ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JulladaNARIT (คุย | ส่วนร่วม)
JulladaNARIT (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 178:
นอกจากนั้น ยังมีการพัฒนาเครื่องสเปกโตรกราฟแบบฟูเรียทรานสฟอร์ม (Fourier Transform Spectrograph) ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี สำหรับใช้ศึกษาวัตถุท้องฟ้า เครื่องมือนี้มีกำลังการแยกสเปกตรัมสูงในช่วงคลื่นแสงที่ตามองเห็นและย่านอินฟราเรดใกล้ สำหรับศักยภาพในการประยุกต์เชิงดาราศาสตร์นั้น สามารถวัดผลข้อมูลแบบสามมิติสำหรับวัตถุที่มีการขยายตัว รวมทั้งศึกษาดาวฤกษ์หรือดาวเคราะห์ที่มีการหดขยายตัวได้ ขอบเขตการทำงานของนักศึกษาที่ร่วมพัฒนาอุปกรณ์นั้นคือการทดสอบความสามารถในการวัดสเปกตรัมของแหล่งกำเนิด ขั้นต่อไปจะเป็นการพัฒนาเครื่องต้นแบบเพื่อติดตั้งที่กล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.7 เมตรของหอดูดาวภูมิภาคนครราชสีมา และได้วางแผนทดสอบระบบกับวัตถุท้องฟ้าภายในปี 2560-2562
 
             สำหรับความร่วมมือกับต่างประเทศในการพัฒนาเทคโนโลยีทัศนศาสตร์ สดร. ได้ร่วมมือกับ “Centre for Astrophysics Research” จากมหาวิทยาลัย Hertfordshire ในการพัฒนาครื่องสเปกโตรกราฟแบบกำลังการแยกสเปกตรัมสูงแบบใหม่ เครื่องมือนี้มีศักยภาพเพียงพอที่จะตรวจจับดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะที่อยู่ไกลจากดาวฤกษ์ได้โดยใช้วิธีการวัดความเร็วเชิงรัศมี และได้วางแผนการทดลองเครื่องต้นแบบกับกล้องโทรทรรศน์เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.7 เมตร ณ อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร จังหวัดเชียงใหม่ ภายในปี 2561 ซึ่งจะมีการพัฒนาระบบต่อเนื่องจนเสร็จภายในปี 2563
 
===== '''การพัฒนาอุปกรณ์ลดระยะโฟกัส (Focal Reducer)''' =====
บรรทัด 193:
=== 2) ห้องปฏิบัติการเมคาทรอนิกส​์ ===
เป็นการบูรณาการร่วมกันระหว่างเทคโนโลยีด้านวิศวกรรมเมคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ ดาราศาสตร์และทัศนศาสตร์ มีผลงานเด่น ดังนี้
 
==== โครงการพัฒนาเครื่องช่วยหายใจต้นแบบ ====
[[ไฟล์:NARIT_Ventilator_V3.jpg|thumb|ต้นแบบเครื่องช่วยหายใจ แบบควบคุมการไหลของอากาศแรงดันสูง]]
จากวิกฤตการณ์โรค COVID-19 ที่แพร่กระจายและทวีความรุนแรงไปทั่วโลก ตั้งแต่ต้นปี 2563 เป็นต้นมา และเกิดภาวะแพร่ระบาดรุนแรงในประเทศไทยตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563 NARIT จึงมีแนวคิดสร้างและพัฒนาเครื่องช่วยหายใจอย่างง่ายที่สามารถสร้างได้อย่างรวดเร็ว ใช้วัสดุอุปกรณ์ต้นทุนต่ำ แบบ AmbuBag ต่อมาพบว่าเครื่องช่วยหายใจในรูปแบบดังกล่าว พบปัญหาคือไม่สามารถแสดงผลการตอบสนองของผู้ป่วยได้ รวมถึงไม่สามารถควบคุมตัวแปรอื่น ๆ เช่น ความดัน ปริมาตร และอัตราการไหลของอากาศได้โดยง่าย จึงปรับเปลี่ยนและพัฒนาเครื่องช่วยหายใจสู่รูปแบบที่ 2 ใช้หลักการไหลของอากาศแรงดันสูง มีวาล์วควบคุมการไหลเข้าออกของอากาศ พร้อมออกแบบอัลกอริทึมควบคุมการทำงานของระบบเครื่องช่วยหายใจดังกล่าว
 
ปัจจุบัน ได้พัฒนาเครื่องช่วยหายใจแบบควบคุมการไหลของอากาศแรงดันสูง สามารถควบคุมปริมาตรอากาศในปอดให้ได้ค่าตามที่ต้องการ ใช้งานร่วมกับการให้ออกซิเจนจากระบบท่อ โดยออกแบบให้ควบคุมการไหลเข้าออกของอากาศโดยใช้
 
Propotional valve เพื่อควบคุมการไหลเข้าออกของอากาศให้ดียิ่งขึ้น รวมถึงการควบคุมตัวแปรต่าง ๆ ได้เทียบเท่ากับเครื่องที่ใช้อยู่ รพ. เพื่อให้สามารถใช้งานได้จริงในทางการแพทย์ ภายใต้คำแนะนำอย่างใกล้ชิดจากทีมแพทย์โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่
 
เป้าหมายของ NARIT ในการสร้างเครื่องช่วยหายใจต้นแบบ ไม่ได้หยุดเพียงแค่แก้ปัญหาภาวะการระบาดของโรคโควิด-19 เท่านั้น แต่ยังเป็นการพัฒนาขีดความสามารถด้านเทคโนโลยีของบุคลากรและสามารถต่อยอดไปสู่เชิงพาณิชย์ต่อไปได้ในอนาคต
 
โครงการพัฒนาเครื่องช่วยหายใจ เป็นโครงการความร่วมมือระหว่าง NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ภายใต้คำแนะนำของทีมแพทย์ และบุคลากรจากโรงพยาบามหาราช นครเชียงใหม่ โรงพยาบาลนครพิงค์ และศูนย์สนับสนุนการบริการสุขภาพเขตที่ 1 กรมส่งเสริมสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข
 
==== '''การพัฒนาระบบควบคุมกล้องโทรทรรศน์แบบใหม่ (Development of Next Generation Telescope Control System)''' ====