ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กองทัพอากาศสหรัฐในประเทศไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
แทนที่ "สหรัฐอเมริกา" → "สหรัฐ" ด้วยสจห.
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 17:
 
| caption =
| date = เมษายน พ.ศ. 2504 – 2518
| place = {{flagicon|Thailand}} [[ประเทศไทย]]
| territory =
บรรทัด 37:
}}
 
'''กองทัพอากาศสหรัฐ''' ได้เข้ามาตั้งฐานทัพอากาศในประเทศไทยระหว่าง พ.ศ. 2504 ถึง 2518 ในช่วง[[สงครามเวียดนาม]] เพื่อใช้เป็นฐานปฏิบัติการโจมตี[[ประเทศเวียดนามเหนือ]] มีการประมาณการว่าการทิ้งระเบิดกว่าร้อยละ 80 ต่อเวียดนามเหนือมาจากฐานทัพอากาศในประเทศไทย<ref name="Randolph">R. Sean Randolph, '''The United States and Thailand Alliance Dynamics, 1950 – 1985''', (Institute of East Asian Studies, University of California, Berkeley, 1986), Chapter 3, pp. 49 - 81.</ref> จำนวนทหารอเมริกันภาคพื้นดินสูงสุดในปี พ.ศ. 2511 คือ 11,494 คน และทหารอากาศสูงสุดในปี พ.ศ. 2512 คือ 33,500 จำนวนเครื่องบินอเมริกันสหรัฐในปี พ.ศ. 2512 มีประมาณ 600 เครื่อง<ref name="จุฬาพร">จุฬาพร เอื้อรักสกุล, '''[http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A1#cite_ref-4 สงครามเวียดนาม]''', สถาบันพระปกเกล้า.</ref> นับว่าเป็นฐานทัพปฏิบัติการทางทหารขนาดใหญ่มาก ใหญ่กว่าฐานสหรัฐในเวียดนามใต้เสียอีก จนมีการเปรียบเปรยว่าไทยกลายเป็น ''เรือบรรทุกเครื่องบินที่ไม่มีวันจม'' ของกองทัพสหรัฐ<ref name="สุรชาติ">สุรชาติ บำรุงสุข, '''[https://www.matichonweekly.com/column/article_59819 สุรชาติ บำรุงสุข : 41 ปีแห่งการเคลื่อนไหว (2) ขวาไทย-ฐานทัพฝรั่ง]''', มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 13 - 19 ตุลาคม 2560, วันพฤหัสที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2560.</ref>
 
สหรัฐเข้ามาตั้งฐานทัพในประเทศไทยภายใต้ "ข้อตกลงสุภาพบุรุษ" (สัญญาปากเปล่า) ระหว่างไทยและสหรัฐ<ref name="Randolph"></ref> <ref name="จุฬาพร"></ref> หน่วยทหารสหรัฐหน่วยแรกเดินทางจากฟิลิปปินส์มาถึงท่าอากาศยานดอนเมืองในเดือนเมษายน พ.ศ. 2501 ตามมาด้วยการลำเลียงวัสดุภัณฑ์และเครื่องจักรหนักจำนวนมากมายังอู่ตะเภาเพื่อนำไปใช้ก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานและฐานทัพอากาศในประเทศไทย ซึ่งในทางนิตินัยถือว่าฐานทัพเหล่านี้เป็นฐานทัพของ[[กองทัพอากาศไทย]] และมีผู้บังคับการฐานเป็นเจ้าหน้าที่ทหารไทย ด่านเข้าออกฐานทัพถูกควบคุมโดยสารวัตรทหารไทยโดยมีสารวัตรทหารอเมริกันเป็นผู้ช่วยถืออาวุธ แต่หน่วยทหารสหรัฐในไทยรับคำสั่งจากกองบัญชาการของสหรัฐ สหรัฐใช้ฐานทัพในไทย 7 แห่ง คือ ดอนเมือง โคราช นครพนม ตาคลี อู่ตะเภา อุบลราชธานี และอุดรธานี
 
ช่วยปลายสงครามเวียดนาม รัฐบาลสหรัฐถูกกดดันอย่างหนักจากชาวอเมริกันให้ถอนทหารออกจากเวียดนาม และเมื่อ[[การยึดกรุงไซ่ง่อน|กรุงไซ่ง่อน]]ถูกยึด ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลสหรัฐและรัฐบาลไทยก็ขุ่นมัว ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2518 รัฐบาลสหรัฐประกาศการถอนกำลังพลสหรัฐทั้งหมด (ทหาร 28,000 นาย และอากาศยาน 300 เครื่อง) ออกจากประเทศไทยภายใน 12 เดือน