ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กบฏบวรเดช"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 106:
ภายหลังได้มีการตั้งศาลพิเศษ มีการคุมขังทหารและพลเรือนผู้เกี่ยวข้องกับการกบฏครั้งนี้นับร้อยคนที่[[เรือนจำบางขวาง]] แต่ที่ไม่มีการประหารชีวิต เพราะ[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ได้สละราชสมบัติ ทำให้รัฐบาลต้องอภัยโทษให้บรรดาผู้รับโทษประหารชีวิตเป็นโทษจำคุกตลอดชีวิต และผู้ได้รับโทษจำคุกก็ได้รับการลดโทษตามลำดับขั้น
 
รัฐบาลได้จัดให้มีรัฐพิธีให้แก่ผู้เสียชีวิตทั้ง 17 คนคราวปราบกบฏบวรเดช โดยได้จัดสร้างเมรุชั่วคราว ณ ทุ่งพระเมรุ ([[สนามหลวง]]) ซึ่งเดิม[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ไม่ทรงยินยอมให้ใช้พื้นที่ทุ่งพระเมรุนี้เพราะเป็นที่ถวายพระเพลิงเชื้อพระวงศ์ แต่ทางคณะราษฎรยืนยันที่จะสร้างเมรุชั่วคราวบนทุ่งพระเมรุ [[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]]จึงต้องทรงยินยอม แต่ระบุถ้อยคำด้วยท่วงทำนองว่า “ไม่ได้เป็นพระราชประสงค์”<ref name="Chatri">[[ประชาไท]], [http://prachatai.com/05web/th/home/9615 ชาตรี ประกิตนนทการ : สถาปัตย์คณะราษฎร บนพื้นที่ศักดิ์สิทธิแห่งสมบูรณาญาสิทธิราชย์] (ย่อหน้า 3,) ประชาไท, 19 กันยายน พ.ศ. 2550</ref>
เมรุชั่วคราวอันนี้ถือเป็นเมรุสามัญชนครั้งแรกบนท้องสนามหลวง ซึ่งก่อนหน้านั้นจะใช้เป็นที่ประกอบพิธีสำหรับเชื้อพระวงศ์เท่านั้น<ref>ชาตรี ประกิตนนทการ, เมรุคราวกบฏบวรเดช: เมรุสามัญชนครั้งแรกกลางท้องสนามหลวง, [[ฟ้าเดียวกัน]] [http://www.sameskybooks.org/ssmagshow.php?id=18 ปีที่ 5 ฉบับที่ 2] เม.ย.-มิ.ย. 2550, [[สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน]]</ref>