ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กบฏบวรเดช"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 30:
'''กบฏบวรเดช''' เกิดขึ้นเมื่อ [[11 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2476]] นับเป็น[[กบฏ|การกบฏ]]ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทยหลัง[[การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475|การเปลี่ยนแปลงการปกครอง]]ในปี [[พ.ศ. 2475]] สาเหตุมาจากความขัดแย้งระหว่างระบอบเก่ากับระบอบใหม่ จากข้อโต้แย้งในเรื่อง[[สมุดปกเหลือง|เค้าโครงเศรษฐกิจ]]ที่[[ปรีดี พนมยงค์|หลวงประดิษฐ์มนูธรรม]] เป็นผู้เสนอ และถูกมองว่าเป็น "[[คอมมิวนิสต์]]" ชนวนสำคัญที่สุดคือข้อโต้แย้งในเรื่องพระเกียรติยศและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ในระบอบใหม่ เป็นผลนำไปสู่การนำกำลังทหารก่อกบฏโดย[[พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช]] อันเป็นที่มาของชื่อ "กบฏบวรเดช" โดยในที่สุดฝ่ายรัฐบาลสามารถปราบปรามคณะกบฏลงได้ ส่วนพระองค์เจ้าบวรเดชหัวหน้าคณะกบฏและชายาได้หนีไปยัง[[ประเทศกัมพูชา]]
 
อนุสาวรีย์ที่ตั้งอยู่บริเวณ[[หลักสี่]] [[เขตบางเขน]] [[กรุงเทพฯกรุงเทพมหานคร]] ที่เรียกกันว่า "อนุสาวรีย์หลักสี่" นั้น ชื่อจริงคือ "อนุสาวรีย์ปราบกบฏ" หรือ "อนุสาวรีย์พิทักษ์ธรรมนูญ" <!-- ธรรมนูญ ไม่ใช่ รัฐธรรมนูญ --> ซึ่งรัฐบาลในสมัยนั้น ได้สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ผู้ที่เสียชีวิตในเหตุการณ์ปราบกบฏบวรเดช
 
== สาเหตุ ==
บรรทัด 48:
}}
 
พลเอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช และกลุ่ม "คณะเจ้า" อื่น ๆ ไม่พอใจโดยมีสาเหตุหลักจากการที่หลวงประดิษฐ์มนูธรรมได้เป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลใหม่ จึงเริ่มก่อกบฏขึ้น โดยนำทหารโคราช (กองพันทหารราบที่ 15, กองพันทหารราบที่ 16, กองพันทหารม้าที่ 4, กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 3 และ กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 4) ทหารเพชรบุรี (กองพันทหารราบที่ 14), ทหารอุบลราชธานี (กองพันทหารราบที่ 18) เข้ารบ โดยหวังให้ทหารกรุงเทพพระนครที่สนิทกับพันเอก[[พระยาศรีสิทธิสงคราม]]ไม่ร่วมมือกับฝ่ายรัฐบาล แต่ทหารกรุงเทพพระนครหันไปร่วมมือกับรัฐบาลเนื่องจากฝ่ายทหารโคราชยืนยันเอาพลเอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดชเป็นหัวหน้า ซึ่งผิดเงื่อนไขที่ทหารกรุงเทพพระนครต้องการ เนื่องจากทหารกรุงเทพพระนครนับถือพันเอก พระยาศรีสิทธิสงครามมากกว่า พลเอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช
 
ในมุมมองของกบฏเห็นว่า [[การปฏิวัติสยาม|การเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475]] นั้นเป็นเพียงแค่[[รัฐประหาร]] (Coup d'état) เท่านั้น มิใช่การ[[ปฏิวัติ]] (Revolution)
บรรทัด 55:
การยิงกันครั้งแรกเริ่มที่ [[อำเภอปากช่อง]] เมื่อวันที่ [[11 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2476]] แล้วมีการจับคนของรัฐบาลเป็นเชลยที่โคราช คณะผู้ก่อการได้ยกกองกำลังเข้ามาทาง[[ดอนเมือง]]และยึดพื้นที่เอาไว้ โดยเรียกชื่อคณะตัวเองว่า '''คณะกู้บ้านเมือง''' และเรียกแผนการปฏิวัติครั้งนี้ โดยใช้กองกำลังทหารจากหัวเมืองต่าง ๆ เข้าล้อมเมืองหลวงว่า '''แผนล้อมกวาง'''
 
