ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ผ่องศรี วรนุช"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
→‎ประวัติ: อาจลอกมา
บรรทัด 25:
 
'''ผ่องศรี วรนุช''' เป็น[[ศิลปินแห่งชาติ]] นักร้อง[[เพลงลูกทุ่ง]] ฉายา ''ราชีนีลูกทุ่งไทย'' เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2480 ที่[[อำเภอมโนรมย์]] [[จังหวัดชัยนาท]] เรียนหนังสือที่โรงเรียนวัดแก่นเหล็ก เริ่มทำงานกับละครเร่คณะคุณหนู โดยเป็นเด็กรับใช้ ก่อนจะได้ร้องเพลงสลับฉากจนได้เป็นนางเอกของคณะ และเริ่มอาชีพนักร้องเมื่อปี พ.ศ. 2498
 
== ประวัติ ==
ผ่องศรีเรียนหนังสือชั้นประถมต้น ป.1 - ป.4 ที่โรงเรียนวัดแก่นเหล็ก เมื่อจบชั้นมัธยมปีที่ 3 สอบเรียนต่อชั้น ม.4 ได้แล้ว แต่ต้องออกจากโรงเรียนเพราะฐานะทางบ้านไม่อำนวย ทั้งยังสงสารแม่ที่ต้องพายเรือเร่ขายขนมหาเลี้ยงครอบครัวอยู่คนเดียว จึงตัดใจออกจากโรงเรียนด้วยความเสียดาย ตั้งใจอยากจะหางานทำเพื่อมีรายได้มากจุนเจือครอบครัวช่วยเหลือพ่อแม่ชีวิตช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่เด็กหญิงผ่องศรี ต้องออกจากโรงเรียน
 
นับตั้งแต่เล็กๆ ผ่องศรีมีความรักทางด้านการร้องเพลงเป็นพิเศษ ดังนั้นเมื่อสบจังหวะที่ละครเร่คณะของหนู สุวรรณประกาศ ละครเรชื่อดังจากเพชรบุรี เดินสายมาแสดงที่ อ.มโนรมย์ ผ่องศรีจึงไปสมัครเพื่อขอทำงานกับคณะละครเร่ ซึ่งเจ้าของคณะก็มองเห็นว่าผ่องศรีมีหน่วยก้านดีจึงได้เมตตารับไว้ใช้งานทั่วไปในคณะ ระหว่างนั้นก็ได้ทราบว่าผ่องศรีมีความสนใจในการร้องเพลงเป็นพิเศษ ทั้งยังมีน้ำเสียงที่ดีมาก จึงได้สนับสนุนให้มีโอกาสขึ้นร้องเพลงสลับฉากหน้าม่าน และเล่นเป็นตัวประกอบเป็นครั้งคราว ซึ่งผ่องศรีก็ได้แสดงความสามารถอย่างโดดเด่น ทั้งยังกระตือรือร้นในการฝึกฝนการเต้นระบำประกอบเพลงจนแคล่วคล่องเป็นที่พอใจของเจ้าของคณะเป็นอย่างยิ่ง ทำให้ค่อยๆ ขยับฐานะจากนักแสดงประกอบ เป็นตัวแสดงตัวสำคัญขึ้น และกลายเป็นนางเอกประจำคณะในที่สุด โดยได้แสดงเป็นนางเอกในเรื่อง "สโนไวท์" เป็นเรื่องแรก โดยนับเป็นนางเอกที่อายุน้อยที่สุดในคณะ
 
เมื่อผ่องศรีร่วมงานอยู่กับคณะละครเร่อยู่ประมาณ 2 ปี วัลลภ วิชชุกร พระเอกประจำคณะก็ได้แนะนำว่าน้ำเสียงดีขนาดนี้น่าจะเข้ากรุงเทพฯ เพราะอาจได้มีโอกาสร้องเพลงบันทึกแผ่นเสียง และรับปากว่าจะช่วยพาไปฝากกับครูมงคล อมาตยกุล ครูเพลงผู้โด่งดังในยุคนั้นให้ เมื่อได้ไตร่ตรองอย่างรอบคอบแล้ว ผ่องศรีก็ได้ตัดสินใจลาหัวหน้าคณะละครเร่ เพื่อไปหาความก้าวหน้าแก่ชีวิตของตัวเอง
 
