ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JulladaNARIT (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
JulladaNARIT (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 105:
 
== สถานที่ในกำกับดูแล ==
[[ไฟล์:AstroPark01.jpg|thumb|อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร]]
[[ไฟล์:Thai National Observatory.jpg|260px|thumb|หอดูดาวแห่งชาติ]]
=== จังหวัดเชียงใหม่ ===
เส้น 115 ⟶ 116:
 
=== ต่างจังหวัด - '''[[หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา|หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา ภูมิภาค]]''' ===
[[ไฟล์:ROP-CCO.jpg|thumb|หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ฉะเชิงเทรา]]
สดร. ดำเนินโครงการก่อสร้างหอดูดาวภูมิภาคสำหรับประชาชน จำนวน  5 แห่ง ได้แก่ นครราชสีมา ฉะเชิงเทรา สงขลา ขอนแก่น และพิษณุโลก มีเป้าหมายให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ดาราศาสตร์สำหรับประชาชนและสถานศึกษาในท้องถิ่น สนับสนุนการบริการวิชาการดาราศาสตร์แก่ชุมชน สนับสนุนการจัดการเรียนการสอนของสถาบันการศึกษา รวมทั้งเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวิชาการที่สำคัญของภูมิภาค
 
เส้น 124 ⟶ 126:
 
=== ต่างประเทศ ===
[[ไฟล์:NARIT_Robotic_Telescope_in_Chile.jpg|thumb|กล้องโทรทรรศน์ทางไกลอัตโนมัติ ณ Cerro Tololo Inter-american Observatory, Chile]]
สดร. ติดตั้งกล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.4-0.7 เมตร ในต่างประเทศ ณ พื้นที่มีทัศนวิสัยที่เหมาะสมต่อการสังเกตการณ์วัตถุท้องฟ้า ควบคุมการทำงานจากระยะไกลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทำให้สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงของวัตถุท้องฟ้าได้ตลอดเวลาทั้งซีกฟ้าเหนือและซีกฟ้าใต้ นอกจากนี้ ยังสนับสนุนงานวิจัยระดับโรงเรียนโดย ครู อาจารย์ และนักเรียนอีกด้วย ปัจจุบัน ติดตั้งแล้วเสร็จ 4 แห่ง ได้แก่
 
เส้น 159 ⟶ 162:
 
==== '''อะแดปทีฟออปติกส์และโคโรนากราฟ (Adaptive Optics and Coronagraph)''' ====
[[ไฟล์:Evanescent_Wave_Coronagraph.jpg|thumb|Evanescent Wave Coronagraph]]
   สถาบันวิจัยดาราศาสตร์อยู่ในระหว่างการพัฒนาโคโรนากราฟในรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า Evanescent Wave Coronagraph สำหรับการสังเกตการณ์ดาวฤกษ์ในช่วงอินฟราเรดใกล้และช่วงแสงที่ตามองเห็น ใช้สำหรับการสังเกตการณ์ทั้งบนพื้นโลกและในอวกาศ อุปกรณ์นี้มีศักยภาพมากพอสำหรับการศึกษา การค้นหาดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ ดาวฤกษ์ที่อยู่ติดกัน รวมไปถึงการสังเกตการณ์ของควาซาร์และใจกลางของกาแล็กซี
 
เส้น 191 ⟶ 195:
 
==== '''การพัฒนาระบบควบคุมกล้องโทรทรรศน์แบบใหม่ (Development of Next Generation Telescope Control System)''' ====
[[ไฟล์:NARIT_Telescope_Control_System.jpg|thumb|ระบบควบคุมกล้องโทรทรรศน์]]
ปัจจุบันกล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางขนาด 2.4 เมตร ของประเทศไทย ให้บริการแก่นักวิจัยทั้งในและต่างประเทศแต่ละปีไม่น้อยกว่า 215 คืน มีอายุการใช้งานมาแล้วเกือบ 4 ปี ส่งผลให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของระบบควบคุมกล้องโทรทรรศน์บางอย่างหมดอายุจนไม่สามารถทำงานอย่างปกติ เช่น บอร์ดควบคุมมอเตอร์ บอร์ดควบคุมการสื่อสารแบบ CAN bus เป็นต้น การแก้ไขปัญหาดังกล่าวเบื้องต้น ใช้วิธีจัดซื้อชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์นำไปทดแทนของเดิม เพื่อให้กล้องโทรทรรศน์สามารถใช้งานได้เป็นปกติ แต่เนื่องจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของระบบควบคุมกล้องโทรทรรศน์ เป็นอุปกรณ์ที่ค่อนข้างเฉพาะและมีความซับซ้อน บางอุปกรณ์หาซื้อได้ยากในปัจจุบันบางชิ้นส่วนได้ยกเลิกการผลิตไปแล้ว เป็นปัญหาและความเสี่ยงที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่ออายุการใช้งานกล้องโทรทรรศน์
 
