ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นาฬิกาหนี้ประชาชาติ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
P.Liam (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: {{ลิงก์ไปภาษาอื่น}} {{coord|40.7555|-73.9848|type:landmark_region:US-NY|display=title}} ไฟล์:6 Av 44 St Feb 2017 crop.jpg|thumb|...
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:37, 14 มิถุนายน 2563

พิกัดภูมิศาสตร์: 40°45′20″N 73°59′05″W / 40.7555°N 73.9848°W / 40.7555; -73.9848

นาฬิกาหนี้ประชาชาติ (อังกฤษ: National Debt Clock) เป็นป้ายแสดงตัวเลขวิ่งแบบอิเล็กทรอนิกส์ในลักษณะคล้ายป้ายโฆษณา ทำหน้าที่แสดงหนี้ประชาชาติของสหรัฐและส่วนแบ่งหนี้ต่อครอบครัวในสหรัฐโดยปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันติดตั้งอยู่ด้านตะวันตกของสวนวันไบรอันต์ อาคารแบงค์ออฟอเมริกา อยู่ทางทิศตะวันตกของ Sixth Avenue ระหว่างถนนเส้นที่ 42 และ 43 ในแมนฮัตตัน นิวยอร์กซิตี ซึ่งเป็นที่ตั้งแรกของนาฬิกานี้

รูปถ่ายของนาฬิกาหนี้ประชาชาติที่ Sixth Avenue and 44th Street ในเวลานั้นนาฬิการะบุที่ 19.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐบนนาฬิกาหนี้
นาฬิกาในที่ตั้งก่อนหน้า ใกล้กับ Sixth Avenue และถนนสายที่ 42 ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2017 (พ.ศ. 2560) ในเวลานั้นนาฬิการะบุที่ 19.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐบนนาฬิกาหนี้

แนวคิดของนาฬิกานี้เกิดจากเซย์มัวร์ ดัสต์ นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชาวนิวยอร์กที่ต้องการจะเน้นให้เห็นถึงการเพิ่มสูงขึ้นของหนี้ประชาชาติ ในปี ค.ศ. 1989 (พ.ศ. 2532) เขาได้สนับสนุนให้ติดตั้งฬิกานี้ขึ้นครั้งแรกซึ่งตั้งอยู่ที่ Sixth Avenue ระหว่างถนนเส้นที่ 42 และ 43 ห่างจากไทม์สแควร์ไป 1 บล็อก ต่อมาในปี ค.ศ. 2004 (พ.ศ. 2547) ได้นำนาฬิกาเดิมออกและติดตั้งนาฬิกาใหม่ใกล้กับถนนเส้นที่ 44 และ Sixth Avenue จากนั้นในปี ค.ศ. 2008 (พ.ศ. 2551) หนี้ประชาชาติของสหรัฐพุ่งสูงถึง 10 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐเป็นครั้งแรก มีรายงานว่าค่าในนาฬิกาดังกล่าวนั้นอาจจะเกินกว่าค่าที่สามารถแสดงได้ ทำให้มีการเปลี่ยนไฟที่แสดงเครื่องหมายดอลลาร์เป็นหมายเลข 1 แทนในหลักสิบล้านล้าน ในปี ค.ศ. 2017 (พ.ศ. 2560) มีการย้ายนาฬิกาอีกครั้งไปยังที่ตั้งปัจจุบัน

บริบท

เซย์มัวร์ ดัสต์ นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชาวนิวยอร์กผู้ที่คิดและสนับสนุนนาฬิกานี้ ได้ตั้งแนวความคิดของแรงขับเคลื่อนที่ไม่เข้าข้างฝ่ายใดและอธิบายแรงจูงใจเบื้องหลังโครงการของเขาในชื่อ "ความเท่าเทียมระหว่างรุ่นต่อรุ่น" ว่า "พวกเราเป็นธุรกิจภาคครอบครัว พวกเราคิดอย่างรุ่นต่อรุ่น และพวกเราไม่ต้องการที่จะเห็นคนรุ่นต่อไปสะดุดล้มลงด้วยภาระนี้"[1]

