ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระธาตุขามแก่น"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไทๆ (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 8819625 สร้างโดย 118.173.102.58 (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
Nubbkao (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มเติมประวัติพระธาตุขามแก่น
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:kamkamja.jpg|thumb|300px|พระธาตุขามแก่น]]
'''พระธาตุขามแก่น''' ตั้งอยู่ที่[[วัดเจติยภูมิ]] [[บ้านขาม]] หมู่ที่ 1 [[ตำบลบ้านขาม]] [[อำเภอน้ำพอง]] [[จังหวัดขอนแก่น]] เป็น[[ปูชนียสถาน]]ของจังหวัดขอนแก่น [[บ้านขาม]]เคยเป็นเมืองมาตั้งแต่[[สมัยโบราณ]] เป็นเวลาประมาณ 2000 ปี [[ตั้งแต่ พ.ศ 500]] ต่อมาเจ้า[[เมืองสุวรรณภูมิ]] ชื่อ [[เพี้ยเมืองแพน]] (ปัจจุบันคือ [[จังหวัดร้อยเอ็ด]]) ได้มาตั้งเมืองขามแก่นที่ บ้านขาม
[[พุทธศตวรรษที่ 5]] [[พระยาหลังเขียว]] หรือ[[โมริย]] กษัตริย์เจ้า[[เมืองโมรีย์]] (เมืองโมรีย์อยู่ใน[[อาณาเขต]]ของ[[ประเทศกัมพูชา]]) สร้างพระธาตุขามแก่น ตั้งอยู่ใน[[วัดเจติยภูมิ]] [[ตำบลบ้านขาม]]
 
== ประวัติและตำนานพระธาตุขามแก่น ==
 
พระธาตูขามแก่น เดิมเรียกพระธาตุบ้านขาม ไม่มีประวัติหรือจารึกระบุการสร้าง ต่อมาพระราชสารธรรมมุนี (กัณหา ปภสฺสโร) เจ้าคณะจังหวัดขอนแก่นได้มีโอกาสไปนมัสการ[[พระปฐมเจดีย์]] จึงดำริว่าจังหวัดขอนแก่นควรมีสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ประจำจังหวัดบ้าง จึงได้สืบเสาะจนพบพระธาตุบ้านขาม ที่บ้านขามธาตุใหญ่ และได้สืบเสาะประวัติความเป็นมาก็ไม่พบ จึงให้ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าประวัติแล้วเรียบเรียงใหม่ มีหลายสำนวน ตำนานพระธาตุขามแก่นปัจจุบันเป็นสำนวนของนายสมควร พละกล้า เรียบเรียง เพราะคณะกรรมการตรวจสอบแล้วเห็นว่ามีความน่าเชื่อถือ พ.ศ. 2498 - 2499 พระราชสารธรรมมุนี (กัณหา ปภสฺสโร) ได้ทำการบูรณะพระธาตุบ้านขาม เปลี่ยนยอดเดิมที่เป็นไม้เป็นฉัตรโลหะ และเปลี่ยนชื่อจากพระธาตุบ้านขามเป็นพระธาตุขามแก่น และวัดบ้านขามเป็นวัดเจติยภูมิ<ref>https://www.facebook.com/groups/205491703372233?view=permalink&id=216268608961209</ref> และมีการรณรงค์ให้ชื่อเมืองขอนแก่นเพี้ยนมาจากเมืองขามแก่น ซึ่งจากการศึกษาเอกสารต่างๆ ของประมวล พิมพ์เสน ไม่เคยมีคำว่าเมืองขามแก่น มีเพียงชื่อเมืองขอรแก่น, ขรแก่น, ขรแกน, และขอนแก่น ดังนั้นชื่อเมืองขอนแก่นน่าจะเชื่อได้ว่าแต่แรกเริ่มชื่อเมืองขอนแก่นอยู่แล้ว ไม่ได้เพี้ยนมาจากขามแก่นแต่อย่างใด<ref>https://www.facebook.com/story.php?story_fbid=448596862264409&id=425747804549315</ref>
 
พระธาตูขามแก่น มีหลายตำนานเล่าขานกันหลาย ดังนี้
 
'''ตำนานที่หนี่ง'''
 
