ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กระต่าย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่อาจเป็นการทดลอง หรือก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 30:
นอกจากนั้น ฟันกระต่ายจะยาวขึ้นเรื่อยๆ เฉลี่ย 10-12 gm. ต่อเดือน ดังนั้นกระต่ายจึงต้องมีการลับฟันเป็นประจำ โดยการกินหญ้าแห้ง อีกทั้งยังต้องการไฟเบอร์ในการขับเคลื่อนอาหารภายในลำไส้อีกด้วย
 
กระต่ายเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีขนาดเล็ก มีขนปุกปุยทั่วลำตัว มีหางกลมสั้น มีใบหูยาวเมื่อเทียบกับสัตว์อื่น ซึ่ง[[วิวัฒนาการ]]มาใช้สำหรับฟังเสียงได้เป็นอย่างดี และยังมีประสาทสัมผัสในการดมกลิ่นที่ดีมาก กระต่ายมีขาหน้าที่มี 5 [[นิ้ว (อวัยวะ)|นิ้ว]] ขาหลังมี 4 นิ้ว มีสะโพกที่ยาวและทรงพลัง เต็มไปด้วย[[กล้ามเนื้อ]] จึงสามารถ[[กระโดด]]ได้เป็นอย่างดี เคยมีการประกวดการกระโดดของกระต่ายที่[[ประเทศเนเธอร์แลนด์]] กระต่ายตัวที่กระโดดได้สูงที่สุดกระโดดได้สูงถึง 99.5 เซนติเมตรเลยทีเดียว<ref name="wite" /> ใต้ฝ่าเท้าของกระต่ายมีขนนุ่ม ๆ รองรับอยู่ เพื่อมิให้เกิดเสียงเมื่อเคลื่อนไหว กระต่ายเป็นสัตว์ที่ตื่นตกใจง่ายและมีความว่องไวปราดเปรียวมากในการระแวดระวังภัย นอกจากนี้แล้วตาของกระต่ายยังมีหนังตาหรือเปลือกตาถึง 3 ชั้นด้วยกัน<ref>''Pets 101 : Pet Guide'', สารคดีทางอทางแอนิมอลพลาล แพลนเน็ต ทางทรูวิชั่นส์: พฤหัสบดีที่ 3 มกราคม 2556</ref> ดวงตาของกระต่ายมีลักษณะกลมโต ทำให้กระต่ายสามารถเหลือบมองภาพด้านหลังได้โดยที่ไม่ต้องหันหัวเลย กระต่ายจัดเป็นสัตว์ที่มีระบบการมองเห็นที่ดีกว่าสัตว์ชนิดอื่น ๆ มาก แต่กระต่ายสามารถมองเห็นสีได้เพียงแค่ 2 สีเท่านั้น คือ สีเขียวและสีน้ำเงิน และจะยิ่งมองได้ชัดเจนขึ้นเมื่ออยู่ในที่มืด <ref name="wite" />
 
กระต่ายเป็นสัตว์ที่กิน[[พืช]]เป็นอาหารเท่านั้น ต่างจากสัตว์ฟันแทะที่กินได้ทั้งเนื้อและพืช อาหารของกระต่ายได้แก่ [[หญ้า]]และพืช[[ผัก]]ชนิดต่าง ๆ อายุขัยโดยเฉลี่ยของกระต่ายตามธรรมชาติจะอยู่ที่ 2-3 ปี หรือเต็มที่ก็ 5-10 ปี แต่กระต่ายเลี้ยงมีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 7-12 ปี โดยอาหารได้แก่ หญ้าแห้ง 80-90% อาหารเม็ด 5-10% และผักผลไม้ 5%
 
กระต่ายนับเป็นสัตว์ที่สืบพันธุ์เร็วมาก ใช้เวลาในการตั้งครรภ์ 30 วัน และสามารถติดลูกได้ทันทีหลังคลอด โดยแต่ละปีหนึ่ง ๆ กระต่ายสามารถออกลูกได้ถึง 2-3 ครั้ง ครั้งละหลายตัวขึ้นกับชนิดและสายพันธ์พันธ์ุ กระต่ายในธรรมชาติ มักอาศัยอยู่ในที่ราบโล่งที่เป็น[[ทุ่งหญ้า]]มากกว่า[[ป่าดิบ|ป่าทึบ]] โดยขุดโพรงใต้ดินเป็นรังและที่อยู่อาศัย ลูกกระต่ายป่าในธรรมชาติ เมื่อแรกเกิดจะลืมตา และในวันรุ่งขึ้นก็จะสามารถวิ่งและกระโดดได้เลยทันที เมื่อกระต่ายตัวเมียจะคลอดลูก จะแยกออกจากรังเดิมไปขุดรังใหม่ เพื่อป้องกันลูกอ่อนจากกระต่ายตัวผู้ ซึ่งอาจฆ่าลูกกระต่ายเกิดใหม่ได้ โดยจะกัดขนตัวเองเพื่อปูรองรับลูกใหม่ที่จะเกิดขึ้นมา นอกจากนี้แล้วตามธรรมชาติของกระต่าย ไม่ว่าจะเป็นกระต่ายป่าหรือกระต่ายบ้าน จะมีพฤติกรรมกินมูลของตัวเองที่ขับถ่ายออกมา มูลลักษณะนี้ถูกเรียกว่า "มูลพวงองุ่น" เป็นมูลซึ่งยังมีสารอาหารอยู่ ที่กระต่ายไม่สามารถย่อยหรือดูดซึมสารอาหารไปได้หมด จึงต้องกินเข้าไปในร่างกายอีกครั้งเพื่อดูดซึมสารอาหารให้หมด <ref name="wite" />
 
กระต่ายกระจายพันธุ์ไปในทุกภูมิภาคทั่วโลก ไม่เว้นแม้กระทั่ง[[อาร์กติก|เขตอาร์กติก]] ยกเว้น[[โอเชียเนีย]]และ[[ทวีปออสเตรเลีย]] ใน[[ประเทศไทย]]พบกระต่ายที่เป็น[[สัตว์ป่า|กระต่ายสายพันธุ์ที่มีอยู่ในธรรมชาติ]]เพียงชนิดเดียว คือ [[กระต่ายป่า]]พม่า (''Lepus peguensis'') <ref>{{อ้างหนังสือ
| ผู้แต่ง=ชุติอร กาญวัฒนกิจ
| ชื่อหนังสือ=สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีน
บรรทัด 50:
</ref>
 
กระต่ายโดยธรรมชาติ เป็นสัตว์ที่อยู่สุดปลายของ[[ห่วงโซ่อาหาร]] ด้วยการเป็นอาหารของ[[สัตว์กินเนื้อ]]ชนิดต่าง ๆ เช่น [[หมาป่า]], [[หมาจิ้งจอก]], [[แมวป่า]], [[เสือ]]ชนิดต่าง ๆ, [[หมาใน]], [[ชะมด]], [[เพียงพอน]] รวมถึง[[งู]]ขนาดใหญ่ด้วย เช่น [[วงศ์งูเหลือม|งูหลามและงูเหลือม]]
<ref>หน้า 157-159, ''สัตว์สวยป่างาม'' โดย ชมรมนิเวศวิทยา [[มหาวิทยาลัยมหิดล]] ([[สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2518|2518]]) </ref>