ดักลาส บุตรของเซย์มัวร์กล่าวว่าบิดาของเขาได้แสดงให้เห็นความคิดพื้นฐานเพื่อดึงความสนใจถึงการพุ่งสูงของหนี้ประชาชาติตั้งแต่ช่วงปี 1980 เมื่อช่วงวันหยุดบิดาได้ส่งบัตรอวยพรปีใหม่ไปยังสมาชิกวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐมีใจความว่า "สุขสันต์วันปีใหม่ ส่วนหนี้ประชาชาติของคุณอยู่ที่ 35,000 ดอลลาร์สหรัฐ".[2] ในช่วงทศวรรษที่ 1980 เซย์มัวร์มีความพยายามจะพัฒนาความคิดของเขาให้เป็นนาฬิกาที่สามารถปรับปรุงตัวเลขได้ แต่ในขณะนั้นเทคโนโลยียังไม่เอื้ออำนวยให้ทำได้[1] ซึ่งในช่วงนั้น หนี้ประชาชาติกำลังจะพุ่งไปสู่ 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐอย่างรวดเร็ว[3]

นาฬิการุ่นแรก

 
นาฬิกาแรกบนที่ตั้งแรกใกล้กับไทม์สแควร์ในปี ค.ศ. 2002 (พ.ศ. 2545)

นาฬิกาหนี้ประชาชาติรุ่นแรกได้ติดตั้งขึ้นในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1989 (พ.ศ. 2532)[4] โดยขณะนั้นหนี้ประชาชาติอยู่ที่ 2.7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ นาฬิกานี้มีขนาดอยู่ที่ 11 × 26 ฟุต (3.4 × 7.9 เมตร) ใช้งบประมาณในการสร้างราว 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ[5] ส่วนการบำรุงรักษาหลอดไฟแสดงตัวเลขจำนวน 305 ดวง[3] คิดเป็นเดือนละ 500 ดอลลาร์สหรัฐ[5] โดยครั้งแรกติดตั้งบนอาคารดัสต์ (ปัจจุบันถูกทำลายลงแล้ว) ที่ Sixth Avenue ใกล้กับถนนเส้นที่ 42 (ห่างจากไทม์สแควร์ไป 1 บล็อก) ตรงข้ามกับด้านทิศเหนือของถนนเส้นที่ 42 และสวนไบรอันต์[6] สร้างโดย Artkraft Strauss ซึ่งบริษัทผลิตป้ายในนิวยอร์ก ตัวนาฬิกาแสดงตัวเลขในลักษณะเป็นจุดตามหลอดไฟจำลองการแสดงตัวเลขแต่ละตัวความละเอียดขนาด 5×7 จุด กลไกการปรับตัวเลขนั้นตั้งค่าเป็นความเร็วโดยประมาณของการเติบโตของหนี้คล้ายมาตรระยะทางบนรถยนต์ ซึ่งนาฬิารุ่นที่สองใช้กลไกที่ใกล้เคียงกัน และปรับตามตัวเลขล่าสุดที่กระทรวงการคลังสหรัฐรายงานเป็นรายสัปดาห์[5][7][8] เซย์มัวร์กล่าวว่านาฬิกานี้จะ "คงอยู่ตราบจนกว่าหนี้หรือเมืองนี้จะสูญสิ้น" และ "ถ้ามันรบกวนผู้ใด แปลว่ามันยังทำงานอยู่""[9]

กระทั่งหนึ่งสัปดาห์ก่อนที่เซย์มัวร์จะเสียชีวิตในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1995 (พ.ศ. 2538) เซย์มัวร์ได้ปรับนาฬิกานี้ผ่านโมเด็มด้วยตนเอง[5] หลังจากที่เขาได้เสียชีวิตลง ดักลาสผู้เป็นบุตรของเซย์มัวร์ได้เข้าเป็นประธานของ Durst Organization ซึ่งถือกรรมสิทธิ์และบำรุงรักษานาฬิกานี้[5][7][10] ส่วน Artkraft Strauss ยังคงรักษากลไกการแสดงตัวเลขนับแต่นั้นมา[5] ในวันที่ 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1995 (พ.ศ. 2538) นาฬิกาได้หยุดวิ่งเป็นครั้งแรกในรอบหกปีนับแต่เริ่มทำงาน จากผลการหยุดของรัฐบาลกลางในขณะนั้น ทำให้นาฬิกาหยุดค้างตัวเลขอยู่ที่ 4,985,567,071,200 ดอลลาร์สหรัฐ[11] ในปี ค.ศ. 1998 (พ.ศ. 2541) นาฬิกาชำรุดในระยะเวลาสั้น ๆ หลังจากที่ตัวเลขพุ่งไปสู่ 5.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐอย่างรวดเร็วมาก โดยสาเหตุมากว่ามีตัวเลขที่เข้าสู่นาฬิกา "ที่สูงเกินไป" ทำให้บริษัทที่ผลิตนาฬิกาดังกล่าวได้ติดตั้งคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ไว้ภายในนาฬิกาดังกล่าว[3]

