ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ดาราศาสตร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1:
== สาขาวิชาหลักของดาราศาสตร์ ==
=== ดาราศาสตร์สุริยะ ===
[[ไฟล์:Uvsun trace big.jpg|thumb|200px|ภาพถ่ายดวงอาทิตย์ในรังสีอัลตราไวโอเลตจาก[[กล้องโทรทรรศน์อวกาศ TRACE]] แสดงให้เห็นทรงกลม[[โฟโตสเฟียร์]]]]
{{บทความหลัก|ดวงอาทิตย์}}
 
[[ดวงอาทิตย์]] เป็นเป้าหมายการศึกษาทางดาราศาสตร์ยอดนิยมแห่งหนึ่ง อยู่ห่างจากโลกไปประมาณ 8 [[นาทีแสง]] เป็นดาวฤกษ์ซึ่งอยู่ใน[[แถบลำดับหลัก]]โดยเป็นดาวแคระประเภท G2 V มีอายุประมาณ 4.6 พันล้านปี ดวงอาทิตย์ของเรานี้ไม่นับว่าเป็น[[ดาวแปรแสง]] แต่มีความเปลี่ยนแปลงในการส่องสว่างอยู่เป็นระยะอันเนื่องจากจากรอบปรากฏของ[[จุดดับบนดวงอาทิตย์]] อันเป็นบริเวณที่พื้นผิวดวงอาทิตย์มีอุณหภูมิต่ำกว่าพื้นผิวอื่น ๆ อันเนื่องมาจากผลของความเข้มข้นสนามแม่เหล็ก<ref name="solar">Johansson, Sverker (2003-07-27). [http://www.toarchive.org/faqs/faq-solar.html "The Solar FAQ"]. Talk.Origins Archive. เก็บข้อมูลเมื่อ 2006-08-11.</ref>
 
ดวงอาทิตย์ส่องแสงสว่างมากขึ้นเรื่อย ๆ ตลอดอายุของมัน นับแต่เข้าสู่แถบลำดับหลักก็ได้ส่องสว่างมากขึ้นถึง 40% แล้ว ความเปลี่ยนแปลงการส่องสว่างของดวงอาทิตย์ตามระยะเวลานี้มีผลกระทบอย่างสำคัญต่อโลกด้วย<ref>Lerner & K. Lee Lerner, Brenda Wilmoth (2006). [http://catalog.loc.gov/cgi-bin/Pwebrecon.cgi?v3=1&DB=local&CMD=010a+2006000857&CNT=10+records+per+page "Environmental issues : essential primary sources."]. Thomson Gale. เก็บข้อมูลเมื่อ 2006-09-11.</ref> ตัวอย่างเช่นการเกิดปรากฏการณ์[[ยุคน้ำแข็งน้อย|ยุคน้ำแข็งสั้น ๆ]] ช่วงหนึ่ง (Little Ice Age) ระหว่างช่วงยุคกลาง ก็เชื่อว่าเป็นผลมาจาก [[Maunder Minimum]]<ref>Pogge, Richard W. (1997). [http://www-astronomy.mps.ohio-state.edu/~pogge/Lectures/vistas97.html "The Once & Future Sun"] (lecture notes). ''[http://www-astronomy.mps.ohio-state.edu/Vistas/ New Vistas in Astronomy]''. เก็บข้อมูลเมื่อ 2005-12-07. </ref>
 
พื้นผิวรอบนอกของดวงอาทิตย์ที่เรามองเห็นเรียกว่า [[โฟโตสเฟียร์]] เหนือพื้นผิวนี้เป็นชั้นบาง ๆ เรียกชื่อว่า [[โครโมสเฟียร์]] จากนั้นเป็นชั้นเปลี่ยนผ่านซึ่งมีอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก ชั้นนอกสุดมีอุณหภูมิสูงที่สุด เรียกว่า [[โคโรนา]]
 
ใจกลางของดวงอาทิตย์เรียกว่าย่านแกนกลาง เป็นเขตที่มี[[อุณหภูมิ]]และ[[ความดัน]]มากพอจะทำให้เกิดปฏิกิริยา[[นิวเคลียร์ฟิวชั่น]] เหนือจากย่านแกนกลางเรียกว่าย่านแผ่รังสี (radiation zone) เป็นที่ซึ่ง[[พลาสมา (สถานะของสสาร)|พลาสมา]]แผ่คลื่นพลังงานออกมาในรูปของรังสี ชั้นนอกออกมาเป็นย่านพาความร้อน (convection zone) ซึ่งสสารแก๊สจะเปลี่ยนพลังงานกลายไปเป็นแก๊ส เชื่อว่าย่านพาความร้อนนี้เป็นกำเนิดของสนามแม่เหล็กที่ทำให้เกิดจุดดับบนดวงอาทิตย์<ref name="solar" />
 
[[ลมสุริยะ]]เกิดจากอนุภาคของพลาสมาที่ไหลออกจากดวงอาทิตย์ ซึ่งจะแผ่ออกไปจนกระทั่งถึงแนว [[เฮลิโอสเฟียร์|heliopause]] เมื่อลมสุริยะทำปฏิกิริยากับสนามแม่เหล็กของโลก ทำให้เกิด[[แนวการแผ่รังสีแวนอัลเลน]]และ[[ออโรร่า]] ในตำแหน่งที่เส้นแรงสนามแม่เหล็กโลกไหลเวียนในชั้นบรรยากาศ<ref>D. P. Stern, M. Peredo (2004-09-28). [http://www-istp.gsfc.nasa.gov/Education/Intro.html "The Exploration of the Earth's Magnetosphere"]. NASA. เก็บข้อมูลเมื่อ 2006-08-22.</ref>
 
=== วิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์ ===
[[ไฟล์:Magnetosphere rendition.jpg|thumb|left|260px|การหักเหของ[[ลมสุริยะ]]จากผลของ[[สนามแม่เหล็ก]]ของดาวเคราะห์]]