ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Witwatarun (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Witwatarun (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 66:
 
ภายในพระเจดีย์มหาจุฬามณีองค์นี้ในครั้งแรกนั้นได้มีการบรรจุพระทันตธาตุ(ฟัน)ของพระพุทธเจ้าเอาไว้ และต่อมาก็ได้มีการบรรจุพระเกศาธาตุ(ผม)ของพระพุทธเจ้าเพิ่มเอาไว้อีกด้วย จึงนับว่าพระวิหารน้อยมหาจุฬามณีของวัดอรุณราชวราราม มหาวรวิหารแห่งนี้นั้น เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อย่างยิ่งสำหรับชาวพุทธทุกคน สมควรเป็นอย่างยิ่งที่พวกเราชาวพุทธต้องหาโอกาสมากราบนมัสการพระเจดีย์มหาจุฬามณีที่วัดอรุณแห่งนี้เพื่อความเป็นศิริมงคลแก่ชีวิตของตนเอง พระเจดีย์มหาจุฬามณีเป็นพระเจดีย์ทรงย่อมุมไม้สิบสอง เป็นศิลปกรรมสมัยอยุธยา เราจะเห็นได้ว่าตัวพระเจดีย์ และท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ทิศมีความงดงามด้วยฝีมือช่างอย่างที่สุด เป็นศิลปะกรรมชั้นสูงที่ยังคงความสมบูรณ์และถ่ายทอดเรื่องราวจากอดีตได้อย่างสมบูรณ์แบบ ซึ่งหาชมไม่ได้ง่ายเลยในยุคปัจจุบันนี้
<br />
[[ไฟล์:PH (215).jpg|thumb|พระป้ายสถิตดวงพระวิญญาณสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช วัดอรุณราชวราราม]]
[[ไฟล์:Www008.jpg|thumb|โบสถ์น้อย วัดอรุณราชวราราม]]
 
==== <ref>https://historyoftemples.kachon.com/353537</ref> ====
โบสถ์น้อย วัดอรุณราชวราราม อยู่หน้าพระปรางค์ ด้านเหนือซุ้มประตูพระเกี้ยว เป็นโบสถ์เดิมของวัดที่สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาคู่กับพระปรางค์องค์เดิม เป็นรูปทรงเตี้ย มีมุขทั้งด้านหน้าด้านหลัง ที่หน้าบันทำเป็นลายกระหนกปิดทองประดับกระจก ไม่มีกำแพงแก้ว(ของเดิมจะมีหรือเปล่า ไม่ปรากฏหลักฐาน) มุขด้านหน้าปูพื้นด้วยกระเบื้องซีเมนต์ ปล่อยว่าง ที่ผนังด้านนอกหน้าโบสถ์ ตรงกลางเจาะเป็นรูใส่ถ้วยกระเบื้องกลมๆ สมัยเก่าไว้รวม ๙ รู เรียงเป็นแถว ๓ แถว แถวละ ๓ รูป เล่ากันว่าเป็นปริศนาลายแทงว่า “วัดอรุณมี ๙ รู” เดิมโบกปูนทับไว้ทั้งหมด แต่เมื่อซ่อมใหม่จึงได้พบมุขหลังประดิษฐานพระกัจจายน์ หน้าตักกว้าง ๒ ศอก เป็นพระลงรักปิดทอง มีประตู ๔ ประตู ด้านหน้า ๒ ประตู และด้านหลัง ๒ ประตู ที่บานประตูด้านนอกเป็นลายรดน้ำรูปทหาร และมีรูปดอกไม้ประดับ ด้านในเป็นภาพเขียนสีเทวดาแบบทวารบาลทุกบาน หน้าต่างมีข้างละ ๖ ช่อง ด้านนอกเป็นลายรดน้ำรูปดอกไม้ ด้านในเป็นภาพสีรูปฉัตรเบญจาและดอกไม้ร่วงเหมือนกันทุกบาน
 
