ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Phirun (คุย | ส่วนร่วม)
Phirun ย้ายหน้า สหกรณ์เครดิตยูเนียน ไปยัง สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน: ใส่เพิ่มวรรณยุกต์เพื่อให้ค้นหาได้ง่ายขึ้น
Phirun (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
บรรทัด 1:
'''สหกรณ์เครดิตยูเนียนเนี่ยน''' ({{lang-en|credit union}}) เป็นสถาบันการเงินที่สมาชิกเป็นเจ้าของ และบริหารงานโดยสมาชิก มีจุดประสงค์ในการระดมเงินออมเพื่อใช้สำหรับเป็นทุนให้บริการแก่สมาชิกในรูปแบบของสินเชื่อโดยคิดอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสม และไม่เน้นผลกำไรสูงสุด ผลกำไรที่ได้จะถูกจัดสรรเป็นสวัสดิการต่างๆ ให้แก่สมาชิก
เครดิตยูเนียน แตกต่างจาก[[สถาบันการเงิน]]อื่น ๆ ตรงที่สมาชิกของเครดิตยูเนี่ยนเป็นเจ้าของเครดิตยูเนี่ยน และสมาชิกจะเป็นผู้เลือกตัวแทนที่เป็นสมาชิกด้วยกันขึ้นมาเป็นกรรมการดำเนินการเพื่อบริหารเครดิตยูเนี่ยน โดยหลักการประชาธิปไตยหนึ่งคนหนึ่งเสียง โดยไม่มีการคำนึงถึงจำนวนหุ้นที่ได้ลงทุนในเครดิตยูเนี่ยน เป็นสหกรณ์ที่จัดตั้งขึ้นในหมู่ประชาชนที่อาศัยอยู่ ในวงสัมพันธ์เดียวกัน และเป็นสหกรณ์ที่มุ่งหวังให้สมาชิกช่วยตนเองและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน บริหารงานโดยสมาชิกและทำกิจการทุกอย่างเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับสมาชิก
 
== ประวัติ<ref>https://www.cultthai.coop/cultthai/index.php/2017-05-24-02-43-05/cu-history1</ref> ==
เครดิตยูเนียน แตกต่างจาก[[สถาบันการเงิน]]อื่น ๆ ตรงที่สมาชิกของเครดิตยูเนี่ยนเป็นเจ้าของเครดิตยูเนี่ยน และสมาชิกจะเป็นผู้เลือกตัวแทนที่เป็นสมาชิกด้วยกันขึ้นมาเป็นกรรมการดำเนินการเพื่อบริหารเครดิตยูเนี่ยน โดยหลักการประชาธิปไตยหนึ่งคนหนึ่งเสียง โดยไม่มีการคำนึงถึงจำนวนหุ้นที่ได้ลงทุนในเครดิตยูเนี่ยน
เครดิตยูเนี่ยนเกิดขึ้นครั้งแรกที่ประเทศเยอรมันนี โดย'''ฟริดริก วิลเลี่ยม ไรฟไฟเซน (Friedrich Wilhelm Raiffisen)''' เกิดที่แคว้นไรน์ ซึ่งเป็นเมืองเกษตรกรรม ทำให้มีโอกาส คลุกคลีอยู่กับชาวนาตั้งแต่เล็กๆ ได้เห็นสภาพความเดือดร้อน ความอดอยากของชาวนา ทำให้มีความรู้สึกเหมือนกับต้องประสบความเดือดร้อนด้วยตัวเอง ต่อมา เมื่อไรฟไฟเซนได้รับแต่งตั้งเป็นนายกเทศมนตรีเมืองเวเยอบัช ท่านได้พยายามติดต่อขอแป้งสาลีจากรัฐบาลมาช่วยบรรเทาทุกข์ประชาชน และในปี พ.ศ. 2390 ไรฟไฟเซนได้ได้เริ่มจัดตั้งสหพันธ์ขนมปัง ขึ้นคือทำขนมปังและขายให้ชาวบ้านในราคาถูก ต่อมาในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2392 ท่านได้ย้ายไปเป็นนายกเทศมนตรีเมืองแฟรมเมอร์เฟลด์ เยอรมันตะวันตก ได้จัดตั้งสหพันธ์ปศุสัตว์ขึ้น ทำกิจกรรมรับซื้อและขายสัตว์เลี้ยงในราคาถูก แต่ทั้ง 2 อย่างนั้นไม่สามารถจะแก้ปัญหาเรื่องความเจ็บป่วย เสื้อผ้าที่อยู่อาศัยและปัญหาอื่นๆได้ และไรฟไฟเซนได้คิดว่าเงินเป็นสื่อกลางที่จะให้ได้มาซึ่งสิ่งเหล่านั้นได้
ใน ปี พ.ศ. 2395 ณ เมือง เฮดเดสดอฟ ไรฟไฟเซนได้พยายามไปขอร้องพวกนายทุนต่างๆ ให้ลดดอกเบี้ยเงินกู้ที่ให้ชาวนากู้ ให้ถูกลงกว่าเดิม ซึ่งก็ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี นอกจากนั้นท่านยังชักชวนผู้ใจบุญ ที่มีฐานะดีได้ 60 คน ร่วมกันบริจาคเงินและจัดตั้ง “สมาคมผู้ใจบุญ” ขึ้นเพื่อให้เงินกู้แก่ผู้ที่ประสบความเดือดร้อน โดยสมาคมนี้มีจุดประสงค์เมื่อแรกตั้ง 4 ข้อคือ
# เพื่อบริการเงินกู้แก่ประชาชน ผู้ประสบความเดือดร้อน โดยไม่มีดอกเบี้ย
# ดูแลเด็กกำพร้า และ เด็กที่ถูกทอดทิ้ง
# จัดหางานให้ผู้ว่างงาน
# ให้ความรู้แก่ผู้สนใจ
เมื่อเปิดดำเนินการใหม่ๆ ชาวบ้านต่างพากันมากู้ยืมเงินกันมากมาย บ้างก็กู้เอาไปใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย ครั้นเมื่อถึงกำหนดชำระคืนก็ไม่มีใครชำระคืน เพราะไม่มีเงิน สาเหตุของความล้มเหลวอีกประการหนึ่งก็คือ สมาคมนี้มิใช่เป็นของชาวบ้าน แต่เป็นของผู้ใจบุญ ชาวบ้านมิได้มีส่วนร่วมเลย ทำให้ชาวบ้านไม่มีความรู้สึกเป็นเจ้าของสมาคม จึงได้พยายามหาทางเปิดโอกาสให้ชาวบ้านได้มีโอกาสเป็นเจ้าของและดำเนินกิจการสมาคมนี้เอง โดยใช้หลัก “ช่วยเหลือตนเอง” ในที่สุดเมื่อปี พ.ศ. 2407 ท่านได้เปลี่ยนแปลงหลักการของสมาคม และ เปลี่ยนชื่อใหม่ เป็น '''เฮดเดสดอฟเครดิตยูเนี่ยน''' ซึ่งนับเป็นเครดิตยูเนี่ยนแห่งแรกของโลก
 