โดยทางฝ่ายรัฐบาลก็ได้รู้ล่วงหน้าถึงการกบฏครั้งนี้ถึง 2 วัน เมื่อ พันเอก[[พระยาพหลพลพยุหเสนา]] นายกรัฐมนตรีได้ไปตรวจเยี่ยมมณฑลทหารราชบุรี จู่ ๆ นักบินผู้หนึ่งชื่อ เรืออากาศโทขุนไสวมัณยากาศ ได้บังคับ[[เครื่องบิน]]ลงจอดที่สนามและได้ยื่น[[จดหมาย]]ฉบับหนึ่งให้แก่ พลตรี[[พระยาสุรพันธเสนี (อิ้น บุนนาค)|พระยาสุรพันธเสนี]] สมุหเทศาภิบาลมณฑล แล้วแจ้งว่าเป็น สาสน์จากพระองค์เจ้าบวรเดช พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา เมื่อได้เห็นเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นต่อหน้าก็เดาออกทันทีว่าเป็นสาสน์ที่ส่งมาเพื่อเชิญชวนให้ก่อการกบฏ จึงรีบเดินทางกลับกรุงเทพฯจังหวัดพระนคร ในวันรุ่งขึ้นเพื่อดำเนินการต่อต้านทันที
 
พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนาได้ประกาศกฎอัยการศึกในวันที่ [[12 ตุลาคม]] พ.ศ. 2476 ในพื้นที่จังหวัดใหญ่ทหารบกกรุงเทพพระนคร<ref>http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2476/A/597.PDF</ref>ต่อมาในวันเดียวกัน นายพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนาได้แก้ประกาศกฎอัยการศึกเป็นประกาศกฎอัยการศึกในท้องที่มณฑลกรุงเทพพระนครกับมณฑลอยุธยา<ref>http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2476/A/598.PDF</ref> คณะรัฐบาลแต่งตั้งพันโท[[หลวงพิบูลสงคราม]] (จอมพล ป. พิบูลสงคราม - ยศขณะนั้น) เป็นผู้บัญชาการกองกำลังผสม พร้อมรถ ปตอ. รุ่น 76 และรถถัง รุ่น 76 บรรทุกรถไฟยกออกไปปราบปรามได้สำเร็จ แต่ต้องเสียพันตรี[[หลวงอำนวยสงคราม]] (ถม เกษะโกมล) ผู้บังคับการกองพันทหารราบที่ 8 เพื่อนของหลวงพิบูลสงครามเพราะถูกยิงเข้ามาในรถจักรดีเซลไฟฟ้า
 
ฝ่ายรัฐบาลได้ส่งพันตรีหลวงเสรีเริงฤทธิ์ เป็นตัวแทนฝ่ายรัฐบาลมาเจรจาให้ฝ่ายกบฏเลิกราไปเสีย และจะขอพระราชทานอภัยโทษให้ แต่ทางฝ่ายกบฏได้จับตัวพันตรีหลวงเสรีเริงฤทธิ์ไว้เป็นตัวประกัน
บรรทัด 78:
| image2 = Troops in the Boworadet rebellion.jpg
| alt2 =
| caption2 =ทหารช่างอยุธยา (สวมหมวกแก๊ป) ตกเป็นเชลยถูกควบคุมโดยทหารม้า ม.พัน 1 ร.อ. ฝ่ายรัฐบาล (สวมหมวกกะโล่) ถือปืนติดดาบปลายปืนอยู่แถวหลัง<ref>หน้า 624, ''เจ้าฟ้าประชาธิปกราชันผู้นิราศ'' โดย นายหนหวย. กรุงเทพพระนคร พ.ศ. 2530. พิมพ์และจำหน่ายโดยตนเอง</ref>
}}
ซึ่งคำขอทั้งหมดนี้ ทางฝ่ายรัฐบาลยืนกรานไม่ยินยอม จึงเกิดการต่อสู้กันของทั้งสองฝ่าย คณะปฏิวัติจึงเคลื่อนกำลังเข้าสู่พระนครทันที โดยยึดพื้นที่เรื่อยมาจากดอนเมืองถึงบางเขน
บรรทัด 128:
* [[รัฐประหารในประเทศไทย มิถุนายน พ.ศ. 2476]]
 
== งานศึกษาที่เกี่ยวข้อง ==
 
* ชานันท์ ยอดหงษ์. (2562). สามัญชนหญิงร่วมปฏิวัติ 2475. '''Intelligenzia''' (ฉบับปฐมฤกษ์): 67-86.
* ณัฐพล ใจจริง. (2559). '''กบฏบวรเดช: เบื้องแรกปฏิปักษ์ปฏิวัติสยาม 2475'''. กรุงเทพฯ: มติชน.
{{รัฐประหารในไทย‎}}
[[หมวดหมู่:กบฏในประเทศไทย|บวรเดช]]