ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระราชวังต้องห้าม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Ahcuna (คุย | ส่วนร่วม)
Ahcuna (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 124:
พระราชวังต้องห้ามนั้นยังคงมีความสำคัญในโครงการเทศบาลของปักกิ่ง แกนแนวกลาง เหนือ–ใต้ที่เหลืออยู่ใน[[แกนกลางของปักกิ่ง]] แกนนี้ขยายออกไปทางใต้จนถึงประตูเทียนอันเหมินไปยัง[[จตุรัสเทียนอันเหมิน]] ซึ่งเป็นลานประชาชนของสาธารณรัฐประชาชนจีน และยาวไปจนถึง[[ประตูหย่งติ้ง]] ส่วนทางด้านเหนือขยายไปจนถึง[[สวนจิ่งชาน|เนินเขาจิ่งชาน]] ถึง[[กู่โหลวและจ่งโหลว|หอระฆังและกลอง]]<ref>{{cite news|title=北京确立城市发展脉络 重塑7.8公里中轴线 (Beijing to establish civic development network; Recreating 7.8&nbsp;km central axis)|url=http://house.people.com.cn/chengshi/20060530/article_5338.html|publisher=People Net|date=2006-05-30|accessdate=2007-07-05|language=Chinese}}</ref> แกนนี้ไม่ได้ขยายไปในแนวเหนือใต้ตรง ๆ แต่มีความเอียงเล็กน้อยสององศา การศึกษาเชื่อว่าแกนนี้ถูกออกแบบในสมัย[[ราชวงศ์หยวน]]เพื่อให้สอดคล้องกับ[[แหล่งแซนาดู]] ซึ่งเป็นเมืองหลวงแห่งอื่นของอาณาจักร<ref>{{cite news|first=Feng|last=Pan|title=探秘北京中轴线 (Exploring the mystery of Beijing's Central Axis)|url=http://www.cas.ac.cn/html/Dir/2005/03/02/5202.htm|work=Science Times|publisher=[[Chinese Academy of Sciences]]|date=2005-03-02|accessdate=2007-10-19|language=Chinese|archiveurl = https://web.archive.org/web/20071211101908/http://www.cas.ac.cn/html/Dir/2005/03/02/5202.htm |archivedate = 2007-12-11|deadurl=yes}}</ref>
 
นักวิชาการด้านสถาปัตยกรรมมีความเห็นว่า หากพิจารณาด้านจังหวะการจัดวางอาคารบน[[แกนกลางของปักกิ่ง|เส้นแกนกลาง]] จะพบว่าแนวคิดเบื้องหลัง[[ประตูต้าชิง]]คือการเลือกใช้วิธีกดลงแล้วค่อยยกขึ้น หรือทำให้ดูเรียบง่ายก่อนแล้วกระตุ้นอารมณ์ภายหลัง ให้ความรู้สึกเหมือนค่อย ๆ ก้าวไปสู่พระราชวังอันยิ่งใหญ่งดงามและน่าเกรงขาม เมื่อคณะทูตจากต่างแดนมาถวายบรรณาการ ตามระเบียบพระราชพิธีจะต้องผ่านประตูต้าชิงเพื่อเข้าไปเฝ้า โดยต้องเดินประมาณ 1,500 เมตร ผ่านทั้ง 5 ประตู ข้ามลานจตุรัสหลายลานไปจนถึงจตุรัสหน้าพระที่นั่งไท่เหอ สิ่งเหล้านี้เป็นอิทธิพลจากคติ "โอรสสวรรค์จะต้องมี 5 ประตู 3 เขตพระราชฐาน" ของพระราชวังตามขนบดั้งเดิมของจีน ซึ่งประกอบไปด้วย 5 ประตู ได้แก่ [[ประตูเทียนอัน]] [[ประตูตวน]] [[ประตูอู่]] [[ประะตูไท่เหอ]]
และ[[ประตูเฉียนชิง]] และ 3 เขตพระราชฐาน คือ [[พระราชวังต้องห้าม#เขตพระราชทานชั้นนอก|เขตพระราชทานชั้นนอก]] [[พระราชวังต้องห้าม#เขตพระราชทานชั้นกลาง|เขตพระราชฐานชั้นกลาง]] และ[[พระราชวังต้องห้าม#เขตพระราชทานชั้นใน|เขตพระราชฐานชั้นใน]]
 