== ประวัติในประเทศไทย <ref>https://www.cultthai.coop/cultthai/index.php/2017-05-24-02-43-05/cu-history1-2</ref> ==
เมื่อ ปี พ.ศ. 2506 คณะสงฆ์คณะเยซูอิตแห่งคาทอลิก จัดสัมมนาระดับชาติเรื่อง"การพัฒนาเครดิตยูเนี่ยน" ที่บ้านเซเวียร์ อนุเสาวรีย์ชัยสมรภูมิ มีผู้แทนจากประเทศเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ไต้หวัน ฮ่องกงและไทย ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2507 บาทหลวงอัลเฟรด บอนแนงค์ และนายแพทย์ชวลิต จิตรานุเคราะห์ ได้จัดตั้งสมาคม "ศูนย์กลางเทวา" ขึ้นที่สลัมห้วยขวาง เพื่ออบรมศึกษาผู้ใหญ่และช่วยคนยากจนโดยวิธีเครดิตยูเนี่ยน ขณะนั้นเครดิตยูเนี่ยน ได้เริ่มแพร่หลายไปมากแล้วในต่างประเทศ จนกระทั่งสามารถจัดตั้งกลุ่มเครดิตยูเนี่ยนขึ้นสำเร็จ เมื่อวันที่ 25 กรกฏาคม 2508 ด้วยจำนวนสมาชิกแรกเริ่ม 13 คน เงินทุนรวม 360 บาท โดยใช้ชื่อว่า '''กลุ่มเครดิตยูเนี่ยนแห่งศูนย์กลางเทวา''' นับเป็นเครดิตยูเนี่ยนแห่งแรกในประเทศไทย<ref>หนังสือ 40 ปี เครดิตยูเนี่ยนศูนย์กลางเทวา</ref> ใช้ชื่อว่า “เครดิตยูเนี่ยนแห่งศูนย์กลางเทวา” แต่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นสหกรณ์
สหกรณ์ที่ได้รับการจดทะเบียนแห่งแรก คือ "สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแม่มูล จำกัด" จังหวัดอุบลราชธานี ได้รับการจดทะเบียนเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2522 ประเภทสหกรณ์ออมทรัพย์
สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนเดิมเป็นสหกรณ์ออมทรัพย์ในชุมชน จึงอยู่ในรูปย่อยของประเภท "สหกรณ์ออมทรัพย์" และต่อมาได้รับการกำหนดให้เป็นประเภท "สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน" ตามกฎกระทรวง กำหนดประเภทสหกรณ์ที่จะรับจดทะเบียน พ.ศ. 2548
 