ในช่วงต้นปี ค.ศ. 2000 (พ.ศ. 2543) นาฬิกาเริ่มเดินถอยหลังเนื่องจากหนี้ประชาชาติมีการลดถอยลงโดยแท้จริง[6][10] ขณะนั้นแสดงตัวเลขหนี้ประชาชาติอยู่ที่ 5.7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ และส่วนแบ่งหนี้ของแต่ละครอบครัวอยู่ที่ 74,000 ดอลลาร์สหรัฐ เดิมวัตถุประสงค์ของนาฬิกานี้ คือ เพื่อเน้นย้ำให้เห็นถึงการเพิ่มสูงขึ้นของหนี้ เมื่อเกิดเหตุการณ์ในลักษณะตรงข้ามกันทำให้เกิดปัจจัยหลายประการ ประกอบกับนาฬิกาไม่ได้ออกแบบให้สามารถเดินถอยหลังได้อย่างราบลื่น[1] ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2000 (พ.ศ. 2543) มีรายงานว่านาฬิกาดังกล่าวจะยุติการทำงานลงในวันที่ 7 กันยายน อันเป็นวันครบรอบวันเกิดปีที่ 87 ของเซย์มัวร์ ดักลาสกล่าวว่าการตัดสินใจครั้งนี้เกิดขึ้นเพราะ "มันได้สร้างความสนใจการในเพิ่มสูงของหนี้ประชาชาติ และมันได้ทำหน้าที่นี้ตามวัตถุประสงค์แล้ว"[12] ในเดือนกันยายน นาฬิกาดังกล่าวถูกยุติการทำงานลงและคลุมด้วยม่านสีแดง-ขาว-น้ำเงิน ด้วยในขณะนั้นตัวเลขของหนี้อยู่ที่ 5.7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ[1] อย่างไรก็ตาม ไม่ถึงสองปีจากนั้น ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2002 (พ.ศ. 2545) ม่านถูกนำออกไปและนาฬิกากลับมาทำงานติดตามการเพิ่มขึ้นของหนี้ประชาชาติอีกครั้ง[13] โดยตัวเลขเริ่มที่ 6.1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ[14]

นาฬิการุ่นที่สอง

 
นาฬิกาหนี้ประชาชาติเมื่อวันที่ 24 กันยายน ค.ศ. 2004 (พ.ศ. 2547)

ในปี ค.ศ. 2004 (พ.ศ. 2547) นาฬิกาเดิมย้ายที่ตั้งไปใกล้กับถนนสายที่ 42 ส่วนอาคารอันที่เป็นตั้งเดิมถูกทำลายและสร้างเป็นสวนวันไบรอันต์ในเวลาต่อมา[15] โดยนาฬิกาใหม่นี้ติดตั้งห่างไปจากอาคารดัสต์ 1 บล็อกที่ 1133 Avenue of Americas ตรงข้ามกับ Sixth Avenue ซึ่งใกล้กับแยกกับถนนเส้นที่ 44 ตะวันตก[1][16] นาฬิกาใหม่นี้ตั้งอยู่ถัดจากสำนักงานบริการสรรพากรภายใน[9][17] นาฬิกาใหม่นี้สร้างขึ้นมาโดยสามารถเดินถอยหลังได้และเปล่งแสงได้สว่างกว่าเดิมโดยใช้หลอดไฟแอลอีดีแสดงเป็นตัวเลขแบบ 7 เส้นเพื่อให้อ่านตัวเลขได้ง่ายขึ้น [1]