เมื่อเดินทางเข้ากรุงเทพฯแล้ว วัลลภก็ได้พาคุณผ่องศรีไปหามงคล ตามที่ได้รับปากเอาไว้ ซึ่งมงคลก็ได้ตกลงรับไว้เป็นศิษย์ แต่ไม่ได้เรียกมาให้ประจำวงอะไร จากจุดนี้เองทำให้ผ่องศรีได้รู้จักกับครูเพลงอีกหลายท่าน อาทิ ครูไพบูลย์ บุตรขัน, ครู ป.ชื่นประโยชน์, ครูตุ้มทอง โชคชนะ
 
และด้วยแรงผลักดันของนายวัลลภ วิชชุกรประกอบกับมงคล อมาตยกุล เมตตาสงสาร และด้วยน้ำเสียงอันโดดเด่น ทำให้ผ่องศรี ได้มีโอกาสขึ้นร้องเพลงรับเชิญตามวงดนตรีต่างๆทั้งๆที่ยังไม่ดังยังไม่มีชื่อและยังไม่มีงานบันทึกแผ่นเสียง ทำให้ผ่องศรีมีรายได้เลี้ยงชีพ และสามารถเก็บเล็กผสมน้อยจนได้เงินจำนวนหนึ่ง และได้นำเงินก้อนนี้ไปซื้อเพลง “หัวใจไม่มีใครครอง” ของสุรพล พรภักดี เพื่อบันทึกแผ่นเสียงของตนเองเป็นเพลงแรกในชีวิตเมื่อปี 2498 โดยมีมงคลเป็นผู้เรียบเรียงเสียงประสานให้
 
ช่วงนั้น วงการเพลงลูกทุ่งกำลังอยู่ในช่วงของการปูทางเริ่มต้น นักร้องที่ฉายแววโดดเด่น ได้แก่ สุรพล สมบัติเจริญ, ก้าน แก้วสุพรรณ เมื่อสุรพล ผู้ซึ่งกำลังเป็นนักร้องลูกทุ่งที่โด่งดังที่สุดในยุคนั้นได้ฟังเพลง “หัวใจไม่มีใครครอง” ที่ผ่องศรีเป็นผู้ขับร้องแล้ว ก็เกิดความประทับใจเป็นอย่างยิ่ง ในปี 2502 ครูสุรพล สมบัติเจริญจึงได้ เขียนเพลง “ไหนว่าไม่ลืม” ร่วมกันครูสำเนียง ม่วงทองให้คุณผ่องศรีร้องบัน ทึกแผ่นเสียงเพื่อแก้กับเพลง “ลืมไม่ลง” ที่สุรพลได้ขับร้องเอาไว้ก่อนแล้วเมื่อปี 2501 แล้วแต่ไม่ดัง ปรากฏว่าเมื่อเพลงนี้ได้ออกเผยแพร่ทางวิทยุแล้วก็ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงยิ่ง ทำให้ผ่องศรีมีชื่อเสียงโด่งดังขึ้นอย่างรวดเร็ว ขณะที่เพลง “ลืมไม่ลง “ ก็กลับมาได้รับความนิยมอย่างสูงด้วยเช่นกัน ในยุคนั้นเห็นจะไม่มีเพลงตอบโต้เพลงไหน จะโด่งดังและได้รับความนิยมจากแฟนเพลงมากเท่ากับเพลง “ ลืมไม่ลง “ กับ “ ไหนว่าไม่ลืม “จนทำให้ทั้งสองคนกลายมาเป็นนักร้องขวัญใจเพลงแก้คู่ชายหญิงคู่แรกของเมืองไทยไป
 
ผ่องศรี วรนุช เล่าเอาไว้ว่า "...พี่พล อัดเพลง “ลืมไม่ลง “ มาปีหนึ่งก็ไม่ดัง ขายไม่ได้ พี่พลเคยเจอเรา เขาคงไปพูดกับนายห้างคาเธ่ย์ บอก...เฮ้ย กูเจอเด็กคนหนึ่ง สมัยก่อนเขาพูดมึงๆ กูๆ...แต่มันไม่สวย มันขี้เหร่ กูจะแต่งเพลงแก้ให้ มึงเป็นคนออกทุน...อะไรอย่างนี้ กูจะให้เด็กคนนี้อัดแผ่นแก้กับกู.." "เสร็จแล้วเขาก็มาจ้างเราให้อัดเพลง “ไหนว่าไม่ลืม “ เราก็อัดเป็นการโต้ตอบ เพลงดังเพราะได้นายทุนดี อีกอย่างหนึ่ง สมัยนั้นนักร้องหญิงไม่มีใครเลย พอเราอัดแผ่น ทั้งพี่วงจันทร์ ไพโรจน์ , สมศรี ม่วงศรเขียว เริ่มดินสายออกต่างจังหวัด เพลง “ ไหนว่าไม่ลืม “ เกิดโด่งดังขึ้นมา พี่พลเขาก็เอาเพลง “ ลืมไม่ลง “ ออกมา ปรากฏว่าขายได้ดี"
 
