ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สื่อส่งผ่านสัญญาณต่อเนื่อง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JMKTIN (คุย | ส่วนร่วม)
JMKTIN ย้ายหน้า สื่อแบบส่งต่อเนื่อง ไปยัง สื่อส่งผ่านสัญญาณต่อเนื่อง: ศัพท์นิเทศศาสตร์ ราชบัณฑิตยสภา
JMKTIN (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Sample Webcast Screenshot.png|right|300px|thumb|[[เว็บแคสต์|การแพร่ภาพกระจายเสียงทางเว็บ]]กำลังส่งข้อมูลต่อเนื่องผ่านตัวเล่นสื่อแบบหนึ่ง]]
'''สื่อแบบส่งผ่านสัญญาณต่อเนื่อง''' ({{lang-en|streaming media}}) เป็น[[สื่อประสม]]ที่[[ผู้ใช้ขั้นปลาย (วิทยาการคอมพิวเตอร์)|ผู้ใช้ขั้นปลาย]]ได้รับตามลำดับอย่างต่อเนื่องในขณะที่ผู้ให้บริการกำลังส่งมอบเนื้อหาทั้งหมดไปให้ ตัวเล่นสื่อลูกข่ายอาจเริ่มเล่นข้อมูล (เช่น ภาพยนตร์) ก่อนที่ไฟล์เนื้อหาจะถูกส่งมาทั้งหมดก็ได้ การรับ-ส่งสื่อแบบต่อเนื่องเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการรับชมนอกเหนือจาก[[ดาวน์โหลด|การดาวน์โหลด]]สู่อุปกรณ์ส่วนบุคคล
 
คำกริยา {{lang|en|''stream''}} ในภาษาอังกฤษหมายถึงกระบวนการส่งมอบเนื้อหาในลักษณะดังกล่าว ศัพท์นี้จึงสื่อถึงวิธีการส่งสื่อมากกว่าจะสื่อถึงลักษณะของตัวสื่อเอง การจำแนกวิธีส่งสื่อออกจากตัวสื่อที่ถูกส่งนั้นใช้โดยเฉพาะกับ[[เครือข่ายโทรคมนาคม]] เนื่องจากระบบการส่งมอบข้อมูลโดยทั่วไปมีทั้งระบบที่ส่งต่อเนื่องในตัว (เช่น [[วิทยุ]], [[โทรทัศน์]]) และระบบที่ไม่สามารถส่งต่อเนื่องได้ในตัว (เช่น [[หนังสือ]], [[แถบวีดิทัศน์|ตลับวีดิทัศน์]], [[แผ่นซีดี]]เสียง) ตัวอย่างเช่น ในคริสต์ทศวรรษ 1930 [[ดนตรีลิฟต์]] (elevator music) เป็นหนึ่งในบรรดาสื่อแบบส่งต่อเนื่องยุคแรกสุดที่เป็นที่นิยมกัน แต่ทุกวันนี้ [[โทรทัศน์อินเทอร์เน็ต]]ได้กลายเป็นรูปแบบสามัญรูปแบบหนึ่งของสื่อแบบส่งต่อเนื่องไปแล้ว