ในช่วงวิกฤตการณ์การเงิน พ.ศ. 2550–2551 นาฬิกาหนี้ประชาชาติได้แสดงตัวเลขเกินหลักเมื่อหนี้ประชาชาติของสหรัฐพุ่งสูงขึ้นเกิน 10 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในวันทที่ 30 กันยายน ค.ศ. 2008 (พ.ศ. 2551)[17][18][19] ทำให้หลักซ้ายสุดของนาฬิกาแสดงตัวเลข 1 แทนเครื่องหมายดอลลาร์หลักจากเกิดส่วนล้น[20] ต่อมามีแผนที่จะปรับจำนวนหลักให้เพิ่มขึ้นอีกสองหลักในปี ค.ศ. 2008 (พ.ศ. 2551)[8][21][22] นาฬิกาจะได้สามารถแสดงจำนวนหนี้จนถึงหลักพันล้านล้าน[9]

ในเดืนอกันยายน ค.ศ. 2009 (พ.ศ. 2552) โจนาทาน "โจดี" ดัสต์ หลานของดักลาสซึ่งร่วมกับประธานบริษัทด้วยกัน อยู่ในขั้นตอนการเข้าครองปฏิบัติหน้าที่เป็นประธานวันต่อวัน ในบทสัมภาษณ์ในนิวยอร์กไทมส์ โจนาทานกล่าวว่าการบำรุงรักษานาฬิกาอยู่ในแผน "ในปีที่จะมาถึงนี้"[23]

ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2017 (พ.ศ. 2560) Durst Organization ประกาศว่าจะย้ายนาฬิกาหนี้ประชาชาติอีกครั้งไปที่ทางเข้า 1133 Avenue of the Americas โดยย้ายไปอยู่ด้านทิศตะวันตกของสวนวันไบรอันต์ ตรงข้ามกับซอยใจกลางระหว่าง Sixth Avenue กับบรอดเวย์[24][25]

โครงการที่ใกล้เคียงกัน

 
นาฬิกาหนี้ประชาชาติของเยอรมนีที่สำนักงานใหญ่เบอร์ลินของกลุ่มเฝ้าระวังผู้จ่ายภาษี Bund der Steuerzahler

แนวความคิดที่จะสื่อสารผ่านนาฬิกาที่ปรับปรุงข้อมูลรายคาบนั้น ในก่อนหน้านี้มีการแสดงเป็นนาฬิกาวันสิ้นโลก อย่างไรก็ตาม นวัตกรรมของนาฬิกาหนี้ประชาชาติได้แสดงถึงการนับตัวเลขที่วิ่งอย่างต่อเนื่องได้เป็นแนวคิดในการปฏิบัติการโครงการต่าง ๆ ทั้งในสหรัฐและประเทศอื่น ๆ[5][26] โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหรัฐ นาฬิกานี้ได้กลายเป็นของประจำชาติที่แสดงการเพิ่มสูงขึ้นของหนี้ประชาชาติของสหรัฐ ในปี ค.ศ. 1995 (พ.ศ. 2538) นิวยอร์กไทมส์รายงานว่านักการเมืองหลายคนได้อ้างถึงนาฬิกานี้ในการสนับสนุนให้ลดงบประมาณรายจ่ายของประเทศ[5] นอกจากนี้ยังมีตัวนับหนี้ประชาชาติบนเว็บไซต์อีกหลายแหล่ง[a]

นาฬิกาหนี้ประชาชาติได้จุดประกายให้เกิดตัวนับในลักษณะคล้ายคลึงกันอีกหลายแห่ง ยกตัวอย่าง เอเอ็มดีได้ทำป้ายบิลบอร์ดอิเล็กทรอนิกส์ที่ติดตามค่าใช้จ่ายจากการใช้ชิปของคู่แข่ง[27] ในปี ค.ศ. 2010 (พ.ศ. 2553) มีการติดตั้ง "Death Clock" ที่ล้อเลียนนาฬิกาหนี้ที่ไทม์สแควร์ ทำหน้าที่จำนวนการตายของผู้ตั้งครรภ์ทั่วโลกทุก 90 วินาที[28]

