นบ็อกออพฟิศพอยชั่น]]" ในปี ค.ศ. 1938 เฮปเบิร์นมีความคิดที่เฉียบแหลมในการทำให้ตัวเธอเองกลับมามีชื่อเสียงอีกครั้ง โดยการไปซื้อสัญญากับ [[อาร์เคโอพิกเจอร์]] และทำให้ได้สิทธิในบทประพันธ์ ''[[เดอะฟิลาเดลเฟียสตอรี (บทละคร)|ดอะฟิลาเดลเฟียสตอรี]]'' ซึ่งเธอได้ประกาศขายโดยมีเงื่อนไขว่าเธอจะต้องได้เป็นนักแสดงนำในเรื่อง ในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1940 เธอได้รับการติดต่อจาก [[เมโทร-โกลด์วิน-เมเยอร์]] ซึ่งทำให้งานการแสดงของเธอเน้นไปที่การเป็นพันธมิตรกับ[[สเปนเซอร์ เทรซี]] ความเป็นหุ้นส่วนกันนี้เป็นเวลา 25 ปี และผลิตภาพยนตร์ออกมา 9 เรื่อง
 
เฮปเบิร์นได้สร้างความท้าทายให้ตนเองในช่วงครึ่งหลังของชีวิต โดยเธอมักจะปรากฏตัวเป็นประจำในละครเวทีแนว[[วิลเลียม เชกสเปียร์|เชกสเปียร์]]และสร้างความท้าทายในบทบาทที่หลากหลายในด้านวรรณกรรม เธอพบช่องทางในการแสดงบทบาทเป็นสตรีทึนทึกวัยกลางคน เช่นในภาพยนตร์เรื่อง ''[[เดอะแอฟริกันควีน (ภาพยนตร์)|เดอะแอฟริกันควีน]]'' (ค.ศ. 1951) ได้ทำให้เธอกลายเป็นบุคคลที่สาธารณะอ้าแขนรับ เธอได้รับรางวัลออสการ์อีกสามครั้งในภาพยนตร์ ''[[เกรสฮูส์คัมมิ่งทูดินเนอร์]]'' (ค.ศ. 1967), ''[[ราชันใจเพชร]]'' (ค.ศ. 1968) และ [[ออนโกลเดนพอนด์ (ภาพยนตร์ปี 1981)|ออนโกลเดนพอนด์]] (ค.ศ. 1968) ในช่วงทศวรรษ 1970 เธอเริ่มปรากฏตัวในภาพยนตร์โทรทัศน์ ซึ่งจะเป็นจุดสนใจของอาชีพการทำงานในบั้นปลายชีวิตของเธอ เธอยังคงทำงานต่อเนื่องในวัยชรา ซึ่งทำให้เธอปรากฏตัวในจอครั้งสุดท้ายในปี ค.ศ. 1993 ขณะมีอายุ 87 ปี หลังจากนั้นเธอก็ไม่สามารถทำงานได้อีกและมีปัญหาสุขภาพ เฮปเบิร์นเสียชีวิตในปี ค.ศ. 2003 ด้วยวัย 97 ปี
บรรทัด 50:
เฮปเบิร์นเดินทางมาถึงแคลิฟอร์เนียในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1932 ขณะมีอายุ 25 ปี เธอแสดงภาพยนตร์ ''อะบิลออฟดีโวสเมนต์'' โดยบทที่ได้รับต้องเป็นคู่ขัดแย้งกับ[[จอห์น แบร์รีมอร์]] แต่ก็ไม่มีสัญญาณของความหวดกลัวใดๆเลย<ref name="haver 96"/><ref>Prideaux (1996) p. 15.</ref> แต่เธอก็พยายามปรับตัวให้เข้ากับลักษณะของการแสดงภาพยนตร์ ซึ่งเฮปเบิร์นได้หลงใหลในอุตสาหกรรมภาพยนตร์นี้ตั้งแต่เริ่มต้น<ref>Higham (2004) pp. 30–31.</ref> ภาพยนตร์ประสบความสำเร็จและเฮปเบิร์นได้รับคำวิจารณ์ในเชิงบวก<ref>Berg (2004) p. 82.</ref> [[มอร์ดันท์ ฮอลล์]]จาก[[เดอะนิวยอร์กไทมส์]]ได้เรียกการแสดงของเธอว่า "ยอดเยี่ยมเป็นพิเศษ...ลักษณะท่าทางของคุณเฮปเบิร์นเป็นหนึ่งในสิ่งที่ดีที่สุดที่พบเจอบนหน้าจอภาพยนตร์"<ref>{{cite news|last=Hall|first=Mordaunt|title= A Bill of Divorcement (1932)|url=http://www.nytimes.com/movie/review?res=9801E7D81331E633A25750C0A9669D946394D6CF|newspaper=[[The New York Times]]|accessdate=August 25, 2011|date=October 3, 1932}}</ref> บทวิจารณ์ของนิตยสาร [[Variety (magazine)|Variety]] ได้ประกาศว่า "ความยอดเยี่ยมที่เกิดขึ้นที่นี่คือความประทับใจที่พุ่งเข้าชนโดยฝีมือของแคทารีย เฮปเบิร์นในภาพยนตร์เรื่องแรกของเธอ เธอมีบางสิ่งบางอย่างที่สำคัญซึ่งทำให้เธอมีลักษณะที่แตกต่างไปจากกลุ่มกาแล็กซีภาพยนตร์"<ref>{{cite news|title=A Bill of Divorcement |url=http://variety.com/1931/film/people-news/a-bill-of-divorcement-1200410643/|work=[[Variety (magazine)|Variety]]|accessdate=August 25, 2011|date=October 1932}}</ref> ด้วยกระแสของ อะบิลออฟดีโวสเมนต์ ที่กำลังมาแรง ทำให้ อาร์เคโอ ตัดสินใจเซ็นสัญญาระยะยาวกับเธอ<ref>Higham (2004) p. 39.