=== กำแพงและประตูวัง ===
บรรทัด 149:
ประตู "ตงหวาเหมิน" และประตู "ซีหวาเหมิน" ตั้งอยู่ที่ปีกสองฝั่งของพระราชวังต้องห้าม หน้าประตู "ซีหวาเหมิน" มีหินที่เป็นสัญลักษณ์ว่าให้ลงม้า หลังประตูมี "แม่น้ำทอง" ไหลจากทิศใต้ไปสู่ทิศเหนือ และมีสะพานหินแห่งหนึ่ง จากสะพานไปทิศเหนือมีประตูเล็กอีกสามแห่ง ประตู "ตงหวาเหมิน" และ "ซีหวาเหมิน" เป็นรูปสี่เหลี่ยมเหมือนกัน มีฐานสีแดง มีลายสลักรูปเขาพระสุเมรุทำด้วยหินอ่อนสีขาวสะอาด ในตอนกลางเปิดประตู 3 แห่ง มีกำแพงสองชั้น ชั้นนอกทรงสี่เหลี่ยม ชั้นในทรงกลม และบนกำแพงได้สร้างหอพลับพลาไว้ มุงด้วยกระเบื้องเคลือบสีเหลืองและหลังคาสองชั้น มีความกว้างเท่ากับห้อง 5 ห้อง ความลึกเท่ากับห้อง 3 ห้อง ภายหลังจักรพรรดิสิ้นพระชนม์แล้ว ต้องส่งพระศพออกทางประตู "ตงหวาเหมิน" จึงเรียกแบบไม่สุภาพว่า "ประตูผี"
 
ภายในประตู "อู่เหมิน" มีลานที่กว้างใหญ่แห่งหนึ่ง และมีสะพานอยู่เหนือ "แม่น้ำทอง" ที่ทอดตัวจากทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก จากที่นี่ไปทางทิศเหนือก็มาถึงประตู "ไท่เหอเหมิน" สองข้างมีห้องพักของข้าราชการและระเบียง มีสะพานอยู่เหนือ "แม่น้ำทอง" 5 แห่ง ประกอบด้วยราวสะพานหินอ่อนสีขาว เสมือนสายหยก
-->
 
บรรทัด 174:
ด้านใต้ฝั่งตะวันตกและด้านใต้ฝั่งตะวันออกของเขตพระราชฐานชั้นนอกเป็นพระตำหนักอู่หยิง (H) และพระตำหนักเหวินฮวา (J) ซึ่งในอดีตเคยถูกใช้สำหรับฮ่องเต้เสด็จออกรับเหล่ารัฐมนตรีและการเปิดศาล ต่อมาถูกเปลี่ยนเป็นที่ตั้งของโรงพิมพ์ในพระราชวัง อีกพระตำหนักถูกใช้เป็นสถานที่บรรยายพิธีการทางศาสนาโดยนักพรตขงจื้อขั้นสูงที่ได้รับการยกย่อง และต่อมาถูกเปลี่ยนเป็นสำนักงานราชเลขาธิการ สำเนาของหนังสือ''[[ซื่อคูเฉียนชู]]''ถูกเก็บรักษาไว้ที่นี่ ส่วนด้านเหนือฝั่งตะวันออกเป็นหมู่พระที่นั่งหน่านซัน (หมู่พระที่นั่งไตรทักษิณา) ({{linktext|南|三|所}}) (K) ซึ่งเป็นที่ประทับขององค์รัชทายาท<ref name="Yu 49">p. 49, Yu (1984)</ref>
 
=== เขตพระราชทานชั้นกลาง ===
<!--
วังหน้ามี 3 พระตำหนัก เป็นศูนย์กลางที่สร้างอยู่บนเส้นแกนตรงกันเป็นเส้นตรง ดังนี้