ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จินตหรา พูนลาภ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Achira Pak (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
Achira Pak (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 50:
'''จินตหรา พูนลาภ''' มีชื่อเกิดว่าทองใบ จันทร์เหลือง (ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อจริงเป็นจินตหรา จันทร์เหลือง, จินตหรา กวีสุนทรกุล<ref>[http://entertain.teenee.com/thaistar/16721.html]</ref>ตามลำดับ) มีชื่อเล่นว่า '''จิน''' เธอเกิดวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2512<ref>http://entertain.teenee.com/thaistar/16721.html</ref> แต่เธอบอกว่าเกิดวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2514 เป็นลูกคนที่ 4 จากทั้งหมด 5 คนของอุทัย และจันทร์ จันทร์เหลือง<ref>{{cite web |url= https://www.pptvhd36.com/news/ประเด็นร้อน/103097 |title= นักร้องสาวจินตหรานำศพแม่ตั้งบำเพ็ญกุศล จ.ร้อยเอ็ด |author=|date= 16 พฤษภาคม 2562 |work= PPTV Online |publisher=|accessdate= 19 มิถุนายน 2563 }}</ref> (สกุลเดิม พูนลาภ) ครอบครัวประกอบอาชีพ[[เกษตรกรรม]] พอเรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พ่อจึงพาไปเปลี่ยนชื่อเป็น จินตหรา จันทร์เหลือง เริ่มร้องเพลงตั้งแต่ยังเด็ก หลังจากชนะการประกวดร้องเพลงที่จังหวัดขอนแก่น ได้รับการชักชวนจาก "เฮียยิ้ง" ชาย สีบัวเลิศ นักจัดรายการวิทยุเพลงลูกทุ่ง เข้าบันทึกเสียงเป็นนักร้องลูกทุ่งคนแรกของค่ายแกรมมี่ ซึ่งทำการตลาดโดย[[จีเอ็มเอ็ม]]{{อ้างอิง}}
 
ผลงานเพลงชุดแรกที่บันทึกเสียงคือ ''ถูกหลอกออกโรงเรียน'' โดยได้ใช้ชื่อว่า จินตหรา พูนลาภ (นามสกุลก่อนสมรสของมารดา) สังกัดค่ายแกรมมี่ เมื่อปี พ.ศ. 2530 โดยได้รับการสนับสนุนจาก[[ปรีชา ทรัพย์โสภา]] นักจัดรายการวิทยุ ประสบความสำเร็จอย่างมาก ทำยอดขายได้ 8 แสนชุด ก็ประสบความสำเร็จตามมากับชุดที่ 2 ชื่อชุด วานเพื่อนเขียนจดหมาย ทำยอดขายได้ 1 ล้านตลับ{{อ้างอิง}} ราวปี พ.ศ. 2530-2531 งานเพลงในยุคแรกเป็นแบบลูกทุ่งภาคกลาง แต่หลังจากมีผลงาน 5 ชุด ได้เริ่มออกผลงานเพลงแนวหมอลำโดยมี พิมพ์ใจ เพชรพลาญชัย เป็นครูสอนการร้องลำให้{{อ้างอิง}} โดยอัลบั้มหมอลำชุดแรกคือ ''พลังรัก''<ref>https://sites.google.com/view/morradokisan-db/%E0%B8%9B-56/%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3-%E0%B8%8A%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%87-%E0%B8%9E%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B9%83%E0%B8%88-%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%8D%E0%B8%8A%E0%B8%A2</ref>
 
หลังชุดที่ 16 ชาย สีบัวเลิศ ผู้ปั้นจินตหรา พูนลาภให้โด่งดัง ได้แยกตัวออกจากค่ายแกรมมี่ มาเปิดเป็นค่าย[[มาสเตอร์เทป]] โดยได้จินตหรา พูนลาภเป็นศิลปินเบอร์หนึ่งของค่าย โดยระหว่างที่เธอเป็นศิลปินสังกัดมาสเตอร์เทปก็มีผลงานเป็นที่รู้จักมากมายนับไม่ถ้วน อาทิ ''สิ้นหวังที่วังตะไคร้'', ''สงสารหัวใจ'', ''แอบรักหนุ่มยาม'', ''ขอรักฝ่ายเดียว'', ''อ้อนพ่อซื้อมอเตอร์ไซค์'', ''คอยพี่ที่มออีแดง'', ''รอพี่ที่ บขส.'', ''รักโผล่โสนแย้ม'', ''รักสลายดอกฝ้ายบาน'',''ผู้หนีช้ำ'', ''ห่วงพี่ที่คูเวต'', ''น้ำตาสาววาริน'' เป็นต้น