ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนู"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
NP-chaonay (คุย | ส่วนร่วม)
แก้ภาษา+เก็บกวาด
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 23:
{{โครงส่วน}}
=== รุ่น 3 ===
ภายหลังจากที่สัญญาอนุญาตรุ่น 3 ของจีพีแอลได้มีการเสนอนโยบายออกมา โดยมีข้อจำกัดในการใช้ซอฟต์แวร์มากขึ้นสำหรับบริษัทคอมพิวเตอร์ที่นำไปใช้ และจะมีประกาศใช้ในช่วงต้นปี [[พ.ศ. 2550]] ส่งผลให้มีเหตุการณ์ขัดแย้งระหว่าง [[ลีนุส ทอร์วัลส์]]ผู้คิดค้นระบบ[[ลินุกซ์]] และ [[ริชาร์ด สตอลแมน]]ผู้เริ่มต้นสัญญาอนุญาตจีพีแอล โดยทางลีนุสยังต้องการให้ระบบลินุกซ์ใช้สัญญารุ่นเดิมคือรุ่น 2 ในขณะที่สตอลแมนต้องการผลักดันไปสู่รุ่น 3 ที่จำกัดการใช้งานของโปรแกรมให้มากขึ้น ส่งผลให้ทางบริษัทใหญ่หลายแห่ง รวมถึง [[ไอบีเอ็ม]] [[เอชพี]] [[เรดแฮต]] และบริษัทอื่น ไม่กล้าลงทุนในส่วนของลินุกซ์{{Fact}} เนื่องจากเกรงว่าสตอลแมนจะผลักดันให้ลิขสิทธิ์เปลี่ยนแปลงไปอีกครั้งและมาฟ้องร้องบริษัทในภายหลัง เหมือนที่ผ่านมาได้ทำกับ [[เอ็นวิเดีย]]{{Fact}} (เท่าที่ทราบคนที่ฟ้องเอ็นวิเดีย คือฝั่ง ลินุกซ์ ไม่ใช่ FSF และเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์โดยลอกซอร์สโค้ดไปใช้และไม่เกี่ยวกับ GPL3 แต่เป็นการละเมิด GPL2 ซึ่งลีนุสเองก็เห็นชอบและเลือกไลเซนส์นี้ด้วยตัวเอง จึงไม่แน่ใจว่าความคิดเห็นข้างต้นเข้าใจภาพรวมของสถานการณ์และกฎหมายลิขสิทธิ์ จึงควรอ่านภาคภาษาอังกฤษประกอบหากต้องการเนื้อหาที่ถูกต้อง) และ [[ทีโว]]{{Fact}} (สตอลแมนเรียกการที่ผู้ผลิตสร้างฮาร์ดแวร์ที่ผู้ใช้ไม่สามารถแก้ไขซอฟต์แวร์ว่า [[Tivoization]] FSF จึงออกแบบ GPL3 มามีเนื้อหาต่อต้านแนวคิดดังกล่าวซึ่งลีนุสไม่เห็นด้วยที่จะใช้ GPL3 กับ ลินุกซ์เคอร์เนล (ซึ่งก็ไม่ได้ถูกบังคับให้ใช้เพราะบังคับไม่ได้อยู่แล้วตามกฎหมาย)) อย่างไรก็ตามซอฟต์แวร์ที่ใช้ GPL2 และ GPL2หรือมากกว่า อยู่จะไม่ได้รับผลกระทบนี้ และสัญญานี้จะส่งผลกระทบเมื่อผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ใช้สัญญารุ่น GPL3 ล้วนๆเท่านั้น (ทีโวจึงไม่ได้ทำผิดลิขสิทธิ์และไม่ได้ถูกฟ้อง) โดยทั่วไปแล้วแนวคิดอุดมคติของสตอลแมนที่ต้องการรักษาเสรีภาพของซอฟต์แวร์จากมุมมองของผู้ใช้ (แนวคิดแบบซอฟต์แวร์เสรี) โดยเน้นเพิ่มข้อจำกัดเกี่ยวกับ[[สิทธิบัตรซอฟต์แวร์]] ขัดแย้งกับความคิดของลีนุสที่อยากให้สิทธิ์กับผู้พัฒนาซอฟต์แวร์มากขึ้น (แนวคิดแบบโอเพ่นซอร์ส) นอกจากนี้ความพยายามของ GPL3 คือพยายามเข้าถึงแนวคิดของซอฟต์แวร์แบบเซอร์วิซ ได้แก่เว็บซอฟต์แวร์ที่ผู้ให้บริการไม่จำเป็นต้องให้ซอร์สโค้ดกับผู้ใช้บริการ
 
== ความแตกต่างระหว่างสัญญาอนุญาต GPL และ BSD ==