จากนั้นเธอก็ได้ร้องเพลงแก้กับสุรพลอีกหลายเพลง เช่นหนาวแล้วหรือพี่ แก้กับเพลงหนาวจะตายอยู่แล้ว เพลงอาลัยรัก แก้เพลงลูกแก้วเมียขวัญ เพลงน้ำตาเมียหลวง แก้เพลงน้ำตาผัว เป็นต้น
 
จากนั้นมา บรรดานักร้องชายทั้งหลายต่างปรารถนาที่จะได้ร้องเพลงร่วมกับผ่องศรีด้วยกันทั้งสิ้น เพราะโอกาสที่เพลงนั้นๆ จะดังตามเพลงของผ่องศรีไปด้วยมีสูงมาก ทำให้มีนักร้องชายที่โด่งดังเกิดขึ้นในวงการมากมาย
 
แต่ต่อมา สุรพลกับผ่องศรีมีเหตุผิดใจกันในภายหลัง เนื่องจากสุรพล ไม่สามารถออกตระเวนเล่นดนตรีได้ เพราะเป็นข้าราชการทหารอากาศ ตามนโยบายของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น ผ่องศรีจึงขออนุญาตไปร้องเพลงกับวงดนตรีคณะอื่น เมื่อวงดนตรีสุรพลกลับมาเล่นได้ใหม่ แต่ผ่องศรีไม่สามารถปลีกตัวจัดคิวไปร้องได้ จึงเกิดความบาดหมางกันตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ผ่องศรี วรนุช เล่าว่า..."เมื่อมาตามเราที่บ้านไม่เจอ เจอแต่แม่ แม่บอกว่าผ่องศรีไปนครสวรรค์อาทิตย์หนึ่ง พี่พลแกโกรธ ด่าเราฉิบหายวายป่วงเลย...โกรธกันหลายปี จนกระทั่งพี่พลตายจากกัน แกไม่เคยรับไหว้เราเลย และไม่เคยยกโทษให้เราด้วย"
นอกจากนี้ เมื่อเวลาที่สุรพลไปจัดรายการทางสถานีวิทยุ ก็จะต่อว่าต่อขานอยู่ตลอดเวลา และยังแต่งเพลงด่าอีกด้วย "พี่พลแต่งเพลง “แก้วลืมดง “ ด่าเรา เราก็ตอบโต้เพลง “ สาลิกาลืมไพร “ เพลงนั้นดังใหญ่เลย ใครไม่รู้คิดว่าเราทรยศเขา ทั้งๆ ที่บอกเขาว่า ถ้าหากไม่มีงาน หนูก็ไปร้องคณะอื่นนะ"
 
