ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กบฏหวันหมาดหลี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
การรบที่สงขลาและปัตตานี
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 17:
=== การรบฝั่งอันดามัน ===
[[ไฟล์:Sherard Osborn.jpg|thumb|238x238px|กัปตันเชอราร์ด ออสบอร์น (Sherard Osborn) ผู้นำเรือรบอังกฤษจำนวนสี่ลำเข้าปิดปากน้ำเมืองไทรบุรีใน พ.ศ. 2381 ต่อมาได้เป็นผู้สำรวจ[[ขั้วโลกเหนือ]]]]
เมื่อยึดเมืองอาโลร์เซอตาร์ไว้ได้แล้ว ในเดือนพฤศจิกายนกันยายน พ.ศ. 2381 ตนกูมูฮาหมัดซาอัดจึงส่งหวันมาลี หรือเจ๊ะหมัดอาลี ยกทัพเรือไปยึดเมืองปะลิส ยึดเกาะลังกาวี และยกทัพเรือจำนวน 95 ลำ 1,000 คน<ref name=":2">กรมศิลปากร. ''จดหมายหลวงอุดมสมบัติ''. พุทธศักราช ๒๕๓๐.</ref> เข้าโจมตีเมือง[[ตรัง]] ซึ่งเป็นสถานที่ต่อเรือของเจ้าพระยานครฯ (น้อย) พระสงครามวิชิตเจ้าเมืองตรังนำทัพออกสู้รับกับทัพของหวัดมาลีที่ปากน้ำพระม่วงและเขาราชสีห์<ref name=":2" />แต่ชาวมลายูซึ่งอยู่ด้านหลังเขาโจมตีกระหนาบหลังทำให้ทัพของพระสงครามวิชิตแตกพ่ายไป หวันมาลีจึงสามารถเข้ายึดเมืองตรังได้ กวาดต้อนผู้คนเมืองตรังไปอยู่ที่เกาะลังกาวี
 
เมื่อเข้ายึดไทรบุรีได้แล้ว ฝ่าายกบฏนำโดยตนกูซาอัดได้เชิญตนกูอับดุลเลาะฮ์ (Tunku Abdullah) ผู้เป็นบุตรชายคนโตของอดีตสุลต่านตวนกูปะแงหรันมาเข้าร่วมขบวนการในเดือนธันวาคมตุลาคมพ.ศ. 2381 โดยตนกูอับดุลเลาะฮ์ตั้งอยู่ที่บ้านตะพานช้างหรืออาลูร์กานู (Alur Ganu) ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2382 หวันมาลียกทัพเรือเข้าโจมตีเมือง[[สตูล]]ปล้นสะดมนำอาหารเสบียงไป<ref name=":2" />
 
ฝ่ายอังกฤษเมื่อทราบว่าผู้สนับสนุนอดีตสุลต่านเข้ายึดเมืองไทรบุรีได้สำเร็จ นายจอร์จ บอแนม (George Bonham) เจ้าเมือง[[สิงคโปร์]]และผู้ปกครอง[[นิคมช่องแคบ|อาณานิคมช่องแคบ]]ได้เดินทางมายังเกาะปีนังและส่งเรือรบอังกฤษจำนวนสี่ลำ<ref name=":1" />ได้แก่ เรือ''ไฮยาซินท์'' (''HMS Hyacinth'') เรือ''เพิร์ล'' (''HMS Pearl'') เรือ''เอเมอราลด์'' (''HMS Emerald'') และเรือ''ไดมอนด์'' (''HMS Diamond'') นำโดยกัปตันเชอราร์ด ออสบอร์น (Sherard Osborn) เข้าปิดกั้นกัวลาเกอดะฮ์หรือปากน้ำเมืองไทรบุรีในระยะวิถีกระสุนปืนใหญ่ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2381 เพื่อปิดกั้นไม่ได้ฝ่ายกบฏไทรบุรียกทัพเรือออกทางทะเลและตัดการติดต่อระหว่างไทรบุรีและเกาะปีนัง แต่เรือรบอังกฤษไม่ได้โจมตีหรือสู้รบกับฝ่ายมลายูไทรบุรีแต่อย่างใด เมื่ออังกฤษเข้ามาปิดปากน้ำ ตนกูซาอัดจึงมาประจำการณ์ที่ป้อมปากน้ำเพื่อคอยระวังท่าทีของอังกฤษ
 
ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2382 หวันมาลียกทัพเรือเข้าโจมตีเมือง[[สตูล]]ปล้นสะดมนำอาหารเสบียงไป<ref name=":2" />
 
[[เจ้าพระยานครศรีธรรมราช]] (น้อย)<ref>http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=23320.0</ref> เจ้าเมืองตรัง กลับมาถึงก็ระดมกำลังทหารตั้งค่ายอยู่ที่ ต.ทุ่งค่าย [[อ.ย่านตาขาว]] จ.ตรัง (ในปัจจุบัน) เพื่อเตรียมยกโอบไปตีหวันหมาดหลีซึ่งยึดชัยภูมิอยู่ที่ควนธานี โดยส่งกองกำลังลำเลียงไปทางคลองลำเลียง เมื่อหวันหมาดหลีทราบข่าวว่าเจ้าพระยานคร (น้อย) ยกทัพมา ประกอบกับรับรู้ถึงกิตติศัพท์การออกทัพจับศึกของเจ้าพระยานคร (น้อย) ว่าเก่งกาจ จึงถอยร่นหนีไป
 
=== การรบที่สงขลาและปัตตานี ===
ในเดือนพฤศจิกายนกันยายน พ.ศ. 2381 ตนกูมูฮาหมัดซาอัดส่งตนกูมูฮาหมัดทาอิบ และตนกูมูฮาหมัดยิหวา (Tunku Muhammad Jiwa) นำทัพจำนวน 3,000 คน จากไทรบุรีไปทางเหนือเข้ารุกรานเมืองสงขลา ฝ่ายเมืองสงขลาพระสุนทรนุรักษ์ (บุญสัง) ผู้รักษาเมืองสงขลาส่งพระยาไชยานอกราชการยกทัพจากเมืองสงขลาจำนวน 800 คน เข้าสู้รบกับทัพของตนกูทาอิบ ตนกูทาอิบถอยไปอยู่ที่[[อำเภอสะเดา|สะเดา]]<ref name=":2" /> ในขณะที่พระยาไชยานอกราชการคอยตั้งรับอยู่ที่บ้านปริก ตนกูทาอิบส่งทัพแยกย้ายกระจายไปตั้งตามที่ต่างๆได้แก่ ปังลิมาโปปและปังลิมามระ ตั้งอยู่ที่บ้านสะเดา จำนวน 1,000 คน โต๊ปดังตั้งที่ยางงาม 300 คน โต๊ะนุเระอยู่ที่ตะพานสูง 400 คน ปังลิมาที่สบาเพน 300 คน ตนกูยิหวาตั้งที่ทุ่งบ้านโพธิ์ 1,000 คน
 
ข่าวการกบฏของไทรบุรีไปถึงกรุงเทพฯในเดือนพฤศจิกายนพกันยายนพ.ศ. 2381 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงมีพระราชโองการให้เจ้าพระยานครฯ (น้อย) และพระยาสงขลา (เถี้ยนเส้ง) รีบเดินทางลงมาเพื่อป้องกันเมืองของตน รวมทั้งมีพระราชโองการให้เกณฑ์ไพร่พลจากเมือง[[ชุมพร]] เมือง[[อำเภอไชยา|ไชยา]] และเมือง[[อำเภอปะทิว|ปะทิว]] เพื่อนำไปสู้รบกับฝ่าบกบฏอีกด้วย พระยาสงขลา (เถี้ยนเส้ง) เดินทางถึงเมืองสงขลาในเดือนมกราคมธันวาคมพ.ศ. 2382 2381 ยกทัพจากเมืองสงขลาประกอบไปด้วยคนไทยและคนจีนออกไปพร้อมกับ[[พระยาตานี (พ่าย)|พระยายะหริ่ง (พ่าย)]] เจ้าเมืองยะหริ่ง และพระยาสาย (ต่วนหนิดะ) เจ้าเมืองสาย ไปตั้งอยู่ที่[[หาดใหญ่]] พระยาสงขลาส่งพระยายะหริ่ง (พ่าย) และพระยาสาย (ต่วนหนิดะ) ยกทัพสยามเข้าโจมตีทัพของตนกูทาอิบที่สะเดาแตกพ่ายและถอยร่นไปอยู่ที่ทุ่งโพธิ์ฝั่งไทรบุรี พระยายะหริ่งและพระยาสายยกทัพติดตามตนกูทาอิบไปที่ทุ่งโพธิ์แต่ฝ่ายมลายูวกโจมตีด้านหลังตัดเส้นทางเสบียง พระยายะหริ่งและพระยาสายจึงถอยกลับมาอยู่ที่คลองหินเหล็กไฟ ตนกูทาอิบยกทัพติตามกลับมาโจมตีทัพของฝ่ายสยามที่คลองหินเหล็กไฟ พระยายะหริ่งและพระยาสายแบ่งทัพกระจายออกไปตั้งรับที่เขาลูกช้าง (ปัจจุบันคือเขารูปช้าง) เขาเก้าเส้ง และที่คลองสำโรง คุมเชิงกันอยู่
 