เส้น 198 ⟶ 203:
 
==== การพัฒนาระบบวัดค่าทัศนวิสัยท้องฟ้า ====
[[ไฟล์:NARIT_Weather_Station.jpg|thumb|ระบบวัดค่าทัศนวิสัยท้องฟ้า]]
สดร. ได้พัฒนาอุปกรณ์และติดตั้งระบบวัดค่าทัศนวิสัยท้องฟ้า สำหรับสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ ณ หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา หรือหอดูดาวแห่งชาติ บนดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่  โดยใช้วิธี Differential Image Motion Monitor (DIMM)
 
เส้น 215 ⟶ 221:
 
=== 3) ห้องปฏิบัติการขึ้นรูปชิ้นงานความละเอียดสูง ===
[[ไฟล์:การขึ้นรูปชิ้นงานความละเอียดสูง.jpg|thumb|การขึ้นรูปชิ้นงานความละเอียดสูง]]
ปัจจุบันเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ขั้นสูง เช่น ดาราศาสตร์ การแพทย์ และวิศวกรรม ฯลฯ ถูกพัฒนาให้มีความแม่นยำในระดับสูงมาก ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่สนับสนุนให้เครื่องมือเหล่านั้นมีความแม่นยำสูง ได้แก่ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการออกแบบและขึ้นรูปชิ้นงานที่มีความละเอียดสูงในระดับไมครอน ซึ่งนับเป็นเทคโนโลยีสำคัญในการผลักดันประเทศให้มีความสามารถในการแข่งขันทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และวิศวกรรม
 
เส้น 240 ⟶ 247:
 
แต่เนื่องจากในประเทศไทยไม่มีเครื่องเคลือบกระจกที่จะสามารถรองรับกระจกขนาดใหญ่ถึง 2.4 เมตร ทางสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)  และสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน)  จึงร่วมกันออกแบบและพัฒนาระบบเคลือบกระจกกล้องโทรทรรศน์สำหรับหอดูดาวแห่งชาติขึ้น เพื่อผลิตเครื่องเคลือบกระจกขนาดใหญ่ที่มีเทคโนโลยีการเคลือบกระจกที่ทันสมัยใช้ระบบสูญญากาศที่ใช้เทคนิค Sputtering ในการเคลือบผิว สามารถควบคุมความหนาของฟิล์มบาง ให้มีความเรียบสม่ำเสมอ มีความหนาระดับนาโนเมตร ถึงไมโครเมตร มีค่าความเรียบในระดับดีมาก สามารถนำไปประยุกต์ในการเคลือบโลหะอื่นๆ ในงานอุตสาหกรรมได้ มีคุณภาพดีทัดเทียมกับการนำเข้าจากต่างประเทศ และเป็นเครื่องเคลือบกระจกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจะใช้เคลือบกระจกกล้องโทรทรรศน์หอดูดาวแห่งชาติแล้ว ยังสามารถนำมาให้บริการเคลือบกระจกสะท้อนแสงของกล้องโทรทรรศน์ที่มีขนาดเล็กกว่า 2.4 เมตร ที่มีอยู่สถาบันการศึกษาและหน่วยงานต่าง ๆ ได้ด้วย
[[ไฟล์:Mirror_Coating_Machine.jpg|thumb|เครื่องเคลือบกระจก]]
 
เครื่องเคลือบกระจกดังกล่าว สามารถควบคุมความหนาของฟิล์มบางได้ในระดับนาโนเมตร-ไมโครเมตร โดยมีความเรียบสม่ำเสมอ เพื่อให้มีสมบัติการสะท้อนแสงที่ดีตามหลักทัศนศาสตร์ (การสะท้อนแสงของฟิล์มบางอะลูมิเนียมเท่ากับ 90 เปอร์เซนต์)
 
เส้น 294 ⟶ 301:
 
== '''การสร้างความตระหนักและความตื่นตัวด้านดาราศาสตร์สู่สังคมไทย''' ==
[[ไฟล์:NARIT_Public_Outreach_Events.png|thumb|กิจกรรมดาราศาสตร์สำหรับประชาชน]]
สดร. สร้างความตระหนัก และสื่อสารดาราศาสตร์ไปสู่สาธารณชนในหลากหลายรูปแบบ ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายทุกระดับ ทั้งเด็กและเยาวชน ครูอาจารย์ ประชาชนทั่วไป และนักดาราศาสตร์สมัครเล่น เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ กระตุ้นความสนใจ ยกระดับและสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แต่ละกิจกรรมที่จัดขึ้น ได้คำนึงถึงเนื้อหาที่เหมาะสม และสอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมรวมมากกว่า 200,000 คน ต่อปี