ภายในโบสถ์มีฐานชุกชี ประดิษฐานพระพุทธรูปเป็นจำนวนถึง ๒๙ องค์ เป็นพระพุทธรูปนั่งบ้างยืนบ้าง ที่ชำรุดหักพังเสียก็หลายองค์ พระประธานเป็นพระปูนปั้นปางมารวิชัยลงรักปิดทอง เหตุที่มีพระพุทธรูปในนี้มาก สันนิษฐานกันว่า ได้ย้ายออกมาจากวิหารน้อยหลังใต้แล้วเอามารวมประดิษฐานไว้ที่นี่ ภายหลังทางวัดขนเอามาจากที่อื่นอีก เช่น ที่ศาลาการเปรียญหลังเก่าที่รื้อไปแล้ว เป็นต้น หน้าฐานชุกชีทำเป็นลับแลก่ออิฐถือปูน มีพระแท่นของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีประทับ เป็นไม้กระดานแผ่นเดียว กว้าง ๑๗ นิ้วฟุต ยาว ๑๒๐ นิ้วฟุต ตั้งอยู่
 
ตามพระราชพงศาวดารกล่าวว่า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เมื่อจวนจะสิ้นรัชกาล ได้ทรงผนวชและเสด็จมาประทับ ณ โบสถ์นี้ บนพระแท่นมีที่บรรทมตั้งซ้อนอยู่ สืบได้ความว่า เดิมที่บรรทมนี้อยู่ที่อื่น แล้วนำมาตั้งซ้อนไว้ มีพระบรมรูปหล่อของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงเครื่องพระมหากษัตริย์ประทับห้อยพระบาทประดิษฐานอยู่ด้วย ทางวัดแจ้งว่าพระเดชพระคุณพระราชวิสุทธิญาณ(อยู่) ขณะมีสมณศักดิ์เป็นพระศากยบุตติยวงศ์ รักษาการเจ้าอาวาส ให้ช่างหล่อขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๙ ทางด้านใต้พระแท่น มีศาลสถิตดวงพระวิญญาณของพระองค์ท่าน สร้างขึ้นพร้อมกับพระบรมรูปหล่อ[[ไฟล์:PH (215).jpg|thumb|พระป้ายสถิตดวงพระวิญญาณสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช วัดอรุณราชวราราม]]
<br />
 
เส้น 79 ⟶ 87:
คณะกรรมการจัดงานแห่องค์พระรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชชาววัดอรุณ ประจำปี 2563 ได้ร่วมกันจัดสร้าง ภาพวาดสีน้ำมันจำลองสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชชาววัดอรุณ ขนาดA4 จำนวนการจัดสร้าง 30,000 ภาพ เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติในพระองค์ท่าน และร่วมกันจัดสร้าง ภาพเหมือนพระพิมลธรรม(นาค สุมนฺนาโค) เจ้าตำหรับตะกรุดหนังหน้าผากเสือ ขนาดA4 จำนวนการจัดสร้าง 30,000 ภาพ เพื่อระลึกและเชิดชูเกียรติคุณงามความดีขององค์ หลวงปู่นาค สุมนฺนาโค(พระพิมลธรรม) อดีตเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม รูปที่ ๑๐
[[ไฟล์:Www007.jpg|thumb|พิธีพุทธาภิเษก ภาพเหมือนพระพิมลธรรม(นาค สุมนฺนาโค) ณ พระวิหารวัดอรุณราชวราราม โดยคณะสงฆ์วัดอรุณราชวราราม เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2563]]
น้อมถวายแด่พระเดชพระคุณหลวงพ่อ พระธรรมรัตนดิลก กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะภาค9 เจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม เนื่องในวาระโอกาสที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อ พระธรรมรัตนดิลก เจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯจาก พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑๐ พระราชทานสถาปนาเลื่อนสมณศักดิ์ในชั้นธรรม และยังได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งให้เป็นหนึ่งในกรรมการมหาเถรสมาคม เมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๖๒ จัดให้มีพิธีพุทธาภิเษก ณ พระวิหารวัดอรุณราชวราราม โดยคณะสงฆ์วัดอรุณราชวราราม เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2563 <br />
 
==== ยักษ์วัดแจ้ง หรือ รูปยักษ์ยืน วัดอรุณราชวราราม<ref>https://historyoftemples.kachon.com/353538</ref> ====
ยักษ์วัดแจ้ง หรือ รูปยักษ์ยืน วัดอรุณราชวราราม ที่หน้าประตูซุ้มยอดมงกุฎมี ๒ ตน มือทั้งสองกุมกระบอง ยืนอยู่บนแท่น สูงประมาณ ๓ วา ยักษ์ที่ยืนด้านเหนือ(ตัวขาว) คือ สหัสเดชะ ส่วนด้านใต้(ตัวเขียว) คือ ทศกัณฐ์ ปั้นด้วยปูน ประดับกระเบื้องเคลือบสีเป็นลวดลายรูปลักษณะและเครื่องแต่งตัว รูปยักษ์คู่นี้เป็นของทำขึ้นใหม่ (ใบฎีกาบอกบุญนี้ ยังมีอยู่ในแฟ้มเอกสาร วัดอรุณฯ ๑๘ แผนกเอกสารสำคัญ กองจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร) ที่ทำไว้เก่าในสมัยรัชกาลที่ ๓ นั้นเป็นฝีมือหลวงเทพ(กัน) สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ตรัสว่า  “หลวงเทพ ที่ปั้นยักษ์วัดอรุณคู่ที่พังเสียแล้ว เรียกว่าหลวงเทพกัน มีชื่อเดิมติด” และเรื่องหลวงเทพ(กัน)นี้
 
