ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระยม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 27:
 
=== ลักษณะของพระยม ===
ลักษณะของพระยม ในคติไทย ในคติฮินดู เป็นเทพบุรุษมีกายสีแดง บ้างก็ว่าสีดำ รูปร่างใหญ่โต กำยำล่ำสัน นัยน์ตาสีแดงที่เป็นภัย หากจ้องมองสิ่งใดด้วยความโกรธ สิ่งนั้นจะวินาศ มีขาพิการ มี ๔ กร ทรงบ่วงยมบาศ กระบองยมทัณฑ์ ตรีศูล ขอช้าง ฯลฯ สวมมงกุฎทองคำ มีรัศมีสีแดง สวมอาภรณ์สีแดงและสีดำ ทรงเครื่องประดับด้วยทองคำและทองแดง ประทับนั่งบนดอกบัว ทรงกระบือเป็นพาหนะ พระยม ยังมีนามอื่นๆอีก อาทิ เช่น พระธรรมราช,พระกาล,พระมัจจุราช,พระมฤตยูราช,พระเปรตราช,พระภยังกร,พระมหิเษส,พระทัณฑธร,พระนรกธีศะ,พระปิตฤปติ,พระอันตกะ,พระภัยโลจนะ ฯลฯ ในคติฮินดู พระยมมีวิมาน ชื่อ กาลีจิ สร้างจากทองแดงและเหล็ก ประทับบัลลังก์ ชื่อ วิจานภู จะมีพระ[[จิตรคุปต์]]เป็นผู้ตรวจดูบัญชี นอกจากนี้พระยมยังมีบริวารอื่นๆอีก อาทิ เช่น พระกาฬ เทพผู้ส่งสารแห่งความตาย ยมทูตองครักษ์ 2 ตน ชื่อ มหาจัณฑะ และ กาลปุรสุษะ และยังมีสุนัข 2 ตัว ชื่อ สามะ เป็นสุนัขดำ และสวละ เป็นสุนัขด่าง แต่ละตัวมี 4 ตา มีรูจมูกกว้าง ทำหน้าที่เฝ้าประตูยมโลก และเหล่ายมทูตและยมบาล อีกทั้งเหล่ากา นกฮูก นกแสก ล้วนเป็นบริวารของพระยม
 
พระยมเมื่อเทียบกับความเชื่อทางตะวันตกแล้ว เทียบได้กับ[[เฮดีส]]ตามเทพปกรณัมกรีก และออร์กัสตามเทพปกรณัมโรมัน
บรรทัด 34:
[[ศาสนาพุทธ]]ฝ่าย[[เถรวาท]] ถือว่าพระยมมีชาติกำเนิดเป็นเทวดาในชั้น[[จาตุมหาราชิกา]]<ref name="ปรมัตถโชติกะ มหาอภิธัมมัตถสังคหฎีกา ปริจเฉทที่ 5 เล่ม 1 วีถิมุตตสังคหะ ภูมิจตุกกะและปฏิสนธิจตุกกะ">พระสัทธัมมโชติกะ, ''ปรมัตถโชติกะ มหาอภิธัมมัตถสังคหฎีกา ปริจเฉทที่ 5 เล่ม 1 วีถิมุตตสังคหะ ภูมิจตุกกะและปฏิสนธิจตุกกะ'', พิมพ์ครั้งที่ 6, กรุงเทพฯ : มูลนิธิสัทธัมมโชติกะ, 2546, หน้า 8-11, 107</ref> และเป็นเจ้าแห่งเวมานิกเปรต คัมภีร์[[ปปัญจสูทนี]]ระบุว่าในมหานรกแต่ละขุมมีพระยมประจำอยู่ทั้ง 4 ประตู<ref>[http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=504 อรรถกถาเทวทูตสูตร], อรรถกถา มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ สุญญตวรรค</ref> มหานรกมี 8 ขุม จึงมีพระยมทั้งสิ้น 32 องค์<ref name="ปรมัตถโชติกะ มหาอภิธัมมัตถสังคหฎีกา ปริจเฉทที่ 5 เล่ม 1 วีถิมุตตสังคหะ ภูมิจตุกกะและปฏิสนธิจตุกกะ"/>
 
ในเทวทูตสูตร พระพุทธเจ้าตรัสว่าพระยมมีหน้าที่ซักถามสัตว์นรกเกี่ยวกับเทวทูต 5 ได้แก่ ทารกแรกเกิด คนแก่ คนป่วย นักโทษ และคนตาย เพื่อให้สัตว์นรกนั้นได้ระลึกถึงกุศลกรรมที่ตนเคยทำมา หากสัตว์นรกจำได้ก็จะพ้นจากนรก หากจำไม่ได้ยมบาลก็จะนำตัวสัตว์นรกนั้นไปลงโทษตามบาปกรรมที่ได้ทำมา<ref>[http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=14&A=6750&Z=7030 เทวทูตสูตร], พระไตรปิฎก เล่มที่ 14 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 6 มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์</ref>
 
บางตำนานเล่าว่า อดีตชาติ พระยมเกิดเป็นผู้นำหมู่บ้านผู้ทรงปัญญา ตัดสินคดีความอย่างเป็นธรรม ครั้งหนึ่งบิดาของท่านกระทำผิดกฎหมาย ท่านจึงต้องตัดสินประหารบิดาตนเอง หลังจากนั้นท่านเสียใจและออกบำเพ็ญตบะในป่า เมื่อตายแล้วได้ไปเกิดเป็นกุมภัณฑเทวดาในสวรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา ในเมืองทางทิศใต้ ท้าววิรุฬหกได้แต่งตั้งให้เป็นพญายมราช ทำหน้าที่ตัดสินคนตาย
 
พระยม มิใช่เทพ แต่เป็นตำแหน่ง อันได้แก่ พระยมในมหานรก รวม 32 พระองค์ พระยมในยมโลกียนรก รวม 320 พระองค์ และพระยมองค์ประธานในยมโลกอีก 1 พระองค์ รวมทั้งสิ้น 353 พระองค์
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/พระยม"