ในเดือนกุมภาพันธ์ธันวาคม พ.ศ. 23822381 ตนกูทาอิบได้แบ่งทัพ 300 คน นำโดยตนกูมูฮาหมัดยิหวาไปทางตะวันออกเข้าโจมตีเมือง[[อำเภอจะนะ|จะนะ]] ในเวลานั้นเจ้าเมืองจะนะคือพระยาจะนะ (บัวแก้ว) ไม่อยู่ไปราชการที่สงขลา ปลัดเมืองจะนะเป็นผู้รักษาป้องกันเมือง ฝ่ายไทรบุรีสามารถเข้ายึดเมืองจะนะได้และเผาทำลายเมือง จากนั้นจึงยกไปตั้งอยู่ที่บ้านนาเกลี้ยกล่อมเมือง[[อำเภอเทพา|เทพา]]และ[[อำเภอหนองจิก|หนองจิก]]ให้เข้าร่วมการกบฏ เมืองหนองจิกจึงเข้าร่วมกับฝ่ายกบฏ<ref name=":2" /> ตนกูยิหวายกทัพต่อเข้าโจมตีเมืองปัตตานี พระยาระแงะ (ตุวันบอซู) และพระพิทักษ์ธานีเมืองสายสามารถป้องกันเมืองปัตตานีไว้ได้ ตนกูยิหวาถอยร่นออกไป ในเดือนพฤษภาคมมีนาคมพ.ศ. 2382 พระยาสงขลาส่งหลวงไชยสุรินทร์ยกทัพ 500 คน ไปโจมตีทัพฝ่ายมลายูของตนกูยิหวาที่บ้านนา ตนกูยิหวาเอาชนะหลวงไชยสุรินทร์ได้ หลวงไชยสุรินทร์จึงถอยกลับมาตั้งอยู่ที่ปลักแรด (ตำบลนาทับ อำเภอจะนะ) ตนกูยิหวายกทัพติดตามมาสู้รบที่ปลักแรด พระยาสงขลาให้กำลังเสริมแก่หลวงไชยสุรินทร์ที่ปลักแรด 500 คน หลวงไชยสุรินทร์จึงต้านทานตนกูยิหวาได้ คุมเชิงกันอยู่อีกเช่นกัน
 
ในเดือนกุมภาพันธ์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริ<ref name=":2" />ว่าสถานการณ์ทางเมืองสงขลาและปัตตานีไม่สู้ดี จึงมีพระราชโองการให้พระวิชิตณรงค์และพระราชวรินทร์นำทัพเรือจำนวน 700 คน ยกลงไปช่วยเมืองสงขลา พระวิชิตณรงค์โดยสารเรือกำปั่น''แกล้วกลางสมุทร''และพระราชวรินทร์ลงเรือกำปั่นอีกลำหนึ่งยกทัพไปจากกรุงเทพฯในเดือนกุมภาพันธ์ และในเดือนมีนาคม พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระปริวิตก<ref name=":2" />ว่าหัวเมืองแขกมลายูปัตตานีจะเข้ากับฝ่ายกบฏจึงโปรดฯให้[[สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค)|พระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษา (ทัต บุนนาค)]] และ[[เจ้าพระยายมราช (บุนนาค ยมนาค)|เจ้าพระยายมราช (บุนนาค)]] ยกทัพเรือออกไปช่วยปราบกบฏทางใต้อีกทัพหนึ่ง
ทางพระนคร เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบข่าวก็พิโรธ มีพระบรมราชโองการสั่งให้เจ้าเมืองต่าง ๆ เร่งกลับไปป้องกันดูแลเมืองของตนเอง และทรงวิตกว่า การที่กบฏสามารถประชิดสงขลาได้แล้วจะเป็นเหตุให้มุสลิมทางหัวเมืองหน้าในแถบทะเล[[อ่าวสยาม]]คิดการกบฏขึ้นมาด้วย จึงโปรดให้[[พระยาศรีพิพัฒน์]] (ทัด บุนนาค) เป็นแม่ทัพใหญ่ลงไปปราบ ในส่วนของเมืองตรัง
 
