ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กบฏบวรเดช"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 33:
 
== สาเหตุ ==
ในปี 2476 หลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) เสนอแผนเค้าโครงเศรษฐกิจ หรือ '''"[[สมุดปกเหลือง]]"''' ซึ่งเสนอแนวทางการปฏิรูปและเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม เช่น ให้รัฐเป็นเจ้าของที่ดินซึ่งไม่ได้ใช้เป็นที่อยู่อาศัยและให้เกษตรกรเป็นลูกจ้างของรัฐ จัดรัฐสวัสดิการและหลักประกันสังคม ซึ่งในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีส่วนใหญ่เห็นชอบกับแผนดังกล่าว [[พระยามโนปกรณนิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์)|พระยามโนปกรณนิติธาดา]] นายกรัฐมนตรีคนแรก ใช้อุบายล้มแผนดังกล่าว และ[[รัฐประหารในประเทศไทย เมษายน พ.ศ. 2476|ปิดสภาผู้แทนราษฎร และงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา]]ในเดือนเมษายน หลวงประดิษฐ์มนูธรรมจึงเดินทางไปประเทศฝรั่งเศสท่ามกลางการต่อต้านว่าเป็นคอมมิวนิสต์
กบฏบวรเดชเกิดขึ้นในวันที่ [[11 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2476]] นำโดย[[พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช]] อดีตเสนาบดี[[กระทรวงกลาโหม]] เป็นหัวหน้าฝ่ายทหารนำกำลังทหารจากหัวเมือง[[ภาคอีสาน]]ล้มล้างการปกครองของรัฐบาล เนื่องจากไม่พอใจที่นาย[[ถวัติ ฤทธิเดช]] ได้ฟ้องร้อง[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]] รัชกาลที่ 7 เนื่องจากกรณีที่ที่พระองค์มีพระบรมราชวินิจฉัยคัดค้านแผนพัฒนาเศรษฐกิจของหลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) ที่เรียกกันว่า '''"[[สมุดปกเหลือง]]"''' โดยออกเป็นสมุดปกขาว ซึ่งแผนพัฒนาเศรษฐกิจของนายปรีดีนี้มีเสนอแนวทางการปฏิรูปและเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างมาก อาทิ เรื่องการถือครองและการเช่าที่ดิน การจัดรัฐสวัสดิการ การแทรกแซงเศรษฐกิจโดยรัฐบาลด้วยวิธีการต่าง ๆ ด้วยหวังเปิดโอกาสให้เกษตรกรชาวไร่ชาวนาได้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตามหลายแนวคิดที่คล้ายกับการปกครองในระบบสังคมนิยมอาจมีผลกระทบต่อพื้นฐานโครงสร้างทางการเมืองและเศรษฐกิจ รวมถึงงบประมาณรายจ่ายของประเทศ [[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ทรงวิจารณ์ข้อเสนอของหลวงประดิษฐ์มนูธรรมอย่างจริงจัง ขณะที่ฝ่ายคณะราษฎรเองก็แตกแยกทางความคิด กระทั่งนำไปสู่การเปิดอภิปรายวิจารณ์ในรัฐสภา ในที่สุดฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยต่อแนวทางดังกล่าวจึงเสนอให้ยกเลิกข้อเสนอนั้น
 
