ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BunBn (คุย | ส่วนร่วม)
BunBn (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 53:
 
[[ไฟล์:Axis landscape in Chula1.jpg|200px|thumb|left|สิ่งปลูกสร้างต่างยุคสมัยวางตัวตามแกนของหอประชุม]]
การออกแบบภูมิสถาปัตยกรรมของหอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในเชิงกายภาพของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาคารหอประชุมแห่งนี้เป็นอาคารหลังที่สองที่ถูกสร้างขึ้นบนเส้นแกนจากทิศตะวันออกไปยังทิศตะวันตกของที่ดินมหาวิทยาลัย การที่ผู้ออกแบบได้จัดวางให้ด้านหน้าของตัวอาคารหันไปยังทิศตะวันตก ทำให้[[ถนนพญาไท]]กลายเป็น "ด้านหน้า" ของมหาวิทยาลัย<ref>พีรศรี โพวาทอง. (2557). ''ปฐมศตวรรษ จุฬา สถาปัตยกรรม เล่ม 1'' (เล่มที่ 1). กรุงเทพมหาคร, ประเทศไทย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.<br /></ref> แทนที่[[ถนนอังรีดูนังต์]] หรือ "ถนนสนามม้า" ที่เคยทำหน้าที่เป็นด้านหน้าเมื่อครั้งหมู่อาคารเทวาลัย หรืออาคารมหาจุฬาลงกรณ์และอาคารมหาวชิราวุธยังเป็นเพียงกลุ่มอาคารหลักแห่งเดียวบนพื้นที่ของมหาวิทยาลัย และยังได้เปลี่ยนให้ถนนพญาไทกลายเป็นถนนประธานบนอาณาเขตที่ดินของมหาวิทยาลัย ดังจะเห็นได้จากที่กลุ่มอาคารในยุคหลัง เช่น กลุ่มอาคารสำนักงานมหาวิทยาลัยทั้งหมด<ref>สำนักบริหารระบบกายภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (12 มิถุนายน 2563). จามจุรี 4. เข้าถึงได้จาก เว็บไซต์ prm.chula.ac.th: http://www.prm.chula.ac.th/cen047.html</ref> อาคารมหาธีรราชานุสรณ์ (หอสมุดกลาง) [[สามย่านมิตรทาวน์]] [[อุทยาน 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] ต่างก็ถูกจัดวางให้หันด้านหน้าไปทางทิศตะวันออก<ref>พีรศรี โพวาทอง. (2557). ''ปฐมศตวรรษ จุฬา สถาปัตยกรรม เล่ม 2'' (เล่มที่ 2). กรุงเทพมหาคร, ประเทศไทย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.<br /></ref> ในขณะที่เสาธงชาติของมหาวิทยาลัย [[พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราชและสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า]] สนาม[[รักบี้]] สระน้ำ รวมถึงประตูรั้วหลักถูกจัดวางให้หันด้านหน้าไปทางทิศตะวันตกเข้าสู่ถนนพญาไท<ref name=":0" />
 
แนวการวางอาคารของหอประชุมจุฬาฯ ยังช่วยบังคับให้เกิดแกนแนวตะวันออก-ตะวันตกบนที่ดินของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จริง<ref>ธันย์ชนก อุณหชาติ, และ ลลิตา รื่นบันเทิง. (2555). เว็บไซต์แสดงแผนที่ภายในจุฬาฯด้วยภาพพาโนรามา 360 องศา. กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย.</ref> เพราะแม้ว่าจะไม่มีแผนพัฒนาภูมิทัศน์ระยะยาวตั้งแต่ พ.ศ. 2482 เป็นกฎเกณฑ์บังคับให้สิ่งปลูกสร้างยุคหลังต้องสร้างเรียงตัวตามแนวแกน แต่จนถึงปัจจุบันสิ่งก่อสร้างที่ทยอยสร้างขึ้นใหม่ในอาณาเขตของมหาวิทยาลัยก็ยังคงยึดแนวแกนและทิศทางที่อาคารหอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยวางไว้เป็นมาตรฐาน<ref>พีรศรี โพวาทอง. (2557). ''ปฐมศตวรรษ จุฬา สถาปัตยกรรม เล่ม 3'' (เล่มที่ 3). กรุงเทพมหาคร, ประเทศไทย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.<br /></ref> ดังจะเห็นได้จากการที่หน้าบันกลางของระเบียงทางเชื่อมระหว่างอาคารมหาจุฬาลงกรณ์และอาคารมหาวชิราวุธตรงกันพอดีกับเส้นกึ่งกลางของหอประชุมจุฬาฯ เสาธงประจำมหาวิทยาลัย ช่องว่างตรงกลางระหว่างพระบรมรูปของทั้งสองรัชกาล กึ่งกลางของจุดประดิษฐานพระบรมฉาลักษณ์ของ[[พระมหากษัตริย์ไทย|พระประมุขของประเทศ]] สระน้ำ ประตูใหญ่ อาคารจามจุรี 4 หอสมุดกลาง และอุทยาน 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำให้เกิดเส้นนำสายตาบนภูมิทัศน์สร้างจุดเด่นให้กับเขตปทุมวันได้อย่างดี<ref name=":0" />