ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย ณ นคร)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
NewFrontierHistoryThai (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 36:
ในพ.ศ. 2363 [[พระเจ้าจักกายแมง]]แห่งพม่ามีพระราชโองการให้เตรียมเกณฑ์ทัพจากเมือง[[มะริด]]และ[[ตะนาวศรี]]เข้ารุกรานไทย ฝ่ายพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเมื่อทรงทราบข่าวทัพพม่าจึงมีพระราชโองการให้จัดเตรียมทัพไปตั้งรับ ในขณะนั้นพระยานครฯ (น้อย) ล้มป่วยลง จึงมีพระราชโองการให้พระวิชิตณรงค์ไปรักษาการณ์เมืองนครศรีธรรมราช และให้[[พระพงษ์นรินทร์]]ซึ่งเป็นหมอหลวงเดินทางมารักษาอาการป่วยของพระยานครฯ และมีตราว่าหากทัพพม่าบุกเข้ามาให้พระยานครฯเป็นแม่ทัพ พระวิชิตณรงค์เป็นปลัดทัพ และพระพงษ์นรินทร์เป็นยกกระบัตรทัพ แต่สุดท้ายแล้วทัพพม่าก็ไม่ได้ยกมารุกรานแต่อย่างใด
 
ฝ่ายสุลต่านตวนกูปะแงหรันแห่งไทรบุรีเมื่อทราบข่าวว่าพม่าจะยกทัพมายังภาคใต้จึงติดต่อสัมพันธไมตรีกับฝ่ายพม่า ตนกูมอม (Tunku Mom) น้องชายของสุลต่านตวนกูปะแงหรันมาแจ้งความแก่พระยานครฯ (น้อย) ว่าตวนกูปะแงหรันลักลอบติดต่อกับพม่า นอกจากนี้พ่อค้าชาวจีนในทะเลอันดามันชื่อว่าลิมหอยพบสาส์นของพม่าถึงสุลต่านตวนกูปะแงหรัน ฝ่ายกรุงเทพฯจึงมีตราเรียกเข้ามาพบสุลต่านไม่ไป พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยจึงมีพระราชโองการให้พระยานครศรีธรรมราช (น้อย) ยกทัพไปตีเมืองไทรบุรี พระยานครฯ (น้อย) ยกทัพเรืองเรือจากเมือง[[พัทลุง]]และ[[สงขลา]]เข้าแสร้งว่าจะโจมตีทางบกมะริดและยึดตะนาวศรี โดยพระยานครฯ (น้อย) แจ้งแก่ทางไทรบุรีว่าขอเสบียงสนับสนุน แม่ฝ่ายไทรบุรีไม่ได้ส่งเสบียงมาสนับสนุนตามที่ขอพระยานครฯ (น้อย) จึงยกทัพเรือไปยังเมือง[[อาโลร์เซอตาร์]]เมืองหลวงของไทรบุรี ฝ่ายเมืองไทรบุรียังไม่ทราบเจตนารมณ์ของพระยานครฯจึงให้การต้อนรับ เมื่อพระยานครฯเข้าไปอยู่ในเมืองอาโลร์เซอตาร์แล้วจึงเข้าโจมตี<ref>Maziar Mozaffari Falarti (2013). ''Malay Kingship in Kedah: Religion, Trade, and Society''. Rowman & Littlefield.</ref>และยึดเมืองได้สำเร็จในเดือนกุมภาพันธ์พฤศจิกายน พ.ศ. 2364 สุลต่านตวนกูปะแงหรันสามารถหลบหนีได้ทันไปยัง[[เกาะปีนัง]]หรือเกาะหมาก ซึ่งไทรบุรีได้ยกให้แก่อังกฤษให้เช่าตั้งแต่พ.ศ. 2329 เมื่อยึดไทรบุรีได้แล้วพระยานครฯ (น้อย) จึงตั้งให้บุตรชายคือพระภักดีบริรักษ์ (แสง) เป็นเจ้าเมืองไทรบุรีแทน และให้บุตรชายอีกคนคือนายนุชมหาดเล็กเป็นปลัดเมืองไทรบุรี ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยจึงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพระภักดีบริรักษ์ (แสง) เป็น''พระยาอภัยธิเบศร์''เจ้าเมืองไทรบุรี และแต่งตั้งนายนุชมหาดเล็กเป็น''พระเสนานุชิต''ปลัดเมืองไทรบุรี
 
