ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระยาเสนาะดุริยางค์ (แช่ม สุนทรวาทิน)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 21:
 
== ประวัติ ==
พระยาเสนาะดุริยางค์เป็นบุตรคนโตของครูช้อย และนางไผ่ สุนทรวาทินได้ฝึกฝนวิชาดนตรีจากครูช้อยผู้เป็นบิดา จนมีความแตกฉาน ครูช้อยฯเป็นคนตาบอดตั้งแต่เด็ก แต่มีความสามารถในทางดนตรีในระดับบรมครู บ้านครูช้อยเกิดไฟไหม้ สมภารแสง พรหมโชติ วัดน้อยทองอยู่(มรณภาพปี 2455)ได้อุปการะครูช้อยฯและครอบครัวโดยให้สร้างบ้านหลังวัดน้อยทองอยู่ และสมภารแสงฯก็สนับสนุนดนตรีไทยของครูช้อยมาโดยตลอด ต่อมา[[เจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (หม่อมราชวงศ์หลาน กุญชร)]] ได้ขอตัวมาเป็นนักดนตรีใน[[วงปี่พาทย์]]ของท่าน ท่านเข้ารับราชการ เมื่อ [[พ.ศ. 2422]] ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “ขุนเสนาะดุริยางค์” ในวันที่ 10 ตุลาคม [[พ.ศ. 2446]] ตำแหน่งเจ้ากรมพิณพาทย์มหาดเล็ก ถือศักดินา ๘๐๐<ref> [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2446/029/490.PDF พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง] </ref>โปรดให้เลื่อนเป็น “หลวงเสนาะดุริยางค์” ถือศักดินา ๘๐๐ เมื่อวันที่ 18 มกราคม [[พ.ศ. 2452]] ในตำแหน่งเดิม<ref> [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2452/D/2399_1.PDF พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง (หน้า ๒๔๐๐)] </ref>จนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้เลื่อนเป็น “พระเสนาะดุริยางค์” รับราชการในกรมมหรสพหลวง และได้รับพระราชทาน [[เหรียญดุษฎีมาลา]] เข็มศิลปวิทยา ด้วยความซื่อสัตย์ และมีความจงรักภักดีเมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2450 และท่านจึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น “พระยาเสนาะดุริยางค์” ในปี [[พ.ศ. 2468]]
 
ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่านได้รับมอบหมายให้ควบคุม[[วงพิณพาทย์]]ของ[[เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี]] (ม.ร.ว.ปุ้ม มาลากุล) เสนาบดีกระทรวงวัง วงพิณพาทย์วงนี้ นับได้ว่าเป็นการรวบรวมผู้มีฝีมือ ซึ่งต่อมาได้เป็นครูผู้ใหญ่ เป็นที่รู้จักนับถือโดยทั่วไป เช่น ครูเทียบ คงลายทอง ครูพริ้ง ดนตรีรส ครูสอน วงฆ้อง ครูมิ ทรัพย์เย็น ครูแสวง โสภา ครูผิว ใบไม้ ครูทรัพย์ นุตสถิตย์ ครูอรุณ กอนกุล ครูเชื้อ นักร้อง และครูทองสุข คำศิริ