นับแต่การเสด็จ[[ดับขันธ์]][[ปรินิพพาน]]ขององค์[[สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า]] ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 เมื่อถวาย[[พระเพลิง]]เสร็จ แล้ว [[พระบรมสารีริกธาตุ]]ได้ถูกนำไปประดิษฐานไว้ในที่ต่าง ๆ คือ พระสารีริกธาตุกระโยงหัว (กะโหลกศีรษะ) ฆะฏิการพรหมนำไปไว้บนเทวโลก, พระธาตุเขี้ยวหมากแง (พระเขี้ยวแก้ว) พระอินทร์นำไปไว้บน[[สวรรค์]]ชั้น[[ดาวดึงษ์ดาวดึงส์]],[[ พระธาตุกระดูกด้ามมีด]] ([[พระรากขวัญ]] ) [[พระยาพญานาค]]นำไปไว้[[เมืองบาดาล]]
 
ครั้งต่อมาโมริยกษัตริย์เจ้า[[ริยกษัตริย์เจ้านครโมรีย์]] (อยู่ในประเทศกัมพูชาปัจจุบัน) ทราบข่าวภายหลังเพราะอยู่ห่างไกลและเดินทางช้า จึงได้แต่[[พระอังคารธาตุ]] (ฝุ่น) แล้วนำไปไว้ที่นครของตน ประมาณพุทธศักราชล่วงมาได้ 3 ปี [[พระมหากัสสปะ]]เถระเจ้า พร้อมด้วย[[พระอรหันต์]] 500 องค์ นำเอา[[พระอุรังคธาตุ]] (กระดูกส่วนอก) ไปประดิษฐานไว้[[ภูกำพร้า]] ([[พระธาตุพนม]]ในปัจจุบัน) [[พระยาหลังเขียว]] [[โมริยกษัตริย์]] และ[[พระอรหันต์ยอดแก้ว]], [[พระอรหันต์รังษี]] , [[พระอรหันต์คันที]] และไม่ปรากฏชื่ออีก 6 องค์ จึงเดินทางพร้อมอัญเชิญเอา[[พระอังคารธาตุ]]เพื่อไปบรรจุไว้ใน[[พระธาตุพนม]]ด้วย ระหว่างทางได้มาถึงพื้นที่แห่งหนึ่ง (ที่ตั้งของพระธาตุขามแก่นในปัจจุบัน) มีพื้นที่[[พื้นที่ดอน]] ราบเรียบ มี[[ห้วย]]สามแยก น้ำไหลผ่านรอบดอน และมีต้น[[ต้นมะขาม]]ใหญ่ที่ตายแล้วเหลือแต่แก่นอยู่ต้นหนึ่ง
 
ขณะนั้นเป็นเวลาพลบค่ำพอดี ประกอบกับพื้นที่มีความเหมาะสมจึงได้พักแรมที่นี่ และนำเอาพระอังคารธาตุไปวางพักไว้บนแก่นของต้นมะขามที่ตายแล้วดังกล่าว พอรุ่งเช้าทั้งคณะก็เดินทางมุ่งหน้าสู่สถานที่ก่อสร้างพระธาตุพนมต่อไป
 
พอไปถึงปรากฏว่า[[พระธาตุพนม]]ได้สร้างเสร็จแล้ว ไม่สามารถนำพระอังคารธาตุบรรจุลงไปได้อีก จึงจำต้องนำเอาพระอังคารธาตุนั้นกลับตามเส้นทางเดิม โดยตั้งใจว่าจะนำกลับไปไว้ที่นครของตนตามเดิม เมื่อมาถึงดอนมะขามซึ่งเคยเป็นที่พักแรม ครั้งก่อน ได้เห็นต้นมะขามใหญ่ที่ล้มตายเหลือแต่แก่นนั้นกลับผลิตดอก ออกผล แตก[[กิ่งก้าน]]สาขามีใบเขียวชะอุ่มแลดูงามตายิ่งนัก จะเป็นด้วย[[เทพเจ้า]]แสร้งนิมิต หรือด้วยอำนาจ[[อภินิหาร]]ของพระอังคารธาตุก็มิอาจรู้ได้ เห็นเป็นอัศจรรย์เช่นนั้นจึง พร้อมกันก่อสร้างพระธาตุครอบต้นมะขาม และบรรจุพระอังคารธาตุของพระเจ้าไว้ภายในด้วย โดยมีรูปลักษณะดังที่เราเห็น อยู่ในปัจจุบันนี้ จึง เรียกชื่อพระธาตุนี้ว่า "พระธาตุขามแก่น"
 