เป็นเหตุให้หลวงประดิษฐ์มนูธรรมต้องถุกกดดันให้ไปอยู่ที่[[ประเทศฝรั่งเศส]]ชั่วคราว เมื่อ[[พระยามโนปกรณ์นิติธาดา]]ประกาศพระราชกฤษฎีกาปิดสภาฯ และงดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา ทำให้[[คณะราษฎร]]หลายท่านไม่พอใจพระเจ้าอยู่หัวและ[[พระยามโนปกรณ์นิติธาดา]] โดยเฉพาะฝ่ายทหาร และนำไปสู่การก่อรัฐประหารโค่นล้มรัฐบาลพระยามโนปกรณ์นิติธาดา[[รัฐประหารในประเทศไทย มิถุนายน พ.ศ. 2476|รัฐประหาร 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476]] หลังจากการรัฐประหาร[[พระยาพหลพลพยุหเสนา]]ผู้นำคณะรัฐประหารได้เป็นนายกรัฐมนตรี จึงมีการล้างมลทินให้หลวงประดิษฐมนูธรรม
สมาชิก[[คณะราษฎร]]ที่ไม่พอใจการกระทำอันเป็นเผด็จการดังกล่าว นำไปสู่[[รัฐประหารในประเทศไทย มิถุนายน พ.ศ. 2476|รัฐประหารรัฐบาลพระยามโนปกรณ์นิติธาดา]] จากนั้น [[พระยาพหลพลพยุหเสนา]] ผู้นำคณะรัฐประหาร ได้เป็นนายกรัฐมนตรี เขาแต่งตั้งหลวงประดิษฐ์มนูธรรมเป็นรัฐมนตรี และตั้งคณะกรรมาธิการเพื่อสอบสวนหลวงประดิษฐมนูธรรมว่าเป็นคอมมิวนิสต์หรือไม่
{{multiple image
| direction = vertical
เส้น 46 ⟶ 47:
| caption2 = พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช
}}
ความวุ่นวายทางการเมืองทั้งหลายมีส่วนทำให้พลเอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช บรรดานายพล และ นายทหารอื่นๆ ที่โดนปลดหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ [[พ.ศ. 2475]] ไม่พอใจรัฐบาลเป็นอันมาก จึงเริ่มก่อกบฏขึ้น โดยนำทหารโคราช (กองพันทหารราบที่ 15, กองพันทหารราบที่ 16, กองพันทหารม้าที่ 4, กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 3 และ กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 4) ทหารเพชรบุรี (กองพันทหารราบที่ 14), ทหารอุบลราชธานี (กองพันทหารราบที่ 18) เข้ารบ โดยหวังให้ทหารกรุงเทพที่สนิทกับพันเอก[[พระยาศรีสิทธิสงคราม]]ไม่ร่วมมือกับฝ่ายรัฐบาล
 
อย่างไรก็ตามพลเอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช และกลุ่ม "คณะเจ้า" อื่น ๆ ไม่พอใจโดยมีสาเหตุหลักจากการที่หลวงประดิษฐ์มนูธรรมได้เป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลใหม่ จึงเริ่มก่อกบฏขึ้น โดยนำทหารโคราช (กองพันทหารราบที่ 15, กองพันทหารราบที่ 16, กองพันทหารม้าที่ 4, กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 3 และ กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 4) ทหารเพชรบุรี (กองพันทหารราบที่ 14), ทหารอุบลราชธานี (กองพันทหารราบที่ 18) เข้ารบ โดยหวังให้ทหารกรุงเทพที่สนิทกับพันเอก[[พระยาศรีสิทธิสงคราม]]ไม่ร่วมมือกับฝ่ายรัฐบาล แต่ทหารกรุงเทพหันไปร่วมมือกับรัฐบาลเนื่องจากฝ่ายทหารโคราชยืนยันเอาพลเอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดชเป็นหัวหน้า ซึ่งผิดเงื่อนไขที่ทหารกรุงเทพต้องการ เนื่องจากทหารกรุงเทพนับถือพันเอก พระยาศรีสิทธิสงครามมากกว่า พลเอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช
 
อย่างไรก็ตาม ในมุมมองของทางฝ่ายกบฏบวรเดชเห็นว่า แท้ที่จริงแล้ว[[การปฏิวัติสยาม|การเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475]] นั้นเป็นเพียงแค่การ[[รัฐประหาร]] (Coup d'état) เท่านั้น มิใช่การ[[ปฏิวัติ]] (Revolution)
 
== การต่อสู้และการปราบปราม ==