=== สยามยึดไทรบุรีคืน ===
หลังจากเหตุการณ์นี้ มีการสืบสวน พบว่ามีข้าราชการและขุนนางจำนวนหนึ่งที่เข้าพวกกบฏ มีการลงโทษต่าง ๆ รวมถึงการประหารชีวิตด้วย
เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย) เดินทางถึงเมืองนครศรีธรรมราชในเดือนกุมภาพันธ์พ.ศ. 2382 ประสบกับปัญหาขาดแคลนกำลังพล ไพร่พลที่จะเกณฑ์มาจากชุมพรไชยาและปะทิวยังไม่เสร็จสิ้นเรียบร้อย ใช้เวลารวบรวมไพร่พลจากนครศรีธรรมราชและพัทลุงและส่งคนไปซื้อเรือรบจากสิงคโปร์ รวมทั้งส่งพระยาวิชิตภักดีเจ้าเมืองไชยานำทัพไปตั้งที่เมือง[[พังงา]]เพื่อคอยสังเกตการณ์ทางภูเก็ต จนกระทั่งในเดือนมีนาคม เจ้าพระยานครฯ (น้อย) ซึ่งล้มป่วยมาตั้งแต่กรุงเทพฯต้องนอนรักษาตัวอยู่ที่นครศรีธรรมราชไม่สามารถนำทัพเองได้ จึงมอบหมายให้บุตรชายทั้งสามคือพระยาอภัยธิเบศร์ (แสง) เจ้าเมืองไทรบุรี พระเสนานุชิต (นุช) ปลัดเมืองไทรบุรี และพระวิชิตสรไกร (กล่อม) นำทัพเมืองนครศรีธรรมราชและพัทลุงจำนวน 3,995 คน<ref name=":2" /> ยกลงไปทางใต้พบกับทัพของตนกูมูฮาหมัดซาอัดที่สะเดา ฝ่ายตนกูซาอัดมีกองกำลังเพียง 500 คนจึงแตกพ่ายหนีไป โดยที่ตนกูซาอัดเหลือกองกำลังติดตามตัวเพียง 50 คนเท่านั้นและถอยไปตั้งรับที่กูปังบาซู พระยาอภัยธิเบศร์ พระเสนานุชิต และพระวิชิตสรไกร ยกทัพฝ่ายสยามเข้าโจมตีเมืองกูปังบาซู และสามารถเข้ายึดเมืองกูปังบาซูได้สำเร็จ ฝ่ายตนกูซาอัดเมื่อเสียเมืองกูปังบาซูแล้วจึงถอยไปอยู่ที่ตะพานช้างและมีคำสั่งให้ตนกูมูฮาหมัดทาอิบและตนกูมูฮาหมัดยิหวาถอนกำลังถอยออกจากสงขลามาช่วยต้านทัพของนครศรีธรรมราช
 
ในเดือนมีนาคม พระยาสงขลาให้นำปืนใหญ่จ่ารงค์ขึ้นไปไว้บนเขาลูกช้าง ระดมยิ่งใส่ค่ายทหารต่างๆของตนกูมูฮาหมัดทาอิบ ถูกหอรบพังทลายลงห้าหอและถูกชาวมลายูเสียชีวิตจำนวนมาก พระยายะหริ่ง (พ่าย) พระยาสาย (ต่วนหนิดะ) และหลวงไชยสุรินทร์ ยกทัพเข้าโจมตีค่ายต่างๆของฝ่ายไทรบุรีจนแตกพ่ายไป เมื่อทัพเรือของพระวิชิตณรงค์และพระราชวรินทร์มาถึงเมืองสงขลาในเดือนมีนาคมพบว่าทางทัพของฝ่ายไทรบุรีได้ถอยไปจากสงขลาแล้ว
 
ทัพนครศรีธรรมราชเข้าโจมตีค่ายตะพานช้างหรืออาโลร์กานูทางเหนือของเมืองอาโลร์เซอตาร์ ตนกูอับดุลเลาะฮ์และตนกูมูฮาหมัดทาอิบไม่สามารถป้องกันค่ายได้แตกพ่ายไป ทัพนครศรีธรรมราชเข้ายึดเมืองอาโลร์เซอตาร์ เมืองหลวงของไทรบุรีได้ในเดือนมีนาคมนั้น การกบฏจึงสิ้นสุดลง
 