</ref> จอร์จ คูกอร์ได้กลายเป็นเพื่อนและผู้ร่วมงานที่ยาวนานตลอดชีวิตของเธอ เขาและเฮปเบิร์นได้ร่วมงานกันในภาพยนตร์ทั้งหมด 10 เรื่อง<ref>Hepburn (1991) pp. 178, 181.</ref>
 
[[ไฟล์:Katharine hepburn little women.jpg|thumb|upright|alt=Hepburn, dressed in 19th-century clothes, sat with tears in her eyes.|แสดงเป็น โจ มาร์ช ใน ''[[สี่ดรุณี (ภาพยนตร์ปี 1933)|สี่ดรุณี]]'' (ปี 1933) อันเป็นภาพยนตร์ซึ่งเป็นที่นิยมมากในขณะนั้น]]
ภาพยนตร์เรื่องที่สองของเฮปเบิร์นคือ ''[[คริสโตเฟอร์สตรอง]]'' (ปี 1933) เป็นเรื่องราวของนักบินและความสัมพันธ์ของเธอที่มีต่อชายที่แต่งงานแล้ว ภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่ค่อยประสบความสำเร็จทางการตลาดเท่าไร แต่บทวิจารณ์เฮปเบิร์นนั้นดี<ref>Berg (2004) p. 84.</ref> เรจินา ครีวี เขียนในหนังสือพิมพ์[[นิวยอร์กจัวนัล-อเมริกัน]]ว่าแม้ว่ากิริยาท่าทางของเธอจะค่อนข้างเถื่อน แต่"กิริยาเหล่านั้นก็สามารถดึงดูดความสนใจ และทำให้ผู้รับชมต้องหลงใหลเธอ เธอมีบุคลิกชัดเจน เด็ดขาด และบุคลิกภาพด้านบวก"<ref name="higham p 44">Higham (2004) p. 44.</ref> ภาพยนตร์เรื่องที่สามของเฮปเบิร์นเป็นสิ่งยืนยันให้เธอเป็นนักแสดงหลักของฮอลลีวูด<ref name="Berg p 86">Berg (2004) p. 86.</ref> ด้วยการแสดงเป็นนักแสดงผู้ทะเยอทะยานชื่อ เอวา เลิฟเลซ บทที่ตั้งใจมอบให้กับ[[คอนสแตนซ์ เบนเนต]] ในเรื่อง ''[[มอร์นิ่งกลอรี (ภาพยนตร์ปี 1933)|มอร์นิ่งกลอรี]]'' ซึ่งทำให้เธอได้รับ[[รางวัลออสการ์ สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม]] เธอเคยเห็นบทวางอยู่บนโต๊ะของโปรดิวเซอร์[[ปานโดร เอส.เบอร์แมน]] และเธอเชื่อว่าเธอเกิดมาเพื่อรับบทนี้ เป็นบทที่สร้างมาเพื่อเธอ<ref>Berg (2004) p. 85.</ref> เฮปเบิร์นเลือกที่จะไม่เข้าร่วมงานประกาศรางวัล และเธอจะไม่เข้าร่วมเลยตลอดอาชีพการทำงานของเธอ แต่ก็รู้สึกตื่นเต้นต่อชัยชนะมาก<ref>Berg (2004) p. 88.</ref> ความสำเร็จของเธอยังมีต่อในบท โจ ในเรื่อง ''[[สี่ดรุณี (ภาพยนตร์ปี 1933)|สี่ดรุณี]]'' (ปี 1933) ภาพยนตร์โด่งดังมาก จนกลายเป็นหนึ่งในความสำเร็จของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ในช่วงเวลานั้น<ref name="haver 96" /> และเฮปเบิร์นได้รับรางวัลนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยมจาก[[เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเวนิส]] เรื่อง ''สี่ดรุณี'' เป็นภาพยนตร์ที่เธอชอบเป็นการส่วนตัวและเธอพึงพอใจกับการแสดงมาก ซึ่งในภายหลังเธอบอกว่า "ฉันท้าได้เลยใครจะเล่นเป็น [โจ] ได้ดีกว่าฉันเล่น"<ref name="Berg p 86" />
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง|3}}