สมเด็จเจ้าฟ้าพระองค์นี้ ได้ทรงอธิบายถวายสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพไว้ว่า “ยักษ์วัดแจ้งนั้นเขาพูดถึงของเดิมว่าเป็นฝีมือ “หลวงเทพกัน” คำที่ว่า “หลวงเทพฯ นั้น จะเป็นหลวงเทพรจนาหรือหลวงเทพยนต์อะไรก็ไม่ทราบ” แต่คำว่า “กัน” นั้นเป็นชื่อตัวแน่ เพราะฝีมือแกดีจึงโปรดให้ปั้นไว้ รูปเก่านั้นพังไปเสียแล้ว ที่ยืนอยู่บัดนี้เป็นของใหม่ แต่ใหม่ก่อนท่านเจ้าคุณนาค ไปอยู่เป็นแน่ เข้าใจว่ายักษ์วัดแจ้งนั้นแหละพาให้เกิดยักษ์ในวัดพระแก้วขึ้น ในที่สุดยักษ์ก็ “ต้องมี” ที่ “ต้องมี” นั้น จ้างเจ๊กทำก็ได้  เพราะราคาค่อยถูกหน่อย นี่ว่าถึงวัดพระแก้ว แต่ยักษ์คู่ใหม่ที่วัดแจ้งนั้นไม่ทราบ เกล้ากระหม่อม เห็นว่าถ้าหาช่างฝีมือดีปั้นไม่ได้ ไม่ต้องมียักษ์ก็ได้ และว่า “ยักษ์วัดพระแก้วนั้นคงทำขึ้นในรัชกาลที่ ๓ เป็นประเดิม เพราะจำได้ว่าคู่ทศกัณฐ์กับสหัสเดชะนั้น เป็นฝีมือหลวงเทพรจนา (กัน) คือมือที่ปั้นยักษ์วัดอรุณ สันนิษฐานว่าเพราะเวลานั้นมีช่างปั้นฝีมือดีๆ จึ่งให้ทำขึ้นไว้”
 
เรื่องรูปยักษ์คู่ที่ไม่ใช่ของเก่านั้น พระเดชพระคุณพระเทพมุนี(เจียร ปภสฺสโร) อดีตเจ้าอาวาสองค์ที่ ๑๒ ได้บันทึกเรื่องยักษ์ล้มไว้เป็นใจความว่า “วันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๗๓ ตรงกับ ๑ฯ๑๑๐ ปีมะเมีย โทศก จุลศักราช ๑๒๙๒ กลางคืนฝนตกหนัก อสุนีบาตตกถูกยักษ์หน้าพระอุโบสถด้านเหนือ(สหัสเดชะ) พังลงมาต้องสร้างใหม่” เวลาที่รูปยักษ์ล้มนี้ พระเดชพระคุณพระพิมลธรรม(นาค) เป็นเจ้าอาวาส ความจริงรูปยักษ์คู่นี้ เคยซ่อมมาหลายครั้งแล้ว ดังปรากฏในรายงานมรรคนายก เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๕ ก็มีรายการซ่อมยักษ์และใน พ.ศ.๒๔๕๖ ก็ซ่อมแขนยักษ์อีก ส่วนที่ซ่อมและสร้างใหม่นี้ สืบไม่ได้ว่าใครเป็นผู้ซ่อม ข้างยักษ์ตัวด้านเหนือ มีสิงโตหิน ๓ ตัว และข้างตัวด้านใต้มีสิงโตหินอีก ๓ ตัว เช่นเดียวกัน<br />
== ลำดับเจ้าอาวาส ==
นับแต่สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ วัดอรุณราชวรารามมีเจ้าอาวาสสืบลำดับมา ดังนี้