ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไทม์ลาย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
LuporumĀter (คุย | ส่วนร่วม)
สร้างหน้าใหม่สำหรับบทความ ไทม์ไล
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:35, 14 มิถุนายน 2563

ไทม์ไล (ภาษาอังกฤษ: Timelie) เป็นเกมแนวแก้ไขปริศนา จากค่ายเกมสัญชาติไทย Urnique Studio[2]โดยเกมจะให้เรารับบทเป็นหญิงสาวที่ตื่นขึ้นมาในห้องทดลองลึกลับแห่งหนึ่ง แล้วต้องการหนีเอาตัวรอดจากสถานที่แห่งนี้ ซึ่งเต็มไปด้วยหุ่นยนต์เฝ้ายาม โดยระหว่างทางเธอจะได้รับพลัง ซึ่งทำให้เธอสามารถควบคุมกาลเวลาภายในโลกของเกมได้ นอกจากนี้ ตัวเกมยังให้เราควบคุมตัวละครแมว ซึ่งคอยให้ช่วยหญิงสาวแก้ไขปริศนาและหลบหนีจากหุ่นยนต์เฝ้ายามอีกด้วยอีกด้วย โดยเกมใช้ระบบการควบคุมเวลาเป็นหัวใจหลักในการแก้ไขปริศนาและหลบหนีจากศัตรู

ไทม์ไล (Timelie)
ผู้พัฒนาUrnique Studio
ผู้จัดจำหน่ายUrnique Studio, Milk Bottle Studio
กำกับปริเมธ วงศ์สัตยนนท์
แต่งเพลงพงศธร โปสายานนท์, Angel Ignace, คุณอั๋น เจษฎา
เครื่องเล่นMicrosoft Windows
วางจำหน่าย21 พฤษภาคม 2563[1]
แนวแก้ไขปริศนา, ซ่อนเร้น
รูปแบบผู้เล่นเดี่ยว

เกมเพลย์

ตัวเกมจะให้เราควบคุมหญิงสาวและแมวในการแก้ไขปริศนาต่างๆภายในเกม โดยหัวใจหลักของเกมนี้คือระบบควบคุมเวลา ที่เป็นแถบเส้นเวลา[3] (timeline) มีลักษณะเหมือนแถบคุมคุมเครื่องเล่นมัลติมีเดีย ทำให้สามารถเลื่อนไปดูเหตุการณ์ในอนาคต เพื่อดูทิศทางการเคลื่อนที่ของศัตรู หรือดูผลการกระทำของตัวละครของเรา หรือย้อนเวลาไปยังจุดเริ่มต้นเมื่อเห็นเวลาการระทำของเรานั้นไม่ถูกต้อง หรือถูกศัตรูโจมตี สำหรับเกมนี้ จะไม่มีฉากเกมโอเวอร์ (game over) เหมือนเกมทั่วไป แต่ตัวเกมจะหยุดเวลาอยู่ ณ จุดนั้น ทำให้เราจำเป็นต้องเลื่อนแถบเวลาเพื่อย้อนกลับไปยังจุดตั้งต้นที่เหมาะสมในเวลาก่อนหน้านั้น

การควบคุมตัวละครนั้น ใช้การคลิกหรือลากเมาส์ไปบนพื้นที่มีการแบ่งเป็นตารางไว้ เพื่อให้ตัวละครเคลื่อนที่ โดยเราจะต้องเลือกควบคุมตัวละครทั้งสองตัว เพื่อให้แก้ไขปริศนาภายในเกมและออกจากแผนที่ภายในเกมได้ครบทั้งสองตัว นอกจากการควบคุมเวลาโดยใช้แถบเวลาแล้ว เราจะต้องทำการเก็บพลังเฉพาะ เพื่อที่จะทำการซ่อมทางเดินให้เราสามารถผ่านบริเวณนั้นไปได้ สำหรับในส่วนของตัวละครแมว เราสามารถควบคุมให้ช่วยกดปุ่มบางอย่างที่อยู่บนพื้น และช่วยหลอกล่อศัตรูให้พ้นไปจากเส้นทางของเราได้[4] นอกจากนี้ แมวยังสามารถเดินลอดช่องระบายอากาศแคบๆภายในเกม ซึ่งตัวละครหญิงสาวไม่สามารถทำได้อีกด้วย โดยเราจะต้องหลบสายตาจากศัตรูภายในเกม ระวังไม่ให้ศัตรูเห็น หรือทำการขังศัตรูไว้ในห้องๆหนึ่ง สำหรับศัตรูนั้น จะมีระยะการมองเห็น ทำให้เราสามารถกะระยะในการเดินตามหรือหามุมที่หลบสายตาของศัตรูเพื่อไม่ให้ถูกเห็นได้ นอกจากนี้ในบางฉากจะมีการทำลายฉากไปเรื่อยๆระหว่างที่เวลากำลังเดินอยู่ ทำให้ผู้เล่นจำเป็นต้องหาวิธีผ่านพื้นที่นั้นๆไปให้เราที่สุดก่อนที่ฉากจะทำลายถึงตัวผู้เล่น