== เครดิตยูเนี่ยนในประเทศไทย ==
 
เครดิตยูเนี่ยนในประเทศไทยจัดตั้งขึ้นในรูปแบบของ[[สหกรณ์]] ที่เรียกว่า สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ประเทศไทยได้กำหนดให้เครดิตยูเนี่ยนเป็นสหกรณ์ประเภทที่ 7<ref>กฎกระทรวง เรื่องกำหนดประเภทของสหกรณ์ที่จะรับจดทะเบียน พ.ศ. 2548,http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2548/00168340.PDF</ref> และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ถือเป็นสถาบันการเงินตามกฎหมาย<ref>ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกำหนดสถาบันการเงินและอัตราดอกเบี้ยสูงสุดของดอกเบี้ยที่สถาบันการเงินอาจคิดได้จากผู้กู้ยืม (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2550,http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2550/E/084/17.PDF</ref>
 
เครดิตยูเนี่ยน สมาชิกจะต้องสะสมค่าหุ้น ๆ ละ 10 บาท เป็นจำนวนกี่หุ้นขึ้นอยู่กับที่ได้ตกลงกันไว้เมื่อตอนสมัคร และจะต้องสะสมหุ้นสม่ำเสมอทุกเดือน และการดำเนินกิจการจะมีลักษณะที่ใกล้เคียงกับกิจกรรมของธนาคาร ได้แก่รับฝากเงินจากเงินสมาชิก การให้สินเชื่อแก่สมาชิก รายได้หลักของเครดิตยูเนี่ยนจะเกิดจากรายได้จากดอกเบี้ยรับ และผลตอบแทนจากการนำเงินไปลงทุน ผลประโยชน์ที่ได้จากจะถูกจัดสรรในรูปของทุนสำรองของเครดิตยูเนี่ยน ทุนสวัสดิการต่างๆ เพื่อให้บริการแก่สมาชิก เงินปันผลสำหรับการถือหุ้นของสมาชิก เงินเฉลี่ยคืนจากการใช้บริการเงินกู้ของสมาชิก เป็นต้น
 
รูปแบบของเครดิตยูเนี่ยนในประเทศไทย
# สหกรณ์ออมทรัพย์
# สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน
 
ความแตกต่างของทั้ง 2 แบบคือสหกรณ์ออมทรัพย์มักถูกจัดตั้งขึ้นในหน่วยงาน โดยมากสมาชิกจะมีเงินเดือนประจำและถูกหักเป็นเปอร์เซ็นต์จากเงินเดือนเพื่อสะสมเป็นค่าหุ้นทุกๆ เดือน ในขณะที่สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน มักถูกจัดตั้งตามแหล่งชุมชน หมู่บ้าน กลุ่มที่ทำกิจกรรมร่วมกัน หรือกลุ่มสมาคมเดียวกัน เช่น กลุ่มเอ็นจีโอ (NGO) กลุ่มผู้พิการตาบอด กลุ่มผู้ทำธุรกิจขายตรง เป็นต้น
 
บุคคลทั่วไป ที่อยู่ในวงศ์สัมพันธ์เดียวกัน สามารถรวมตัวกันเพื่อจัดตั้งเป็นกลุ่มเครดิตยูเนี่ยน และสามารถขอจดทะเบียนจัดตั้งเป็นสหกรณ์ประเภทเครดิตยูเนี่ยนได้ตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542
 
== ประวัติ ==
 
การรวมกลุ่มกันเพื่อดำเนินการตามแนวคิดของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน เป็นการรวมคนจากย่านชุมชนแออัดห้วยขวาง ดินแดง เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2508<ref>หนังสือ 40 ปี เครดิตยูเนี่ยนศูนย์กลางเทวา</ref>ใช้ชื่อว่า “เครดิตยูเนี่ยนแห่งศูนย์กลางเทวา” แต่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นสหกรณ์
 
สหกรณ์ที่ได้รับการจดทะเบียนแห่งแรก คือ "สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแม่มูล จำกัด" จังหวัดอุบลราชธานี ได้รับการจดทะเบียนเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2522 ประเภทสหกรณ์ออมทรัพย์
 
สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนเดิมเป็นสหกรณ์ออมทรัพย์ในชุมชน จึงอยู่ในรูปย่อยของประเภท "สหกรณ์ออมทรัพย์" และต่อมาได้รับการกำหนดให้เป็นประเภท "สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน" ตามกฎกระทรวง กำหนดประเภทสหกรณ์ที่จะรับจดทะเบียน พ.ศ. 2548
 
== อ้างอิง ==