== ผลลัพธ์ ==
หลังจากที่ฝ่ายสยามเข้ายึดเมืองอาโลร์เซอตาร์และรัฐไทรบุรีคืนได้แล้ว บรรดาผู้นำการกบฏในครั้งนี้ต่างหลบหนีไปยังสถานที่ต่างๆ ตนกูมูฮาหมัดซาอัดหลบหนีไปยังเซอเบอรังเปอไรหรือโปร์วินซ์เวลส์เลย์ซึ่งเป็นเขตแดนของอังกฤษ หวันมาลีหลบหนีไปยังเกาะลังกาวี และหลบหนีต่อไปยังหมู่เกาะมะริด จากนั้นไม่ปรากฏตัวอีกเลย<ref name=":0" /> ตนกูอับดุลเลาะฮ์หลบหนีไปยังเกาะปีนังและมอบตัวให้แก่ทางการอังกฤษ ตนกูมูฮาหมัดทาอิบหลบหนีไปยังเมืองมะละกา ใน พ.ศ. 2383 ตนกูมูฮาหมัดซาอัดถูกทางการอังกฤษจับกุมในข้อหาโจรสลัด<ref>Naval War College (U.S.). (1988). ''International Law Studies''. U.S. Government Printing Office.</ref> แม้ว่าทางการอังกฤษตัดสินให้ตนกูมูฮาหมัดซาอัดพ้นข้อกล่าวหาแต่ก็ถูกบังคับให้ย้ายไปอาศัยอยู่ที่ยังเมือง[[กัลกัตตา]]ของ[[บริติชอินเดีย]] (ในเวลาต่อมาตนกูซาอัดได้รับอนุญาตให้กลับมาอาศัยอยู่ที่เกาะปีนัง)
 
ทัพเรือของพระวิชิตณรงค์และทัพเรือของพระยาศรีพิพัฒน์ฯ (ทัต) มาถึงเมืองสงขลาหลังจากที่การกบฏจบสิ้นลงแล้ว แต่จะมีบทบาทในเหตุการณ์สงครามกลางเมืองกลันตันซึ่งเกิดขึ้นต่อมาในปีพ.ศ. 2382
 
เจ้าพระยานครฯ (น้อย) ถึงแก่อสัญกรรมที่นครศรีธรรมราชในเดือนพฤษภาคมพ.ศ. 2382 เมื่อเจ้าพระยานครฯ (น้อย) ถึงแก่อสัญกรรมแล้ว พระยาศรีพิพัฒน์ฯ (ทัต บุนนาค) เข้ามาเป็นผู้จัดการปกครองของหัวเมืองมลายูเสียใหม่ โดยแต่งตั้งให้ผู้ที่ได้รับความนับถือในหมู่ชาวมลายู<ref name=":2" />ขึ้นเป็นเจ้าเมืองต่างๆแทนที่จะให้ฝ่ายสยามเข้าปกครองโดยตรงดังเช่นที่เป็นในยุคสมัยของเจ้าพระยานครฯ (น้อย) ตนกูอาหนุ่ม (Tunku Anom) ซึ่่งเป็นเชื้อวงศ์ของอดีตสุลต่านตวนกูปะแงหรันขึ้นเป็นเจ้าเมืองไทรบุรี รัฐไทรบุรีถูกแบ่งออกเป็นสี่ส่วนได้แก่สตูล ปะลิส กูปังบาซู และไทรบุรีเดิม ถวายต้นไม้เงินต้นไม้ทองแก่กรุงเทพฯ ต่อมาใน พ.ศ. 2384 อดีตสุลต่านตวนกูปะแงหรันส่งตนกูอับดุลเลาะฮ์หรือตนกูดาอี (Tunku Daik) ผู้เป็นบุตรชายคนโตมายังกรุงเทพฯเพื่อเจรจาขอให้อดีตสุลต่านฯกลับมาครองรัฐไทรบุรีดังเดิม หลังจากที่หลบหนีออกจากเมืองไทรบุรีเป็นเวลาประมาณยี่สิบปี พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชานุญาตให้อดีตสุลต่านตวนกูปะแงหรันหวนคืนสู่ตำแหน่งเจ้าเมืองไทรบุรีอีกครั้งในที่สุดใน พ.ศ. 2385 เป็นเจ้าประเทศราชถวายบรรณาการแก่กรุงเทพฯดังเดิม
 
== อ้างอิง ==