"เลิศชาย คชยุทธ" เล่าถึงเหตุการณ์ที่น่าสนใจในประวัติศาสตร์ของวงการเพลงลูกทุ่งของคู่นักร้องขวัญใจชาวไทยไว้ว่า ครั้งหนึ่ง เมื่อผ่องศรี ได้รับเชิญให้ไปร้องเพลงร่วมกันกับวงดนตรีของสุรพลที่นครราชสีมา สุรพลไม่เต็มใจต้อนรับ ทั้งยังบอกลูกวงไม่ให้ไหว้ผ่องศรีอีกด้วย การแสดงบนเวทีวันนั้น หลังจากปล่อยนักร้องไปได้ครึ่งชั่วโมง พิธีกรบนเวทีก็ประกาศว่า “ ต่อไปนี้ พบกับ ผ่องศรี วรนุช ราชินีลูกทุ่ง และสุรพล สมบัติเจริญ ราชาลูกทุ่ง ผู้เป็นคู่รักคู่แค้นจะมาเจอกันในวันนี้ วันนี้จึงเป็นวันสำคัญ แห่งประวัติศาสตร์ของวงการเพลงที่เขาและเธอจะได้เผชิญหน้ากัน"
ผ่องศรีก็ให้รายละเอียดของเหตุการณ์อันน่าระทึกใจในวันนั้นไว้อีกว่า "คนมันก็ฮือซิ โอ้โห......ตานี้ไม่นั่งดูแล้วคนดู มันยืนกันแทบโรงหนังจะแตก คนอยากรู้ว่าเราสองคนจะเผชิญหน้ากันอย่างไร พี่พลเขาร้องเพลง “ ลืมไม่ลงก่อน “ ร้องจบไปปุ๊บ เขาก็เดินข้างๆ แต่ยังไม่เข้าโรง ดนตรีก็ขึ้นเพลง “ ไหนว่าไม่ลืม “ เราเดินไป ขณะที่ร้อง คนดูก็พูดกันใหญ่ แซดเลย บอกว่าเข้าหากัน เข้าหากัน ให้ดีกันซะ ให้ดีกัน อะไรอย่างนี้ โอ๊ย.... เจี๊ยวเลย หูเราไม่ได้ยินเสียงดนตรีได้ยินแต่เสียงประชาชนคนดู พูดอยู่ตลอดเวลาว่าให้ดีกันซะ อย่าโกรธกัน อย่าแสนงอน เขาว่าสุรพลนี่แสนงอน ผ่องศรีเขามาง้อแล้ว" "ร้องเพลงยังไม่ทันจบเพลง คนฮือขึ้นมาบนเวทีเลย หมายจะจับให้เราดีกัน เพราะพี่พลเขาเดินหนีตลอด เราก็เดินเข้าหา พอเราเดินตาม แกก็เดินหนีตลอดเวลา จะไม่ยอมดีด้วย คนก็ไปฮือบนเวที มีคนเอาน้ำแข็งปาไปบนเวที โป๊ะๆๆๆ ขึ้นไป มีเสียงคนพูด เดี๋ยวเถอะๆ เดี๋ยวน่าดู อะไรอย่างนี้ พี่พลเขาก็ยักคิ้วหลิ่วตาเล่นกับคนดู แต่เขารู้ว่าคนดูไม่โกรธ ต้องการให้เราคืนดีกัน ให้กลับมาร่วมหัวจมท้ายอะไรอย่างนี้ พี่พลก็ไม่ยอม"
 
"ทีนี้คนขึ้นมามาก เราก็กลัวซิ กลัวจะมารุมสกรัม เพราะไม่รู้เขาจะเกลียดเราหรือเปล่า เขาจะเกลียดพี่พลหรือเปล่า ร้องเพลงเกือบจบเพลง เห็นท่าไม่ดี จึงทิ้งไมค์มุดออกรั้วไปเลย วันนั้นไม่ได้ร้องเลย แจ้นกลับกรุงเทพฯ เก็บเสื้อผ้ากลับเลย เล่นไม่ได้เลย วันนั้นน่ะวงดนตรีต้องเลิก เวทงเวทีแทบจะพัง...ที่จะเล่นรอบสองเล่นไม่ได้ โรงแตกเลย"...
 
ชีวิตของผ่องศรีรุ่งโรจน์ขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งในปี 2508 ก็ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทานเป็นครั้งแรกจากการขับร้องเพลง “กลับบ้านเถิดพี่” ซึ่งเป็นผลงานการประพันธ์ของ สมโภชน์ ล้ำพงษ์ เมื่อมีชื่อเสียงโด่งดังเต็มที่ และเป็นนักร้องลูกทุ่งหญิงยอดนิยมอันดับ 1 ของเมืองไทยแล้ว ก็ได้จัดตั้งวงดนตรีลูกทุ่งของตนเองขึ้น และประสบความสำเร็จได้รับการต้อนรับจากประชาชนอย่างอบอุ่นยิ่ง เพราะนักร้องหัวหน้าวงมีผลงานที่ประชาชนให้การยอมรับ และนับเป็นวงดนตรีลูกทุ่งวงแรกของเมืองไทยที่มีหัวหน้าเป็นผู้หญิง
 
