ผลต่างระหว่างรุ่นของ "องค์การเภสัชกรรม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 109:
เมื่อสงครามสิ้นสุดลง โรงงานเภสัชกรรมสามารถผลิตยาเพิ่มเติมได้อีกหลายขนาน และจำหน่ายแก่ประชาชนในราคาย่อมเยา แต่เนื่องจากอุปสงค์ต่อยาในขณะนั้นสูงมาก จึงทำกำไรให้องค์การเภสัชกรรมได้เป็นอย่างดี และมีเงินคืนเงินกู้ของกระทรวงการคลังในเดือน[[มกราคม]] [[พ.ศ. 2487]] และเมื่อกิจการของโรงงานเภสัชกรรมมั่นคงดีแล้ว กองโอสถศาลา กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จึงโอนงานผลิตยาตำราหลวงให้โรงงานเภสัชกรรมผลิตเพียงผู้เดียว
 
ในเดือน[[ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2500]] [[จำลอง สุวคนธ์|ศาสตราจารย์เภสัชกร ดร. จำลอง สุวคนธ์]] เข้ามาดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และรักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรมตั้งแต่วันที่ [[2 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2504]] นอกจากโรงงานเภสัชกรรมจะขยายกิจการด้วยเงินกำไรขององค์การแล้ว ยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณของ[[พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว|พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙]] โดยมีพระราชประสงค์ให้โรงงานเภสัชกรรมสามารถผลิตน้ำเกลือฉีดได้มากขึ้น จึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องกลั่นน้ำ ซึ่งนำเข้ามาจาก[[ประเทศสหรัฐอเมริกา]] มาถึงประเทศไทยเมื่อเดือนธันวาคม [[พ.ศ. 2503]] และติดตั้งใช้การได้ในปี พ.ศ. 2504 ซึ่งผลิตขึ้นเพื่อใช้ในกระบวนการรักษา[[อหิวาตกโรค]]ที่ระบาดในขณะนั้น
 
ภายหลังการดำเนินงานของโรงงานเภสัชกรรมกว่า 20 ปี โรงงานเภสัชกรรมประสบภาวะขาดทุนในปี พ.ศ. 2503 ต่อเนื่องถึงปี พ.ศ. 2504 [[พระบำราศนราดูร|ฯพณฯ พระบำราศนราดูร]] รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และประธานกรรมการอำนวยการโรงงานเภสัชกรรมในขณะนั้น จึงแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงกิจการด้านการบริหารและวิชาการของโรงงานเภสัชกรรม และคณะกรรมการอำนวยการโรงงานเภสัชกรรมได้แต่งตั้ง นายแพทย์จิตต์ เหมะจุฑา เป็นผู้อำนวยการโรงงานเภสัชกรรม ส่งผลให้กิจการโรงงานเภสัชกรรมดีขึ้นตามลำดับ