ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระยาภิรมย์ภักดี (บุญรอด เศรษฐบุตร)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 35:
ในปี พ.ศ. 2435 [[เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค)]] เสนาบดีกระทรวงธรรมการ ได้ทดลองให้ทำหน้าที่ตำแหน่งเลขานุการ[[กระทรวงธรรมการ]] เมื่อจะลาออกแต่ครูใหญ่ไม่ให้ออก จึงตัดสินใจไม่เอาทั้ง 2 อย่าง จากนั้นทำงานเป็นเสมียนโต้ตอบจดหมายภาษาอังกฤษที่โรงเลื่อยของห้างกิมเซ่ง หลี และห้างเด็นนิมอตแอนด์ดิกซัน จนเห็นลู่ทางธุรกิจจึงมาเริ่มมาเป็นเจ้าของกิจการค้าไม้ เดินเรือโดยสารในแม่น้ำเจ้าพระยา เรียกว่า เรือเมล์ขาว โดยตั้งเป็น บริษัทบางหลวง จำกัด แต่เนื่องจากเริ่มมีคู่แข่งมากขึ้นจากเบนเข็มทำธุรกิจอื่น พระยาภิรมย์ภักดีได้พบ[[เอมิล ไอเซินโอเฟอร์]] ผู้จัดการห้างเพาส์ปิกเคนปัก และได้ลิ้มรสเบียร์เยอรมันจนถูกใจ จึงคิดว่าน่าจะทำขายในเมืองไทยได้ ได้ยื่นหนังสือขออนุญาตตั้งโรงต้มกลั่นเบียร์แห่งแรกของประเทศไทยในปี 2473<ref>{{cite web|url=https://www.silpa-mag.com/history/article_8022|title=เมื่อเจ้านายไทย “ทำธุรกิจ” ประเมินผลการลงทุนพระยาภิรมย์ภักดี ถึงเจ้าพระยายมราช|work=ศิลปวัฒนธรรม|date=6 มิถุนายน 2562|author=กฤษณะ โสภี|accessdate=27 มีนาคม 2563}}</ref> และก่อตั้งโรงงานผลิต[[เบียร์]]แห่งแรกขึ้นในประเทศไทยในปี 2476<ref>http://www.sarakadee.com/web/modules.php?name=News&file=print&sid=2458</ref>
 
เนื่องจากในสมัยนั้นยังไม่มีนโยบายเรื่องการจัดตั้งโรงงานผลิตเบียร์มาก่อน จึงยุติลงที่การอนุมัติโรงเบียร์แห่งแรกรัฐบาลไทยอนุมัติให้พระยาภิรมย์ภักดีผลิตเบียร์ เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2476 โดยมีโรงงานตั้งอยู่บนเนื้อที่ 9 ไร่ ริม[[แม่น้ำเจ้าพระยา]]ย่าน[[บางกระบือ]] ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 6 แสนบาท ในปี พ.ศ. 2477 พระยาภิรมย์ภักดีก็ได้นำเอาเบียร์สดใส่ถังไปเปิดให้ผู้คนดื่มฟรีในงานสโมสรคณะราษฎร ปรากฏว่าเป็นที่พอใจกันยิ่งนัก ข่าวได้แพร่สะพัดออกไป มีลูกค้าจับจองสินค้าออกสู่ตลาด จนได้จำหน่ายเบียร์รุ่นแรกเมื่อ วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2477 มีตรายี่ห้อต่าง ๆ กัน ทั้งตราว่าว ตราพระปรางค์ ตรากุญแจ ตรารถไฟ ตราหมี ปรากฏว่าเบียร์ตราสิงห์ได้รับความนิยมมากที่สุด ต่อมาจึงค่อยๆ หยุดผลิตยี่ห้ออื่นไป จนเหลือเพียงเบียร์สิงห์
 
ท่านมีความรู้ความสามารถ แต่งตำราการคิดคำนวณ หน้าไม้สำเร็จรูป แต่งตำราว่าวพนัน ได้โปรดเกล้าเป็นนายเรือตรีราชนาวีเสือป่าและกัปตันเรือเดินทะเล ได้เป็นกรรมการสโมสร และสนาม และยังบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมอย่างเช่น ได้ถวายตัวเป็นสมาชิกเสือป่า สร้างศาลาท่าน้ำ สร้างกระโจมแตรใน[[สวนลุมพินี]] สร้างโรงเรียนอนาถา เป็นต้น ได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นหลวงภิรมย์ภักดี มีตำแหน่งราชการในกรมท่าซ้าย ถือศักดินา 400 เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454 <ref> [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2454/D/1894.PDF พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์] </ref> ได้รับพระราชทาน[[เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย]]ชั้นที่ 5 เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย และได้เลื่อนเป็น พระภิรมย์ภักดี เมื่อวันที่ 2131 สิงหาคมธันวาคม พ.ศ. 24672463 และได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระยาภิรมย์ภักดี ถือศักดินา ๑๐๐๐ เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2467<ref> [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2467/D/3369.PDF พระราชทานบรรดาศักดิ์ (หน้า ๓๓๗๑)] </ref>จนถึงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2485 จึงได้รับพระบรมราชานุญาตให้ลาออกจากบรรดาศักดิ์<ref>{{cite journal|journal=ราชกิจจานุเบกษา|volume=59|issue=11 ง|pages=295-6|title=ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ข้าราชการกราบถวายบังคับลาออกจากบรรดาศักดิ์|url=http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2485/D/011/295_1.PDF|date=17 กุมภาพันธ์ 2485|accessdate=15 พฤศจิกายน 2560|language=ไทย}}</ref>
 
พระยาภิรมย์ภักดี ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อปี พ.ศ. 2493<ref>http://www.arip.co.th/articles.php?id=400413</ref>