ในการประชุมพรรครีพับลิกันระดับชาติในปี ค.ศ. 2012 (พ.ศ. 2555) มีหน้าจอ 2 จอ โดยจอหนึ่งแสดงตัวเลขเช่นเดียวกับนาฬิกาหนี้ปกติ ส่วนจอที่สองแสดงตัวเลขประมาณการของหนี้ประชาชาติที่เพิ่มสูงขึ้นตั้งแต่การประชุมเริ่มขึ้น[29] โดยทางพรรคริพับลิกันกล่าวว่านาฬิกาในการประชุมครั้งนี้มีขึ้นเพื่อเน้นย้ำข้อเท็จจริงที่ว่าหนี้ประชาชาตินั้นเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วภายใต้การดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของบารัก โอบามาซึ่งโอบามาเองจะลงเข้าผู้รับการคัดเลือกเป็นประธานาธิบดีสหรัฐในการเลือกตั้งในปี ค.ศ. 2012 (พ.ศ. 2555)[30] เรอินซ์ พรีบัส ประธานการประชุมกล่าวว่านาฬิกานี้แสดงให้เห็นถึง "ความประมาททางการเงินเป็นประวัติการณ์ภายใต้การดูแลปกครองของโอบามา"[29]

 
"Trump Death Clock" เมื่อ 19 พฤษภาคม ค.ศ. 2020 (พ.ศ. 2563)

ในระหว่างการระบาดทั่วของไวรัสโคโรนาในสหรัฐ พ.ศ. 2563 มีผู้พัฒนาเว็บไซต์ "Trump Death Clock" และแสดงเป็นป้ายโฆษณาในไทม์สแควร์ โดยแสดงให้เห็นตัวเลขผู้เสียชีวิต "ที่อ้างในทางทฤษฎี" เนื่องมาจากการรับมือการระบาดทั่วของไวรัสโคโรนาของประธานาธิบดีดอนัลด์ ทรัมป์[31][32][33] นาฬิกานี้สร้างขึ้นโดยยูจีน แจเรกกี[34] ป้ายนี้ตั้งอยู่บนโรงละครบรอดเวย์และถนนเส้นที่ 43 ตะวันตก

ในวัฒนธรรมสมัยนิยม

นาฬิกานี้ได้รับการเสนอในสารคดี Maxed Out ออกฉายในปี ค.ศ. 2006 (พ.ศ. 2549) ซึ่งกล่าวถึงหนี้ประชาชาติ มีสมาชิกบางส่วนของครอบครัวดัสต์ปรากฏตัวในสารคดีดังกล่าวด้วย[35]