ภายหลังจากที่ครูสุรพล สมบัติเจริญ ถูกลอบยิงจนเสียชีวิตเมื่อปี 2511 บรรดาสื่อมวลชนทั้งหลายต่างพากันขนานนามเพื่อเป็นเกียรติแก่ยอดศิลปินเพลงลูกทุ่งผู้วายชนม์ท่านนี้ให้เป็น “ราชาเพลงลูกทุ่ง” และเนื่องจากสุรพล และผ่องศรี วรนุช เป็นนักร้องคู่ขวัญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์วงการเพลงลูกทุ่งไทย สื่อมวลชนจึงได้ขนานนามให้คุณผ่องศรีเป็น “ราชินีเพลงลูกทุ่ง” ไปด้วย
 
นอกจากรางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทานที่คุณผ่องศรีได้รับเมื่อปี 2508 แล้ว ท่านยังได้รับรางวัลที่เป็นเครื่องหมายแห่งความสามารถอีกมากมาย อาทิ ได้รับแผ่นเสียงทองคำพระราชทานรางวัลอีกครั้ง จากเพลง “โธ่ผู้ชาย” เมื่อปี 2522 ได้รับรางวัลเสาอากาศทองคำพระราชทาน 3 ปีซ้อน จากเพลง “กินข้าวกับน้ำพริก” เมื่อปี 2518 เพลง “เขาเมาทุกวัน” เมื่อปี 2519 และเพลงจันทร์อ้อน เมื่อปี 2520 ทำให้ได้รับรางวัลพระราชทานพิเศษจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะผู้ชนะเลิศรางวัลเสาอากาศทองคำ 3 ปีซ้อนเมื่อปี 2521 และในปีเดียวกันนี้ยังได้รับรางวัลเสาอากาศทองคำพระราชทานนี้อีกครั้งจากเพลงสาลิกาคืนถิ่น แต่ละสิทธิ์
 
เคยได้รับตำแหน่งนักร้องยอดนิยม "สถานีวิทยุเสียงสามยอดเมื่อปี 2518 จากเพลง "กินข้าวกับน้ำพริก"
 
นอกจากนั้น ก็ยังได้รับรางวัลพระราชทานเนื่องในงานกึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทยครั้งที่ 1 จากเพลงไหนว่าไม่ลืม และครั้งที่ 2 จากเพลง ฝากดิน ได้รับการประกาศเกียรติคุณในฐานะนักร้องผู้ใช้ภาษาไทยได้อย่างถูกต้องและชัดเจน เมื่อปี 2534
 
เมื่ออายุมากขึ้น คุณผ่องศรีก็ได้เลิกวงดนตรี และรับงานการแสดงน้อยลง แต่ยังคงออกแสดงในงานสำคัญต่างๆ เป็นครั้งคราว ทั้งยังได้ช่วยกิจกรรมการกุศลและสาธารณประโยชน์อย่างสม่ำเสมอ
 
ผ่องศรี วรนุช นับเป็นผู้ที่ใช้พรสวรรค์ และความสามารถสร้างตนเองมาจากเด็กหญิงตัวเล็กๆ จนประสบความสำเร็จอย่างสุดยอด เป็นนักร้องเพลงลูกทุ่งที่ได้รับความนิยมสูงสุดอย่างต่อเนื่องและยาวนาน มีผลงานเพลงยอดนิยมอันเป็นอมตะนับไม่ถ้วน เป็นนักร้องลูกทุ่งต้นแบบที่นักร้องหญิงรุ่นหลังยึดถือเป็นแบบฉบับ และพยายามเจริญรอยตาม เป็นผู้ที่ได้สร้างนักร้องชายจนมีชื่อเสียงโด่งดังมากมายหลายคน และเป็นศิลปินอาวุโสที่ได้รับความเคารพรักและยกย่องจากบุคคลทั้งในและนอกวงการเพลงโดยทั่วไป จากเกียรติคุณทั้งหมดนี้ ทำให้ท่านได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง(นักร้องลูกทุ่ง) เมื่อปี 2535
 
สำหรับชีวิตครอบครัว ผ่องศรี วรนุช เคยใช้ชีวิตอยู่กับเทียนชัย สมยาประเสิรฐ นักร้องนักแต่งเพลงลูกทุ่งชื่อดัง ก่อนที่จะเลิกรากันไป และต่อมาได้มาอยู่กินกับ ราเชนทร์ เรืองเนตร นักดนตรีชื่อดัง จนราเชนทร์ เสียชีวิตไปในปี 2541 โดยไม่มีทายาทแต่ประการใด ปัจจุบัน พักอยู่ที่บ้านย่านพุทธมณฑล สาย 5
 
== รางวัล ==