หลังจาจากการก่อสร้างพระธาตุเสร็จแล้ว [[พระยาหลังเขียว]]พร้อมด้วยบริวารได้สร้างบ้านแปลงเมืองอยู่ตรงนี้ และได้สร้างวัดให้เป็นที่พำนักของพระอรหันต์ทั้ง 9 องค์ ซึ่งมีวิหาร และพัทธสีมาเคียงคู่กับองค์พระธาตุสืบมา ครั้นกาลล้วงมาพระอรหันต์ทั้ง 9 องค์ก็ได้ดับขันธ์ปรินิพพาน ชาวเมืองนำเอา[[อัฐิธาตุ]]ของท่านบรรจุไว้ในพระธาตุองค์เล็ก ซึ่งอยู่ด้าน[[ทิศตะวันออก]]ของ [[อุโบสถ]]ในเวลานี้ ต่อมาประชาชนจึงเรียกพระธาตุองค์ใหญ่ว่า [['''ครูบาทั้งเก้าเจ้ามหาธาตุ]]''' ส่วนพระธาตุองค์เล็กเรียกว่า [['''ครูบาทั้งแปด]] '''
'''ตำนานที่สอง'''
บรรทัด 25:
'''ตำนานที่สาม'''
 
แต่เดิม ณ ที่นี้เป็นที่รกร้างว่างเปล่า ต่อมาเมื่อเริ่มมีชาวบ้านเข้ามาหักล้างถางพง จับจองที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยนั้น ชาวบ้านพบว่ามีตอมะขามที่ตายแล้วเหลือแต่แก่นอยู่ต้นหนึ่ง แต่ต่อมาปรากฏว่าแก่นมะขามนั้นกลับมีการแตกใบ ผลิดอก ดูแปลกประหลาด และพบว่าหากมีใครที่ไปทำการอะไรที่เป็นการดูหมิ่นหรือลบหลู่ตอมะขามนั้น คนผู้นั้นก็จะมีอันเป็นไป ชาวบ้านจึงเกิดความเคารพบูชา และร่วมกันสร้างเจดีย์ครอบตอมะขามนั้นไว้ พร้อมกับบรรจุ[[พระธรรม]]คำสอนของ[[พระพุทธเจ้า]] 9 ประการ ไว้ในนั้นด้วย จึงเรียกเจดีย์ที่สร้างนั้นว่า [[พระเจ้าเก้าพระองค์]] หรือ [[เจดีย์บ้านขาม]] ต่อมาจึงเป็นพระธาตุขามแก่น
 
== ลักษณะสถาปัตยกรรม ==
 
พระธาตุขามแก่น มีฐานกว้างผายออกเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส เป็นฐานบัวคว่ำ 2 ชั้น ต่อด้วยเรือนธาตุซึ่งมีลักษณะเป็นบัวเหลี่ยมซ้อนกัน 2 ชั้น ปลียอดทำเป็น 3 ชั้น แต่ละชั้นเรียวไปสู่ยอด ระหว่างชั้นของยอดกรวยต่อเชื่อมด้วยบัวรัดเกล้า ส่วนยอดพระธาตุมีฉัตรโลหะ 5 ชั้น ความสูงจากพื้นดินถึงยอดฉัตรประมาณ 25 เมตร พระธาตุมีกำแพงแก้ว สูงประมาณ 1.20 เมตร ล้อมรอบ ฐานกว้างด้านละ 11 เมตร กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ 24-25 สมัยวัฒนธรรมล้านช้าง <ref>https://www.facebook.com/pg/prfinearts/photos/?tab=album&album_id=3114513658616057&__xts__%5B0%5D=68.ARDdfUMjUwNlxR76NiYkpt8WYl9pXyiYiuJU3Wltid6bd_3RWfZL2ru3h-RbD13zh9IwOu91D-oxo1zj6xghKozOBpU7-jOkYiglso2Gi3uP4KCRJXTE2ws8uUwCrvnAKL7cvRemJb-cAJTmkjYClce4LIVQupYkhShQayI9uqItYVphMIu9iLiNOphYXEerP6-H72A7NcYfCqOfWe6UB-XjWmo87WGLb-LtObIox2h6jccwTtGKu5ReBxjgUON7DwbIjl5ByzoZQsDOm2-KWnT6raJb7pcc0PKgYB45bZPr8oFF8xl7mWdZfxu6tSTuXBY9i3F9FxpAlR4NDCrw0Hr4HWqin4U-5w00Im2Q4EW9Mjpz4b_3MV3yHlcKPgUSBCpt2fIBvrpUkhoJQi60QRqRqcb62Fjoqt2A09LjgJYn7W1CcbL107vnfh-6jniLD9dalZT4GMKuuQulr7Cb&__tn__=-UC-R</ref>
 
== ประเพณี ==