หมายเหตุ

  1. ตัวอย่างตัวนับติดตามหนี้ออนไลน์ ประกอบด้วย

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 "US debt clock running out of time, space". China Daily. AFP. March 30, 2006. สืบค้นเมื่อ February 2, 2017.
  2. Koh, Eun Lee (August 13, 2000). "FOLLOWING UP; Time's Hands Go Back On National Debt Clock". The New York Times. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ February 2, 2017.
  3. 3.0 3.1 3.2 "SUNDAY: NOVEMBER 8, 1998: THE NATIONAL DEBT; Depressing Displays". The New York Times. November 8, 1998. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ February 2, 2017.
  4. Daniels, Lee A. (November 8, 1991). "Chronicle". The New York Times. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ February 2, 2017.
  5. 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 5.6 5.7 Toy, Vivian S. (May 28, 1995). "The Clockmaker Died, but Not the Debt". The New York Times. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ February 2, 2017.
  6. 6.0 6.1 Amadeo, Kimberly (January 1, 2010). "Did You Know There's a Clock to Track the Debt?". The Balance. สืบค้นเมื่อ February 2, 2017.
  7. 7.0 7.1 Upham, Ben (May 14, 2000). "NEIGHBORHOOD REPORT: TIMES SQUARE; Debt Clock, Calculating Since '89, Is Retiring Before the Debt Does". The New York Times. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ February 2, 2017.
  8. 8.0 8.1 Rubinstein, Dana (October 6, 2008). "Durst To Add Extra Trillion Dollar Digit to National Debt Clock". observer.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 10, 2008. สืบค้นเมื่อ February 2, 2017.
  9. 9.0 9.1 9.2 Stephey, M.J. (October 14, 2008). "The Times Square Debt Clock". Time. สืบค้นเมื่อ February 2, 2017.
  10. 10.0 10.1 "National Debt Clock stops, despite trillions of dollars of red ink". CNN. Associated Press; Reuters. September 7, 2000. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 29, 2008. สืบค้นเมื่อ February 2, 2017 – โดยทาง Internet Archive Wayback Machine.
  11. Van Natta Jr., Don (November 15, 1995). "BATTLE OVER THE BUDGET: NEW YORK;Like Workers, Debt Clock Is Placed On Furlough". The New York Times. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ February 2, 2017.
  12. Sutel, Seth (May 13, 2000). "National Debt Clock winds down". The Recorder. Greenfield, Massachusetts: Associated Press. สืบค้นเมื่อ 2017-02-03 – โดยทาง fultonhistory.com.
  13. Marino, Vivian; Herring, Hubert B. (July 14, 2002). "PRIVATE SECTOR; Restarting a Debt Clock, Reluctantly". The New York Times. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ February 2, 2017.
  14. Stevenson, Robert W. (July 13, 2002). "White House Says It Expects Deficit to Hit $165 Billion". The New York Times. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ February 2, 2017.
  15. "National debt clock torn down, new clock on way". The Recorder. Greenfield, Massachusetts. สืบค้นเมื่อ April 14, 2004 – โดยทาง fultonhistory.com.
  16. Haberman, Clyde (March 24, 2006). "We Will Bury You, in Debt". The New York Times. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ February 2, 2017.
  17. 17.0 17.1 Bonisteel, Sara (October 8, 2008). "National Debt Clock Adds a Digit to Accommodate Growing Deficit". Fox News (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ February 2, 2017.
  18. "National Debt Clock runs out of digits". Times Online. London. October 9, 2008. สืบค้นเมื่อ February 2, 2017.
  19. "US debt clock runs out of digits". BBC News. October 9, 2008.
  20. McShane, Larry (October 9, 2008). "National Debt Clock runs out of digits". NY Daily News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ February 2, 2017.
  21. Boniello, Kathianne (October 5, 2008). "'1' Big Tick is due for Debt Clock". nypost.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 30, 2009. สืบค้นเมื่อ February 2, 2017.
  22. "U.S. debt too big for National Debt Clock (MSNBC video)". NBC Nightly News. NBC News. October 7, 2008. สืบค้นเมื่อ February 2, 2017.
  23. Marino, Vivian (September 11, 2009). "Square Feet | The 30-Minute Interview: Jonathan Durst". The New York Times. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ February 2, 2017.
  24. Cuozzo, Steve (2017-06-06). "Sixth Avenue's National Debt Clock coming down — for now". New York Post (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2017-12-07.
  25. "Midtown's Iconic National Debt Clock Is Coming Down". NBC New York (ภาษาอังกฤษ). June 6, 2017. สืบค้นเมื่อ 2017-12-07.
  26. "Debt Clock Moves Next Door to Government". Deutsche Welle. June 18, 2004. สืบค้นเมื่อ February 2, 2017.
  27. Hesseldahl, Arik (May 3, 2006). "AMD Sticks It to Intel—Again". BusinessWeek. สืบค้นเมื่อ October 27, 2009.
  28. Haberman, Clyde (September 20, 2010). "An Alarm on Maternal Deaths, Global and Local". The New York Times. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ February 2, 2017.
  29. 29.0 29.1 Southall, Ashley (August 27, 2012). "As Convention Opens, Debt Clock Ticks". The New York Times. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ February 2, 2017.
  30. "Republican Convention to Highlight Debt Clock". Weekly Standard. August 27, 2012. สืบค้นเมื่อ February 3, 2017.
  31. "Trump Death Clock: Times Square Billboard Tallies Lives Lost to COVID-19 Inaction". Democracy Now! (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-05-09.
  32. Jarecki, Eugene. "Perspective | Trump's covid-19 inaction killed Americans". Washington Post.
  33. Pilkington, Ed (2020-05-06). "Trump Death Clock seeks to bring 'accountability for reckless leadership'". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2020-05-09.
  34. Johnson, Ted; Johnson, Ted (2020-05-06). "Filmmaker Eugene Jarecki Creates A "Trump Death Clock," Targeting White House Over Pandemic Response". Deadline (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-05-09.
  35. ""Maxed Out" - A high-interest look at our collective debts". The Seattle Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). March 9, 2007. สืบค้นเมื่อ February 2, 2017.

ดูเพิ่มเติม