ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประวัติศาสตร์ของกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศในประเทศไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 6450679 สร้างโดย 49.48.245.50 (พูดคุย)
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 71:
ปี พ.ศ. 2530 มีการรวมตัวของหลายฝ่ายเพื่อรณรงค์ด้าน[[โรคเอดส์]]ที่ระบาดอยู่อย่างจริงจัง โดยจัดตั้งกลุ่มเพื่อส่งเสริมและรณรงค์ให้ความรู้การป้องกันโรค นอกจากนี้ยังมี "[[กลุ่มเส้นสีขาว]]" เคลื่อนไหวให้มีการตื่นตัวต่ออันตรายของโรคเอดส์ ผ่านการแสดง ต่อมามีการจัดตั้งกลุ่ม "[[ภราดรภาพยับยั้งโรคเอดส์แห่งประเทศไทย]]" ให้ความรู้และรณรงค์เกี่ยวกับโรคเอดส์อย่างกว้างขวาง
 
ในปี พ.ศ. 2544 ได้มีการจัดตั้งกลุ่มฟ้าสีรุ้ง เพื่อรณรงค์เรื่องการป้องกันโรคเอดส์ในกลุ่มชายผู้รักร่วมเพศ เรียกร้อง[[สิทธิมนุษยชน]]ด้านต่างๆ และความเท่าเทียมในสังคม สร้างความเข้าใจอันดีในกลุ่มรักร่วมเพศต่อสังคม ซึ่งต่อมาเปลี่ยนเป็น [[สมาคมฟ้าสีรุ้งแห่งประเทศไทย]] (Rainbow Sky Organization of Thailand) อันถือได้ว่า เป็นสมาคมของคนรักร่วมเพศแห่งแรก และแห่งเดียวในประเทศไทย{{อ้างอิง}} โดยร่วมมือกับองค์กรอย่างศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย กระทรวงสาธารณสุข และองค์กรระหว่างประเทศ นอกจากนี้ยังมีองค์กรอื่นอย่าง [[องค์กรบางกอกเรนโบว์]] (Bangkok Rainbow Organization) ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2545 และในปี2546. ได้มีคนทำงานในจังหวัดเชียงใหม่เกิดขึ้นในนามโครงการเพื่อชายรุ่นใหม่ใส่ใจสุขภาพ<เอ็มพลัส) และได้จดทะเบียนเป็นมูลนิธิเอ็มพลัสเมื่อ 6 พฤษภาคม 2554
 
และหลังจากมีการจัดการประชุมระดับนานาชาติ เรื่องเพศวิถีและสิทธิมนุษยชนในเอเชีย ซึ่งเป็นการประชุมทางวิชาการเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศ ครั้งแรกในประเทศไทย โดยศาสตราจารย์ ดร.ปีเตอร์ แจ็คสัน, นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติ ประเทศออสเตรเลีย (ANU) จึงมีการรวมตัวขององค์กร สมาคม กลุ่มต่างๆ รวมทั้งนักรณรงค์ทางด้านสังคมที่เกี่ยวกับ[[ความหลากหลายทางเพศ]] จัดตั้งเครือข่ายความหลากหลายทางเพศ ในประเทศไทยขึ้นในปีพ.ศ. 2548 เพื่อร่วมกันทำงาน ประสานงาน ประชาสัมพันธ์ และสื่อสารความรู้ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางเพศในประเทศไทย
 
ในปี 2552 มีผู้ต่อต้าน[[เกย์ไพรด์]]ในจังหวัดเชียงใหม่อย่างรุนแรง[[เสาร์ซาวเอ็ด|เกือบเป็นจลาจล]]
 
== อ้างอิง ==