ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ณรงค์ กิตติขจร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Xiengyod~commonswiki (คุย | ส่วนร่วม)
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 20:
}}
 
'''พันเอก ณรงค์ กิตติขจร''' ([[21 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2476]] —) เป็นอดีตนักการเมือง และเป็นบุตรชายของอดีต[[นายกรัฐมนตรีไทย]]คนที่ 10 [[จอมพลถนอม กิตติขจร]] อีกทั้งยังเป็นบุตรเขยของ [[ประภาส จารุเสถียร|จอมพลประภาส จารุเสถียร]] เป็นหนึ่งใน 3 บุคคลของฝ่ายรัฐบาลที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุด ใน[[เหตุการณ์ 14 ตุลา]] ปี 2516 ที่มีผู้เสียชีวิตถึง 77 ราย ส่งผลให้ พ.อ.ณรงค์ กิตติขจร, จอมพล ถนอม กิตติขจร และ จอมพลประภาส ต้องออกจากประเทศ ภายหลังเหตุการณ์สงบลง พ.อ.ณรงค์ กิตติขจร ก็ได้เดินทางกลับประเทศไทย และได้ลงเล่นการเมือง โดยก่อตั้งพรรคขึ้นมาใหม่ ชื่อว่า "เข้าร่วมงานกับ[[พรรคเสรีนิยม]]" โดย พ.อ.ณรงค์ กิตติขจร และเขาได้รับเลือกเป็น ส.ส. ด้วยกัน 2 สมัย นอกจากนี้แล้ว พ.อ.ณรงค์ กิตติขจร ยังถูกสงสัยว่าอยู่เบื้องหลังการบงการสั่งฆาตกรรมนักธุรกิจและศรัตรูทางการเมืองอีกมากมาย โดยอาศัยอำนาจที่มีอยู่ในสมัยที่รุ่งเรือง ปิดคดีความต่างๆ และไม่ถูกหยิบยกขึ้นมากล่าวถึงอีกเลย
 
== ชีวิตส่วนตัว ==
บรรทัด 42:
== การเมือง ==
 
หลังสถานการณ์ทางการเมืองสงบลง พ.อ.ณรงค์ ได้เดินทางกลับมายังประเทศไทย และลงสมัคร [[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา|ส.ส. จังหวัดพระนครศรีอยุธยา]] สังกัดพรรคชาติไทย ในปี พ.ศ. 2526 และก่อตั้งเข้าร่วมกับพรรคการเมืองขึ้นมาในปี พ.ศ. 2524 ชื่อพรรค "[[พรรคเสรีนิยม|เสรีนิยม]]" ซึ่งมี [[ปรีดา พัฒนถาบุตร]] เป็นหัวหน้าพรรค และต่อมาได้เปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารโดย พ.อ.ณรงค์ เข้ารับตำแหน่งหัวหน้าพรรคแทน เขาได้ลงสมัคร ส.ส. ในจังหวัดเดิม ได้รับเลือกตั้งมาอีก 2 สมัย ในปี พ.ศ. 2529 และ พ.ศ. 2531 และ ยังได้รับแต่งตั้งเป็น สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ปี 2534
 
ในเดือน[[ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2546]] นาย[[เทพมนตรี ลิมปพยอม]] นักวิชาการอิสระด้านประวัติศาสตร์ ได้เปิดตัวหนังสือมา 2 เล่ม ชื่อ ''"ลอกคราบ 14 ตุลา ดักแด้ประวัติศาสตร์การเมืองไทย"'' และ ''"พันเอกณรงค์ กิตติขจร 30 ปี 14 ตุลา ข้อกล่าวหาที่ไม่สิ้นสุด"'' โดยมีเนื้อหาอ้างอิงจากเอกสารราชการลับในเหตุการณ์ 14 ตุลา ซึ่งมีเนื้อหาว่าทั้ง พ.อ.ณรงค์ และจอมพลถนอม มิได้เป็นผู้สั่งการในเหตุการณ์ 14 ตุลา<ref>ประวัติศาสตร์การศึกษา วันมหาวิปโยค 14 ตุลา 16 - 6 ตุลา 19 โดย แปลก เข็มพิลา ISBN 974-7753-87-1</ref> <ref>[http://www.manager.co.th/politics/ViewNews.aspx?NewsID=4658121163248 ''ณรงค์''โยน''พล.อ.กฤษณ์'' ต้นเหตุความรุนแรง14ต.ค.]</ref>