ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฤดูแล้ง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
LuporumĀter (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มเติมรายละเอียดของเนื้อหา
Mr.BuriramCN (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{รอการตรวจสอบ}}
{{สั้นมาก}}
{{สภาพอากาศ}}
'''ฤดูแล้ง''' เป็น[[ฤดู]]ใน[[เขตร้อน]] เป็นช่วงที่มีอากาศแห้งและมีฝนตกน้อย ฤดูแล้งประกอบด้วย[[ฤดูร้อน]]({{lang-en|Summer}}) และ[[ฤดูหนาว]]({{lang-en|Winter}}) โดยฤดูแล้งนั้น เป็นนิยามนี้มักใช้ในเขตร้อน โดยมักกินเวลาตั้งแต่เดือนตุลาคมจนถึงประมาณเดือนมีนาคม ในช่วงต้นของฤดูแล้ง ปริมาณหยาดน้ำฟ้าโดยรวมจะลดลงเป็นอย่างมากและแทบจะไม่มีหยาดน้ำฟ้าเลยในช่วงกลางฤดูแล้งจนกว่าจะถึงช่วงต้นฤดูฝนอีกครั้ง ในระหว่างที่อยู่ในช่วงฤดูแล้ง สภาพอากาศที่เห็นได้ชัดคือ จะลักษณะฟ้าโปร่ง แดดแรง ความชื้นต่ำ มีปริมาณหยาดน้ำฟ้าเฉลี่ยน้อยกว่า 60 มิลลิเมตร<ref>{{cite web|url=https://www.hydrol-earth-syst-sci.net/11/1633/2007/hess-11-1633-2007.pdf|title=Updated world map of the K ̈oppen-Geiger climate classification|publisher=Hydrology and Earth System Sciences|author=M. C. Peel|accessdate=8 มิถุนายน 2563}}</ref> ส่วนอุณหภูมินั้น ขึ้นอยู่กับละติจูดและทิศทางของลมประจำฤดูที่พัดเข้ามาในเขตนั้นๆ จากลักษณะเด่นของฤดูแล้งดังที่กล่าวมานั้น ทำให้ช่วงฤดูแล้งมักมีปัญหาด้านน้ำสำหรับอุปโภคบริโภค และกระทบกับการเกษตร เนื่องจากการระเหยของน้ำอย่างต่อเนื่องโดยไม่มีหยาดน้ำฟ้าใหม่เข้ามาทดแทน หรือมีมาทดแทนน้อย<ref>{{cite web|url=https://siamrath.co.th/n/125136|title=ฤดูแล้ง 63 ทุกภาคส่วนต้องตรียมการรับมือ|publisher=สยามรัฐ|accessdate=8 มิถุนายน 2563}}</ref>
เส้น 9 ⟶ 7:
ฤดูแล้งในประเทศไทยจะเห็นได้ชัดเจนตั้งแต่ตอนกลางของประเทศขึ้นไป โดยจะมีความแตกต่างด้านอุณหภูมิในตัวฤดู ทำให้สามารถแบ่งแยกออกเป็น 2 ฤดูย่อย คือ ฤดูหนาว และฤดูร้อน
ฤดูหนาวจะเริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ โดยอุณหภูมิเฉลี่ยจะค่อยๆลดลง จนต่ำสุดในช่วงกลางเดือนธันวาคมถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์ เนื่องจากอิธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ<ref>{{cite web|url=https://www.tmd.go.th/info/info.php?FileID=52|title=ลมมรสุม|publisher=กรมอุตุนิยมวิทยา|accessdate=8 มิถุนายน 2563}}</ref>ที่นำเอามวลอากาศเย็น (มวลความกดอากาศสูง) จากประเทศจีนลงมา ส่วนฤดูร้อนนั้นเป็นช่วงที่ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือเริ่มมีอิทธิพลน้อยลง เนื่องจากเป็นเปลี่ยนจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ประกอบกับการที่ซีกโลกเหนือเริ่มหันเข้าสู่ดวงอาทิตย์ ทำให้แสงอาทิตย์สามารถส่องเข้ามาได้เต็มที่โดยที่ลมที่คอยพัดกระจายความร้อนไม่ค่อยมี ทำให้สามารถสะสมความร้อนจนอากาศร้อนถึงร้อนจัดได้ แต่อย่างไรก็ตาม ความกดอากาศสูงจากจีนก็ยังมีการแผ่ลงมาเป็นระยะ ทำให้เกิดการประทะกันของมวลอากาศเย็นและมวลอากาศร้อนที่สะสมตัวมาก่อนแล้ว จนเกิดเป็นพายุฤดูร้อนขึ้นมาได้<ref>{{cite web|url=https://www.tmd.go.th/info/info.php?FileID=23|title=ภูมิอากาศของประเทศไทย|publisher=กรมอุตุนิยมวิทยา|accessdate=8 มิถุนายน 2563}}</ref>
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
 
{{ฤดู}}