ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กาจ กาจสงคราม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 35:
ในเวลาต่อมาเมื่อรัฐบาลจะยกเลิก[[บรรดาศักดิ์ไทย]] หลวงกาจสงครามในฐานะรัฐมนตรีพร้อมด้วย[[คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 9|คณะรัฐมนตรีชุดที่ 9]] จึงลาออกจากบรรดาศักดิ์ ได้รับพระบรมราชานุญาตและคงใช้ชื่อเดิมว่าเฑียร เก่งระดมยิง ตั้งแต่วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2484<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2484/D/4525_1.PDF ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่องพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ข้าราชการกราบถวายบังคมลาออกจากบรรดาศักดิ์]</ref> ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นกาจ และวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2491 จึงได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้ราชทินนามเป็นนามสกุล<ref>{{cite journal|journal=ราชกิจจานุเบกษา|volume=65|issue=5 ง|pages=343|title=ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตใช้ราชทินนามเป็นชื่อสกุล|url=http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2491/D/005/343.PDF|date=27 มกราคม พ.ศ. 2491|accessdate=9 ธันวาคม 2561|language=ไทย}}</ref>
 
ภายหลังจากเกิดกรณี[[การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล]] พลโทกาจได้โจมตีนายปรีดี พนมยงค์ ว่ามีแผนการจัดตั้ง "มหาชนรัฐ" ที่มีเป้าหมายเพื่อเปลี่ยนประเทศไทยเป็น "สาธารณรัฐ" จนเป็นที่โจษจันไปทั่ว และเกิดการจับกุมผู้ต้องสงสัยหลายรายซึ่งล้วนแต่เป็นกลุ่มของนายปรีดี หลวงกาจสงครามอ้างเรื่องแผนมหาชนรัฐว่าจะก่อให้เกิดการวินาศกรรมครั้งใหญ่ จึงได้ตัดสินใจรัฐประหารเสียก่อน<ref>หนังสือพิมพ์เสรีภาพ 18 พฤศจิกายน 2490 อ้างในสุธาชัย ยิ้มเจริญ หน้า 114,แผนชิงชาติไทย</ref> เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 เกิดเหตุการณ์[[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2490]] พ.อ. กาจ กาจสงคราม เป็นรองหัวหน้าคณะรัฐประหาร ซึ่งประกอบด้วยนายทหารนอกราชการที่นำโดย พล.ท. [[ผิน ชุณหะวัณ]] พ.ต.อ. [[เผ่า ศรียานนท์]] พ.อ. [[สฤษดิ์ ธนะรัชต์]] พ.อ. [[ถนอม กิตติขจร]] พ.ท. [[ประภาส จารุเสถียร]] และ ร.อ. สมบูรณ์ (ชาติชาย) ชุณหะวัณ ทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศ จากรัฐบาลของพลเรือตรี[[ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์]] <ref>http://www.cabinet.thaigov.go.th/pm_08.htm</ref> และตั้งนาย[[ควง อภัยวงศ์]] เป็นนายกรัฐมนตรี หลวงกาจสงครามมีส่วนอย่างสำคัญในการยกร่าง[[s:รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช ๒๔๙๐|รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2490]] และเก็บซ่อนไว้ใต้ตุ่ม จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่ารัฐธรรมนูญฉบับ “ใต้ตุ่ม” หรือ “ตุ่มแดง”<ref>http://www.kpi.ac.th/kpidb/politicalDetail.asp?typeID=1&categoryID=12&subCategoryID=161&politicalID=136</ref> และหลวงกาจสงคราม ได้รับฉายาจากการรัฐประหารครั้งนี้ว่า “นายพลตุ่มแดง”<ref>http://www.thaioctober.com/forum/index.php?topic=339.msg6851</ref> แต่ได้มีการแย้งในภายหลังว่ารัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวถูกร่างโดย [[หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช|เสนีย์ ปราโมช]]ในวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2491 พันเอกกาจได้รับโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศเป็น [[พลโท]] <ref> [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2491/D/005/323.PDF ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร] </ref>
 
หลังจากการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2491 นายควง อภัยวงศ์ได้กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง แต่หลังจากการบริหารประเทศเพียงไม่นาน เกิดเหตุการณ์[[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2491]] ในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2491 พลโท หลวงกาจสงคราม พร้อมทหารสี่นาย ได้บุกเข้าพบนายควง อภัยวงศ์ นายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล และบีบบังคับให้นายควงลาออกจากตำแหน่ง ซึ่งนายควงก็ลาออกแต่โดยดี การรัฐประหารครั้งนี้เรียกว่า “รัฐประหารเงียบ” เนื่องจากไม่มีการใช้กำลังทหาร และเสียเลือดเนื้อแต่อย่างใด<ref>http://www.trang2.go.th/kmc/modules.php?name=News&file=article&sid=490</ref> และตั้งจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี