ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ลม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Nadzik (คุย | ส่วนร่วม)
Undid edits by 1.46.36.133 (talk) to last version by 110.77.201.15
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Tuuli.jpeg|thumbnail|ต้นไม้ที่กำลังถูกลมพัด]]
'''ลม''' เป็นการไหลเวียนของ[[แก๊ส]]ในขนาดใหญ่ บนดาวลมประกอบด้วยการเคลื่อนที่ของอากาศขนาดใหญ่ ส่วนใน[[อวกาศ]] [[ลมสุริยะ]]เป็นการเคลื่อนที่ของแก๊สหรืออนุภาคมีประจุจาก[[ดวงอาทิตย์]]ผ่านอวกาศ ขณะที่[[ลมดาวเคราะห์]]เป็น[[การปล่อยแก๊ส]] (outgassing) ของ[[ธาตุเคมี]]เบาจากชั้นบรรยากาศของดาวเคราะห์สู่อวกาศ โดยทั่วไป การจำแนกประเภทของลมใช้ขนาดเชิงพื้นที่, ความเร็ว, ประเภทของแรงที่เป็นสาเหตุ, ภูมิภาคที่เกิด และผลกระทบ ลมที่แรงที่สุดเท่าที่สังเกตพบบนดาวเคราะห์ใน[[ระบบสุริยะ]]เกิดขึ้นบน[[ดาวเนปจูน]]และ[[ดาวเสาร์]]
 
ในทาง[[อุตุนิยมวิทยา]] ลมมักถูกเรียกชื่อตามพลัง และทิศทางซึ่งลมพัดมาจาก ลมความร็วสูงที่พัดมาสั้น ๆ เรียก ลมกระโชก (gust) ลมแรงที่มีระยะการเกิดปานกลาง (ประมาณหนึ่งนาที) เรียก ลมพายุฝน (squall) ส่วนลมที่มีระยะการเกิดนานนั้นมีหลายชื่อตามความแรงเฉลี่ย เช่น ลม (breeze), เกล, [[พายุ]], [[เฮอร์ริเคน]]และ[[ไต้ฝุ่น]] ลมเกิดขึ้นได้หลายขนาด ตั้งแต่พายุฝนฟ้าคะนองที่ไหลเวียนนานหลายสิบนาที ไปถึงลมท้องถิ่นที่เกิดจากการให้ความร้อนจากผิวดิน และเกิดนานไม่กี่ชั่วโมง ไปจนถึงลมทั่วโลกที่เกิดจากความแตกต่างในการดูดซับพลังงานจากดวงอาทิตย์ระหว่างเขตภูมิอากาศบนโลก สองสาเหตุหลักของวงรอบอากาศขนาดใหญ่เกิดจากการให้ความร้อนที่ต่างกันระหว่าง[[เส้นศูนย์สูตร]]กับขั้วโลก และการหมุนของดาวเคราะห์ (ปรากฏการณ์คอริออลิส) ใน[[เขตร้อน]] วงรอบความร้อนต่ำเหนือภูมิประเทศและที่ราบสูงสามารถก่อให้เกิดวงรอบมรสุมได้ ในพื้นที่ชายฝั่ง วัฏจักร[[ลมบก]]/[[ลมทะเล]]สามารถกำหนดลมท้องถิ่นได้ ในพื้นที่ซึ่งมีภูมิประเทศขึ้น ๆ ลง ๆ ลมภูเขาและหุบเขาสามารถมีอิทธิพลเหนือลมท้องถิ่นได้
 
ในอารยธรรมมนุษย์ ลมจุดประกาย[[เทพปกรณัม]] ส่งอิทธิพลต่อเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ ขยายพิสัยการขนส่งและการสงคราม และเป็นแหล่งพลังงานแก่งานเชิงกล [[ไฟฟ้า]]และสันทนาการ ลมเป็นพลังงานแก่การเดินทางโดยแล่นเรือข้ามมหาสมุทรของโลก [[บอลลูนลมร้อน]]ใช้ลมเพื่อเดินทางระยะสั้น ๆ และการบินที่มีเครื่องยนต์ขับเคลื่อนใช้ลมเพื่อเพิ่มแรงยกและลดการบริโภคเชื้อเพลิง พื้นที่ลมเฉือนเกิดขึ้นจากปรากฏการณ์สภาพบรรยากาศหลายปรากฏการณ์ ซึ่งสามารถนำไปสู่สถานการณ์อันตรายแก่อากาศยานได้ เมื่อลมพัดแรง ต้นไม้และสิ่งปลูกสร้างที่มนุษย์สร้างขึ้นจะได้รับความเสียหายหรือถูกทำลายได้
 
== อ้างอิง ==
{{commons|Wind|ลม}}
{{รายการอ้างอิง}}
{{เริ่มอ้างอิง}}
* http://www.indiana.edu/~geol116/Week11/dunes2.jpg
* http://www.uwsp.edu/geo/faculty/lemke/geomorphology/images/11a_wind_erosion_map.jpg
{{จบอ้างอิง}}
 
[[หมวดหมู่:ลม| ]]
[[หมวดหมู่:สภาพอากาศ]]
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ลม"