=== เจรจากับอังกฤษ ===
เมื่อพระยานครฯ (น้อย) ยึดไทรบุรีแล้ว สยามจึงเข้าปกครองเมืองไทรบุรีโดยตรงโดยขึ้นกับเมืองนครศรีธรรมราช มีข้าราชการกรมการฯสยามเข้าปกครองไม่มีการแต่งตั้งสุลต่าน อดีตสุลต่านตวนกูปะแงหรันพำนักอยู่ที่เกาะปีนังภายใต้ความคุ้มครองของอังกฤษ ฝ่ายอังกฤษที่เกาะปีนังเพื่อเห็นว่าสยามเข้าปกครองไทรบุรีโดยตรงเกรงว่าสยามจะส่งทัพมาโจมตีเกาะปีนัง [[ฟรานซิส รอว์ดอน-เฮสติงส์ มาร์เควสแห่งเฮสติงส์ที่ 1|มาร์เควสแห่งเฮสติงส์]] (Marquess of Hastings) ผู้ปกครอง[[บริติชอินเดีย]] ส่งนาย[[จอห์น ครอว์เฟิร์ด]] (John Crawfurd) เป็นทูตมายังสยามเพื่อดูท่าที นายครอว์เฟิร์ตเดินทางถึงเกาะปีนังในเดือนธันวาคม พระยานครฯ (น้อย) จึงส่งสาส์นถึงนายครอว์เฟิร์ตที่เกาะปีนังว่าฝ่ายสยามไม่มีเจตนาที่จะยกทัพบุกเกาะปีนัง เมื่อนายครอว์เฟิร์ตเดินทางถึงกรุงเทพฯในเดือนเมษายนพ.ศ. 2365 ได้ยื่นหนังสือของตวนกูปะแงหรันให้แก่พระยาสุริยวงศ์โกษา (ดิศ) กล่าวโทษพระยานครฯ (น้อย) การเจรจาระหว่างสยามและอังกฤษครั้งนั้นยังไม่ประสบผล หลังจากการปราบกบฏไทรบุรีและการเจรจากับอังกฤษ พระยานครฯ (น้อย) จึงได้เลื่อนขึ้นเป็นเจ้าพระยานครศรีธรรมราช<ref>[http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=23320.0 เจ้าพระยานคร (น้อย)] สืบค้นเมื่อ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2554</ref> ต่อมาในพ.ศ. 2368 เจ้าพระยานครฯ (น้อย) จัดเตรียมทัพเรือเพื่อเข้าโจมตี[[รัฐเปรัก]]และ[[รัฐเซอลาโงร์|เซอลาโงร์]] เนื่องจากรัฐเซอลาโงร์ได้เคยขัดขวางมิให้รัฐเปรักถวายบรรณาการให้แก่กรุงเทพฯ นายโรเบิร์ต ฟุลเลอร์ตัน (Robert Fullerton) เจ้าเมืองปีนัง แจ้งแก่เจ้าพระยานครฯ (น้อย) ว่าถ้าฝ่ายสยามนำทัพเข้ารุกรานเปรักและเซอลาโงร์จะเป็นการละเมิดต่อสนธิสัญญาอังกฤษ-ฮอลันดา (Anglo-Dutch Treaty of 1824) และส่งเรือรบของอังกฤษมาปิดกั้นปาก[[แม่น้ำตรัง]]<ref>Hall, Daniel George Edward (1 May 1981). ''History of South East Asia''. Macmillan International Higher Education.</ref> ซึงเป็นทางออกของทัพเรือของเจ้าพระยานครฯ (น้อย) ไว้ การรุกรานรัฐเประก์และเซอลาโงร์จึงยุติ
 
