ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ดาราศาสตร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1:
== สาขาวิชาหลักของดาราศาสตร์ ==
=== จักรวาลวิทยา ===
{{บทความหลัก|จักรวาลวิทยาเชิงกายภาพ}}
 
จักรวาลวิทยา ({{lang-en|cosmology}}; มาจากคำใน[[ภาษากรีก]]ว่า ''κοσμος'' "cosmos" หมายถึง เอกภพ และ ''λογος'' หมายถึง การศึกษา) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับเอกภพทั้งหมดในภาพรวม
 
การสังเกตการณ์[[โครงสร้างขนาดใหญ่ของเอกภพ]] เป็นสาขาวิชาหนึ่งที่เรียกว่า [[จักรวาลวิทยาเชิงกายภาพ]] ช่วยให้เรามีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับการกำเนิดและวิวัฒนาการของจักรวาล ทฤษฎีที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปสำหรับพื้นฐานของจักรวาลวิทยาสมัยใหม่ ได้แก่ [[ทฤษฎีบิกแบง]] ซึ่งกล่าวว่าเอกภพของเรากำเนิดมาจากจุดเพียงจุดเดียว หลังจากนั้นจึงขยายตัวขึ้นเป็นเวลากว่า 13.7 พันล้านปีมาแล้ว หลักการของทฤษฎีบิกแบงเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่การค้นพบ[[รังสีไมโครเวฟพื้นหลังของจักรวาล]] ในปี ค.ศ. 1965
 
ตลอดช่วงเวลาการขยายตัวของเอกภพนี้ เอกภพได้ผ่านขั้นตอนของวิวัฒนาการมามากมายหลายครั้ง ในช่วงแรก ทฤษฎีคาดการณ์ว่าเอกภพน่าจะผ่านช่วงเวลา[[การพองตัวของจักรวาล]]ที่รวดเร็วมหาศาล ซึ่งเป็นหนึ่งเดียวกันและเสมอกันในทุกทิศทางในสภาวะเริ่มต้น หลังจากนั้น [[นิวคลีโอซินทีสิส]]จึงทำให้เกิดธาตุต่าง ๆ ขึ้นมากมายในเอกภพยุคแรก
 
เมื่อมีอะตอมแรกเกิดขึ้น จึงมีการแผ่รังสีผ่านอวกาศ ปลดปล่อยพลังงานออกมาดั่งที่ทุกวันนี้เรามองเห็นเป็น[[รังสีไมโครเวฟพื้นหลังของจักรวาล]] เอกภพขยายตัวผ่านช่วงเวลาของ[[ยุคมืด]]เพราะไม่ค่อยมีแหล่งกำเนิดพลังงานของดาวฤกษ์<ref>Hinshaw, Gary (2006-07-13). [http://map.gsfc.nasa.gov/m_uni.html "Cosmology 101: The Study of the Universe"]. NASA [[WMAP]]. เก็บข้อมูลเมื่อ 2006-08-10.</ref>
 
เริ่มมีการจัดโครงสร้างลำดับชั้นของสสารขึ้นนับแต่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงความหนาแน่นของสสาร สสารที่รวมกลุ่มกันอยู่เป็นบริเวณหนาแน่นที่สุดกลายไปเป็นกลุ่มเมฆแก๊สและดาวฤกษ์ยุคแรกสุด ดาวฤกษ์มวลมากเหล่านี้เป็นจุดกำเนิดของกระบวนการแตกตัวทางไฟฟ้าซึ่งเชื่อว่าเป็นต้นกำเนิดของธาตุหนักมากมายที่อยู่ในเอกภพยุคเริ่มต้น
 
ผลจากแรงโน้มถ่วงทำให้มีการดึงดูดรวมกลุ่มกันเกิดเป็น[[ใยเอกภพ]] มีช่องสุญญากาศเป็นพื้นที่ว่าง หลังจากนั้นโครงสร้างของแก๊สและฝุ่นก็ค่อย ๆ รวมตัวกันเกิดเป็นดาราจักรยุคแรกเริ่ม เมื่อเวลาผ่านไป มันดึงดูดสสารต่าง ๆ เข้ามารวมกันมากขึ้น และมีการจัดกลุ่มโครงสร้างเข้าด้วยกันเป็น[[กลุ่มและกระจุกดาราจักร]] ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในโครงสร้างขนาดใหญ่คือมหากระจุกดาราจักร<ref>[http://www.damtp.cam.ac.uk/user/gr/public/gal_lss.html "Galaxy Clusters and Large-Scale Structure"]. University of Cambridge. เก็บข้อมูลเมื่อ 2006-09-08. </ref>
 
โครงสร้างพื้นฐานที่สุดของจักรวาลคือการมีอยู่ของ[[สสารมืด]]และ[[พลังงานมืด]] ในปัจจุบันเราเชื่อกันว่าทั้งสองสิ่งนี้มีอยู่จริง และเป็นส่วนประกอบถึงกว่า 96% ของความหนาแน่นทั้งหมดของเอกภพ เหตุนี้การศึกษาฟิสิกส์ในยุคใหม่จึงเป็นความพยายามทำความเข้าใจกับองค์ประกอบเหล่านี้<ref>Preuss, Paul. [http://www.lbl.gov/Science-Articles/Archive/dark-energy.html "Dark Energy Fills the Cosmos"]. U.S. Department of Energy, Berkeley Lab. เก็บข้อมูลเมื่อ 2006-09-08. </ref>
 
== ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับสาขาอื่น ==
การศึกษาดาราศาสตร์และ[[ฟิสิกส์ดาราศาสตร์]]ที่ก้าวหน้ามากขึ้น ทำให้มีความเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์สาขาอื่นมากยิ่งขึ้น ดังนี้