นอกจากการแก้ปริศนาเพื่อหลบหนีออกจากพื้นที่แล้ว ตัวเกมเองยังมีการเก็บรีลิก[5] ซึ่งต้องทำตามเงื่อนไขบางอย่างของเกม ซึ่งไม่มีการบอกไว้ มีเพียงแต่ไฟบอกสถานะรีลิก ซึ่งจะสว่างเมื่อเรายังอยู่ในเงื่อนไขของการเก็บ และดับลงเมื่อการกระทำของเราไม่อยู่ในเงื่อนไขของการเก็บรีลิก แต่รีลิกนั้น เป็นเพียงแค่ทางเลือก ซึ่งไม่ส่งผลกับเนื้อหาและการจบฉาก และเราสามารถย้อนกลับไปเก็บรีลิกอีกครั้งได้

ดนตรีประกอบ

ดนตรีบรรเลง (soundtrack) ได้รับการประพันธ์โดย พงศธร โปสายานนท์ [6] เป็นนักประพันธ์เพลงชาวไทย ผู้ทำเพลงประกอบภาพยนตร์และสื่อ สำหรับในด้านเสียงเอฟเฟคนั้น ประพันธ์โดย Angel Ignace ซาวน์ดีไซเนอร์และอาจารย์สอนทำซาวด์ดีไซน์ชาวฝรั่งเศส และเพลงโปรโมตเกมที่มีชื่อว่า ไม่มีนิรันดร์สุดท้าย (ภาษาอังกฤษ: No Last Eternity) ได้รับการแต่งโดย อั๋น เจษฎา และขับร้องโดย นัทบัว ณัฐฐาพร [7]

การพัฒนา

จุดเริ่มต้นในการสร้าง เริ่มต้นมาจากการทำโปรเจคจบของนักศึกษา 5 คน จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แล้วนำไปแข่งขันใน Microsoft’s 2016 Imagine Cup (ปี 2559) จนได้รับรางวัลชนะเลิศ จึงเป็นการเริ่มต้นการสร้างเกม ซึ่งใช้เวลาประมาณ 3 ปีในการสร้าง และพัฒนาจนสำเร็จและจัดจำหน่ายในวันที่ 21 พฤษภาคม 2563[8]

การวิจารณ์

การตอบรับ
คะแนนรวม
ผู้รวมคะแนน
เมทาคริติก(PC) 79/100 [9]
คะแนนปฏิทรรศน์
สิ่งพิมพ์เผยแพร่คะแนน
พีซี เกมเมอร์ ยูเอส73/100 [10]

เกมได้รับความสนใจในหมู่นักเล่นเกมชาวไทยเป็นอย่างมาก และได้รับผลตอบรับในแง่บวกเป็นอย่างมากเช่นกัน เช่นเดียวกับสำนักรีวิวหลายๆเจ้า ที่ให้คะแนนในแง่บวกเป็นส่วนมาก

รางวัล

ตัวเกมได้รับรางวัลชนะเลิศในการแข่งขัน Microsoft’s 2016 Imagine Cup (ปี 2559) ตั้งแต่ก่อนที่เกมจะทำการวางจำหน่ายในปี 2563[11]

หมายเหตุ

เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ

อ้างอิง

  1. "ประกาศวันวางจำหน่ายเกม Timelie หนึ่งในเกมฝีมือคนไทยที่คว้ารางวัลมาอย่างท่วมท้น". 4gamers. สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "เว็บไซต์ Timelie อย่างเป็นทางการ". Urnique Studio. สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. Lazefatboy. "รีวิว Timelie เกมคุณภาพจากฝีมือคนไทย". GAMEFEVER. สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. Adrian Lai. "Timelie - Review". IGN Southeast Asia. สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. astider. "Review Timelie เกมพัซเซิลรสชาติใหม่ ควบคุมเวลาเพื่อฝ่าอุปสรรค". droidsans. สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. Parimeth Wongsatayanon. "Dev Blog #3 — The Sound of Time(lie) เสียงของเวลา". Medium. สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. Pongsathorn Posayanonth. "Review 7 ความท้าทายเบื้องหลังการทำดนตรีประกอบเกม "Timelie"". Pongsathorn Posayanonth. สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. Jokeboy. "สัมภาษณ์ผู้พัฒนา Timelie เกมอินดี้ไทยที่น่าจับตาที่สุดของปี". GamingDose. สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. "Timelie". Metacriticaccessdate. สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. "Timelie review". PCGAMER. สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. "ไมโครซอฟท์เผยโฉมแชมป์การแข่งขัน Imagine Cup Thailand 2016". Microsoft. สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)