ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปรัชญาปารมิตาหฤทัยสูตร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
แก้คำที่ขาดตกบกพร่องในบางคำ
OctraBot (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 15:
 
== ชื่อพระสูตร ==
พระสูตรฉบับจื่อเฉียน ให้ชื่อไว้ว่า "ปัวญั่วปัวลัวมี เซินอีจ้วน" (般若波羅蜜[多]) <ref>Nattier 1992, pg. 183</ref> หรือ "ปรัชญาปารมิตา ธารณี" <ref>Pine 2004, pg. 20</ref> ฉบับของ[[พระกุมารชีพ]]ให้ชื่อไว้ว่า "มัวฮัวปัวญัวปัวลัวมี เซินอีจ้วน" <ref>Nattier 1992, pg. 183</ref> หรือ มหา ปรัชญาปารมิตา มหาวิทยา ธารณี ฉบับของ[[พระเสวียนจั้ง]] (พระถังซำจั๋ง) เป็นฉบับแรกที่มีคำว่า "หฤทัย" แทรกไว้ในชื่อพระสูตร <ref>Pine 2004, pg. 36</ref>
 
แม้ว่าโดยทั่วไปจะเรียกพระสูตรนี้ว่า พระสูตรหัวใจ หรือ Heart Sutra แต่คำว่า "สูตร" มิได้ปรากฏในฉบับภาษาสันสกฤตแต่อย่างใด เพราะปรากฏเพียงว่า "ปรัชญาปารมิตาห์หฤทัย" <ref>Nattier 1992, pg. 200</ref> ฉบับของพระเสวียนจั้งเป็นฉบับแรกที่มีการเติมคำว่า พระสูตรเข้าไป แม้ว่าจะไม่พบฉบับภาษาสันสกฤตฉบับใดที่พ่วงท้ายด้วยคำว่า "สูตร" หรือพระสูตร คำนี้ได้กลายเป็นคำที่พบได้เป็นปกติในฉบับภาษาจีน ภาษาทิเบต และภาษาอังกฤษ <ref>Pine 2004, pg. 39</ref> ทั้งนี้ ฉบับภาษาทิเบตบางฉบับเติมคำว่า "ภควตี" ต่อท้ายชื่อพระสูตร ตามความเชื่อเชิง[[บุคคลาธิษฐานเทศนา]]ที่ว่า หลักธรรมปรัชญาปารมิตา หรือปัญญาบารมี มีรูปลักษณ์เป็นสตรี <ref>Pine 2004, pg. 35</ref>
 
== ตัวบท ==