ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BunBn (คุย | ส่วนร่วม)
BunBn (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 33:
'''หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย''' เรียกโดยย่อว่า '''หอประชุมจุฬาฯ''' เป็นหอประชุมใหญ่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีความเป็นมาคู่กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาอย่างยาวนาน อีกทั้งยังมีเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์เกิดขึ้นที่อาคารแห่งนี้หลายเหตุการณ์ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งอยู่ภายใน[[จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] แขวงปทุมวัน [[เขตปทุมวัน]] [[กรุงเทพมหานคร]]
 
หอประชุมจุฬาฯ เป็นสิ่งปลูกสร้างที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของภูมิทัศน์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำให้เกิดการปรับภูมิทัศน์โดยรอบ เช่น การขุดสระน้ำด้านหน้าประตูใหญ่ ตัดถนนรอบสนามรักบี้และสร้างลาน[[พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราชและสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า]] จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2545 [[สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์]]ได้มอบรางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่นให้แก่หอประชุมจุฬาฯ<ref name=":0">จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2550). 9 ทศวรรษ พัฒนาการทางกายภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพ: คณะกรรมการจัดทำหนังสือ 9 ทศวรรษ พัฒนาการทางกายภาพ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.</ref><ref>ดิษฐปัญญา, ช. (2016). ''asaconsevationaward - หอประชุม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย''. [online] Asaconservationaward.com. Available at: http://asaconservationaward.com/index.php/2016-06-13-15-21-44/building-2545/79-governor-chulalongkorn-bkk-province [Accessed 19 Nov. 2017].</ref>
 
[[พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร]]เสด็จพระราชดำเนินมาทรงดนตรีพระราชทานแก่นิสิตที่หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นแห่งแรกก่อนที่กิจกรรมนี้จะมีขึ้นในอีกหลายมหาวิทยาลัยในเวลาต่อมา เป็นที่มาของ[[วันทรงดนตรี]] หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงเป็นสถานที่ถือกำเนิดของ "วันทรงดนตรี"<ref>Chula.ac.th. (2017). ''จุฬาฯ จัด “งานวันที่ระลึกวันทรงดนตรี”  ๒๐ กันยายนนี้ที่หอประชุมจุฬาฯ''. [online] Available at: http://www.chula.ac.th/th/archive/65517 [Accessed 19 Nov. 2017].</ref>
บรรทัด 53:
 
[[ไฟล์:Axis landscape in Chula1.jpg|200px|thumb|left|สิ่งปลูกสร้างต่างยุคสมัยวางตัวตามแกนของหอประชุม]]
การออกแบบภูมิสถาปัตยกรรมของหอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในเชิงกายภาพของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาคารหอประชุมแห่งนี้เป็นอาคารหลังที่สองที่ถูกสร้างขึ้นบนเส้นแกนจากทิศตะวันออกไปยังทิศตะวันตกของที่ดินมหาวิทยาลัย การที่ผู้ออกแบบได้จัดวางให้ด้านหน้าของตัวอาคารหันไปยังทิศตะวันตก ทำให้[[ถนนพญาไท]]กลายเป็น "ด้านหน้า" ของมหาวิทยาลัยแทนที่[[ถนนอังรีดูนังต์]]ที่เคยทำหน้าที่เป็นด้านหน้าเมื่อครั้งหมู่อาคารเทวาลัย หรืออาคารมหาจุฬาลงกรณ์และอาคารมหาวชิราวุธยังเป็นเพียงกลุ่มอาคารหลักแห่งเดียวบนพื้นที่ของมหาวิทยาลัย และยังได้เปลี่ยนให้ถนนพญาไทกลายเป็นถนนประธานบนอาณาเขตที่ดินของมหาวิทยาลัย ดังจะเห็นได้จากที่กลุ่มอาคารในยุคหลัง เช่น กลุ่มอาคารสำนักงานมหาวิทยาลัยทั้งหมด อาคารมหาธีรราชานุสรณ์ (หอสมุดกลาง) [[สามย่านมิตรทาวน์]] [[อุทยาน 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] ต่างก็ถูกจัดวางให้หันด้านหน้าไปทางทิศตะวันออก ในขณะที่เสาธงชาติของมหาวิทยาลัย [[พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราชและสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า]] สนาม[[รักบี้]] สระน้ำ รวมถึงประตูรั้วหลักถูกจัดวางให้หันด้านหน้าไปทางทิศตะวันตกเข้าสู่ถนนพญาไท<ref name=":0" />
 
แนวการวางอาคารของหอประชุมจุฬาฯ ยังช่วยบังคับให้เกิดแกนแนวตะวันออก-ตะวันตกบนที่ดินของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จริง เพราะแม้ว่าจะไม่มีแผนพัฒนาภูมิทัศน์ระยะยาวตั้งแต่ พ.ศ. 2482 เป็นกฎเกณฑ์บังคับให้สิ่งปลูกสร้างยุคหลังต้องสร้างเรียงตัวตามแนวแกน แต่จนถึงปัจจุบันสิ่งก่อสร้างที่ทยอยสร้างขึ้นใหม่ในอาณาเขตของมหาวิทยาลัยก็ยังคงยึดแนวแกนและทิศทางที่อาคารหอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยวางไว้เป็นมาตรฐาน ดังจะเห็นได้จากการที่หน้าบันกลางของระเบียงทางเชื่อมระหว่างอาคารมหาจุฬาลงกรณ์และอาคารมหาวชิราวุธตรงกันพอดีกับเส้นกึ่งกลางของหอประชุมจุฬาฯ เสาธงประจำมหาวิทยาลัย ช่องว่างตรงกลางระหว่างพระบรมรูปของทั้งสองรัชกาล กึ่งกลางของจุดประดิษฐานพระบรมฉาลักษณ์ของพระประมุขของประเทศ สระน้ำ ประตูใหญ่ อาคารจามจุรี 4 หอสมุดกลาง และอุทยาน 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทำให้เกิดเส้นนำสายตายที่บนภูมิทัศน์สร้างจุดเด่นให้กับเขตปทุมวันได้อย่างดี<ref name=":0" />
 
== ประวัติ ==