ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (หม่อมราชวงศ์หลาน กุญชร)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Lady win (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ป้ายระบุ: ผู้ใช้ใหม่เพิ่มลิงก์ไปยังเว็บอื่น แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 25:
ถึงปีมะเส็ง เอกศก จุลศักราช 1231 (พ.ศ. 2412) เป็นมหาดเล็กสารถีขับรถพระที่นั่ง ครั้นเมื่อปีมะเมีย โทศก จุลศักราช 1232 (พ.ศ. 2413) เป็นนายกวดหุ้มแพรมหาดเล็กเวรฤทธิ์ ปีมะแม ตรีศก จุลศักราช 1233 (พ.ศ. 2414) เป็นจ่ายงเวรศักดิ์ รับพระราชทานเบี้ยหวัด ๒ ชั่ง ครั้นถึงปีวอกได้รับพระราชทานเบี้ยหวัด 2 ชั่ง 10 ตำลึง ปีระกา เบญจศก จุลศักราช 1235 (พ.ศ. 2416) ได้รับ ๓ ชั่ง เงินเดือน ๆ ละ ๑๐ ตำลึง แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นนาคหลวงอุปสมบทใน[[วัดพระศรีรัตนศาสดาราม]] ได้รับพระราชทานบริขารเท่าหม่อมเจ้า [[สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์|กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์]] เมื่อยังทรงดำรงพระยศเป็นกรมพระเป็นพระอุปัชฌาย์ [[หม่อมเจ้าพระธรรมุณหิศธาดา (สีขเรศ วุฑฺฒิสฺสโร)]] กับ[[สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (สา ปุสฺสเทโว)|สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทโว)]] เมื่อครั้งเป็นพระสาสนโสภณที่[[พระธรรมวโรดม]] เป็นคู่สวด แล้วจำพรรษาอยู่ที่[[วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม]] (เจ้าพระยาเทเวศรวงศ์วิวัฒน์, ๒๔๖๖: ข - ข)<ref name=":7" />
 
ต่อมาปีขาล สมฤทธิศก จุลศักราช 1240 (พ.ศ. 2421) เป็นหลวงเดชนายเวรมหาดเล็กเวรเดช รับพระราชทานเบี้ยหวัด 3 ชั่ง 10 ตำลึง ถึงวันอังคาร เดือนเจ็ด ขึ้นเจ็ดค่ำ ปีเถาะ เอกศก จุลศักราช 1241 (พ.ศ. 2422) เป็นเจ้าหมื่นสรรพเพธภักดี (เจ้าพระยาเทเวศรวงศ์วิวัฒน์,หัวหมื่นมหาดเล็กเวรศักดิ์ ๒๔๖๖:ถือศักดินา ค)๑๐๐๐<ref> name="[http:7" /> (เข้าใจว่าคงเป็นเจ้าหมื่นสรรพเพธภักดีหลังเมื่อเจ้าพระยานรรัตน์ราชมานิตได้เลื่อนเป็นพระยานรรัตน์ฯ แล้ว คือหลังวันที่ ๒๕ ตุลาคม พ/www.ratchakitcha.๒๔๒๒ ซึ่งเป็นวันที่เจ้าพระยานรรัตน์ฯ เลื่อนจากเจ้าหมื่นสรรพเพธภักดีขึ้นเป็นพระยา)<ref name=":0">ไม่ทราบนามผู้แต่งsoc. '''อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพหม่อมหลวงสำลี อิศรพงศ์พิพัฒน์'''go.th/DATA/PDF/2427/006/50.PDF ตั้งตำแหน่งหัวเมือง กรุงเทพฯ(หน้า :๕๓)] วัชรินทร์การพิมพ์, 2516.</ref> ได้หีบทอง ได้รับพระราชทานเบี้ยหวัด ๔ ชั่ง ถึงปีมะโรง โทศก จุลศักราช ๑๒๔๒ (พ.ศ. ๒๔๒๓) พระองค์เจ้าสิงหนาทฯ สิ้นพระชนม์ ได้รับพระราชทานตราตติยจุลจมเกล้าจุลจอมเกล้า ได้ว่าการกรมมหรสพ กรมหุ่น กรมรถ กรมรถม้า แต่ราชการกรมรถม้านั้น ตระกูลนี้ได้ว่ามาแต่รัชกาลที่ 2 ติดเนื่องกัน 4 ชั่วคน ไม่มีตระกูลอื่นแทรกเลย แล้วได้ตรามงกุฏชั้น 4 ต่อมา 2 หรือ 3 ปี ได้ตรามงกุฏชั้น ๓ และได้โต๊ะทอง กาทอง เป็นองคมนตรี ตั้งแต่วันที่ ๒๖ มิถุนายน ร.ศ. ๑๐๘ (พ.ศ. ๒๔๓๒) เป็นจางวางมหาดเล็ก ได้พานทองกลม ตราทุติยจุลจอมเกล้าและตราช้างเผือกชั้น ๓ ได้รับพระราชทานเบี้ยหวัด ๘ ชั่ง ต่อมาได้ ๑๐ ชั่ง เงินเดือน ๆ ละ ๑๐ ตำลึง (เจ้าพระยาเทเวศรวงศ์วิวัฒน์, ๒๔๖๖: ค)<ref name=":7" />
 
ร.ศ. 111 (พ.ศ. 2435) ได้รับตราจุลจอมเกล้าวิเศษแลพานทองเป็นครั้งที่ 2 แลตรามงกุฎชั้นที่ 3 เป็นพระอภิบาลสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามบรมราชกุมาร ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436) ได้เป็นข้าหลวงไปปักปันเขตแดนเมืองสงขลากับเมืองพัทลุง ต่อมาเป็นพระยายืนชิงช้า แล้วได้ว่าราชการกรมโขนหุ่น กรมรำโคม กรมพิณพาทย์ (เจ้าพระยาเทเวศรวงศ์วิวัฒน์, ๒๔๖๖: ค)