ต่อมาเมื่อเดือนตุลาคมพ.ศ. 2368 ฝ่ายอังกฤษส่งนาย[[เฮนรี เบอร์นี]] (Henry Burney) หรือ "หันตรีบารนี" เป็นตัวแทนของอังกฤษเข้ามาขอทำสนธิสัญญาทางการค้ากับสยาม นายเบอร์นีเดินทางถึงเมือง[[นครศรีธรรมราช]] พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชโองการให้เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย) นำนายเบอร์นีเข้าไปยังกรุงเทพฯ นำไปสู่การตกลง[[สนธิสัญญาเบอร์นี]] (Burney Treaty) ในเดือนมิถุนายนพ.ศ. 2369 โดยมีผู้แทนฝ่ายสยามได้แก่[[กรมหมื่นสุรินทรรักษ์]] [[สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค)|เจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ)]] และเจ้าพระยานครฯ (น้อย) ฝ่ายอังกฤษยอมรับอำนาจของสยามเหนือไทรบุรีโดยมีข้อแลกเปลี่ยนว่าสยามงดการรุกรานรัฐเซอลาโงร์และอนุญาติให้มีการค้าขายระหว่างสยามและเกาะปีนัง<ref>https://en.wikisource.org/wiki/Burney_Treaty</ref>
 
ในพ.ศ. 2369 [[กบฏเจ้าอนุวงศ์]] พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯมีตราให้เจ้าพระยานครฯ (น้อย) เกณฑ์พลหัวเมืองปักษ์ใต้ขึ้นไปรบกับลาว แต่เจ้าพระยานครฯ (น้อย) ถวายรายงานว่าอังกฤษนำเรือมาไว้ที่เกาะปีนัง จึงให้พระเสน่หามนตรี (น้อยกลาง) บุตรชายยกทัพไปส่วนหนึ่งตามท้องตราไปแทน
 
=== กบฏไทรบุรีครั้งหลัง ===
ในพ.ศ. 2375 ตนกูกูเด่น (Tunku Kudin) ผู้เป็นหลานของอดีตสุลต่านตวนกูปะแปหรันปลุกระดมชาวเมืองไทรบุรีให้ลุกฮือขึ้นและเข้ายึดเมืองไทรบุรีได้ พระยาอภัยธิเบศร์ (แสง) เจ้าเมืองไทรบุรีและพระเสนานุชิต (นุช) บุตรทั้งสองของเจ้าพระยานครฯ (น้อย) หลบหนีไปยังเมืองพัทลุง เจ้าพระยานครฯ (น้อย) ซึ่งขณะนั้นอยู่ที่กรุงเทพมีคำสั่งให้พระสุรินทร์ซึ่งเป็นข้าหลวงใน[[กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ|กรมพระราชวังบวร]]ฯลงไปช่วง[[พระยาสงขลา (เถี้ยนจ๋งเถี้ยนเส้ง)]] ในการเกณฑ์หัวเมืองปัตตานีมารบกับไทรบุรี และตัวเจ้าพระยานครฯจึงได้รีบรุดลงมายังเมืองนครฯ ฝ่ายบรรดาเจ้าเมืองปัตตานีห้าเมืองจากเจ็ดเมืองนำโดย[[พระยาตานี (ต่วนสุหลง)]] ทราบว่าต้องนำพลไปรบกับไทรบุรีจึงก่อการกบฏขึ้นบ้าง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯมีพระราชโองการให้เจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ) ยกทัพลงมาช่วยเจ้าพระยานครฯ เจ้าพระยานครฯยกทัพเข้ายึดเมืองไทรบุรีคืนได้สำเร็จ ตนกูกูเด่นฆ่าตัวตาย
 
เจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ) ยกทัพมาถึงเมืองสงขลาในเดือนมีนาคม พบว่าเจ้าพระยานครฯ (น้อย) เข้ายึดเมืองไทรบุรีได้แล้ว ทั้งเจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ) เจ้าพระยานครฯ (น้อย) และพระยาสงขลา (เถี้ยนจ๋ง) ยกทัพเข้าตีเมืองปัตตานี พระยาตานี (ต่วนสุหลง) สู้ไม่ได้จึงหลบหนีไปยัง[[กลันตัน]] ฝ่ายสยามยกตามไปต่อที่กลันตัน สุลต่านมูฮัมหมัดแห่งกลันตันผู้เป็นญาติของพระยาตานีไม่สู้รบขอเจรจาแต่โดยดีและมอบตัวพระยาตานีให้แก่ฝ่ายสยาม หลังจากปราบกบฎไทรบุรีลงได้แล้ว เจ้าพระยานครฯจึงให้พระยาอภัยธิเบศร์และพระเสนานุชิตบุตรทั้งสองครองเมืองไทรบุรีตามเดิม