ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ดาราศาสตร์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Ahcuna (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1:
{{บทความคัดสรร}}
{{ใช้ปีคศ}}
[[ไฟล์:Milky Way 2005.jpg|thumb|250px|ดาราจักรทางช้างเผือก]]
'''ดาราศาสตร์''' คือวิชา[[วิทยาศาสตร์]]ที่ศึกษา[[วัตถุท้องฟ้า]] (อาทิ [[ดาวฤกษ์]] [[ดาวเคราะห์]] [[ดาวหาง]] และ[[ดาราจักร]]) รวมทั้ง[[ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ]]ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากนอก[[ชั้นบรรยากาศ]]ของ[[โลก]] โดยศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการ ลักษณะทาง[[กายภาพ]] ทาง[[เคมี]] ทาง[[อุตุนิยมวิทยา]] และ[[การเคลื่อนที่]]ของวัตถุท้องฟ้า ตลอดจนถึง[[จักรวาลวิทยาเชิงกายภาพ|การกำเนิดและวิวัฒนาการของเอกภพ]]<ref>[http://www.answers.com/topic/astronomy?cat=technology Definition at Answer.com]</ref><ref>[http://www.merriam-webster.com/dictionary/astronomy Definition at Merriam-Webster.com]</ref><ref>[http://www.brainyquote.com/words/as/astronomy133158.html Definition at BrainyQuote.com]</ref>
 
ดาราศาสตร์เป็นหนึ่งในสาขาของวิทยาศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุด นักดาราศาสตร์ในวัฒนธรรมโบราณสังเกตการณ์ดวงดาวบนท้องฟ้าในเวลากลางคืน และวัตถุทางดาราศาสตร์หลายอย่างก็ได้ถูกค้นพบเรื่อยมาตามยุคสมัย อย่างไรก็ตาม [[กล้องโทรทรรศน์]]เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่จำเป็นก่อนที่จะมีการพัฒนามาเป็นวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ตั้งแต่อตกาล ดาราศาสตร์ประกอบไปด้วสาขาที่หลากหลายเช่น [[การวัดตำแหน่ดาว]] [[การเดินเรือดาราศาสตร์]] [[ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์]] การสร้าง[[ปฏิทิน]] และรวมทั้ง[[โหราศาสตร์]] แต่ดาราศาสตร์ทุกวันนี้ถูกจัดว่ามีความหมายเหมือนกับ[[ฟิสิกส์ดาราศาสตร์]] ตั้งแต่[[คริสต์ศตวรรษที่ 20]] เป็นต้นมา ดาราศาสตร์ได้แบ่งออกเป็นสองสาขาได้แก่ ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ และดาราศาสตร์เชิงทฤษฎี ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์จะให้ความสำคัญไปที่การเก็บและการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการใช้ความรู้ทางกายภาพเบื้องต้นเป็นหลัก ส่วนดาราศาสตร์เชิงทฤษฎีให้ความสำคัญไปที่การพัฒนา[[คอมพิวเตอร์]]หรือแบบจำลองเชิงวิเคราะห์ เพื่ออธิบายวัตถุท้องฟ้าและปรากฏการณ์ต่าง ๆ ทั้งสองสาขานี้เป็นองค์ประกอบซึ่งกันและกัน กล่าวคือ ดาราศาสตร์เชิงทฤษฎีใช้อธิบายผลจากการสังเกตการณ์ และดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ใช้ในการรับรองผลจากทางทฤษฎี
 
การค้นพบสิ่งต่าง ๆ ในเรื่องของดาราศาสตร์ที่เผยแพร่โดย[[นักดาราศาสตร์สมัครเล่น]]นั้นมีความสำคัญมาก และดาราศาสตร์ก็เป็นหนึ่งในวิทยาศาสตร์จำนวนน้อยสาขาที่นักดาราศาสตร์สมัครเล่นยังคงมีบทบาท โดยเฉพาะการค้นพบหรือการสังเกตการณ์ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว
 
ไม่ควรสับสนระหว่างดาราศาสตร์โบราณกับโหราศาสตร์ ซึ่งเป็น[[ความเชื่อ]]ที่นำเอาเหตุการณ์และพฤติกรรมของมนุษย์ไปเกี่ยวโยงกับตำแหน่งของวัตถุท้องฟ้า แม้ว่าทั้งดาราศาสตร์และโหราศาสตร์เกิดมาจากจุดร่วมเดียวกัน และมีส่วนหนึ่งของวิธีการศึกษาที่เหมือนกัน เช่นการบันทึก[[ตำแหน่งดาว]] (ephemeris) แต่ทั้งสองอย่างก็แตกต่างกัน <ref name="new cosmos">{{cite book | author=Albrecht Unsöld | coauthors=Bodo Baschek, W.D. Brewer (translator) | title=The New Cosmos: An Introduction to Astronomy and Astrophysics | year=2001| location=Berlin, New York | publisher=Springer | id =ISBN 3-540-67877-8 }}</ref>
 
ในปี [[ค.ศ. 2019]] นี้เป็นการครบรอบ 410 ปีของการพิสูจน์แนวคิดเรื่อง[[แบบจำลองแบบดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางจักรวาล|ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาล]] ของ [[นิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส]] อันเป็นการพลิกคติและโค่นความเชื่อเก่าแก่เรื่อง[[แบบจำลองแบบโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล|โลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล]]ของ[[อริสโตเติล]]ที่มีมาเนิ่นนาน โดยการใช้[[กล้องโทรทรรศน์]]สังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ของ[[กาลิเลโอ]]ซึ่งช่วยยืนยันแนวคิดของโคเปอร์นิคัส [[องค์การสหประชาชาติ]]จึงได้ประกาศให้ปีนี้เป็น[[ปีดาราศาสตร์สากล]] มีเป้าหมายเพื่อให้สาธารณชนได้มีส่วนร่วมและทำความเข้าใจกับดาราศาสตร์มากยิ่งขึ้น
 
== ประวัติ ==
ดาราศาสตร์นับเป็นวิชาที่เก่าแก่ที่สุดวิชาหนึ่ง เพราะนับตั้งแต่มีมนุษย์อยู่บนโลก เขาย่อมได้เห็นได้สัมผัสกับ[[สิ่งแวดล้อม]]ตาม[[ธรรมชาติ]]เสมอมา แล้วก็เริ่มสังเกตจดจำและเล่าต่อ ๆ กัน เช่น เมื่อมองออกไปรอบตัวเห็นพื้นดินราบ ดูออกไปไกล ๆ ก็ยังเห็นว่าพื้นผิวของโลกแบน จึงคิดกันว่า[[โลก]]แบน มองฟ้าเห็นโค้งคล้ายฝาชีหรือโดม มีดาวให้เห็นเคลื่อนข้ามศีรษะไปทุกคืน กลางวันมีลูกกลมแสงจ้า ให้[[แสง]] [[สี]] [[ความร้อน]] ซึ่งก็คือ [[ดวงอาทิตย์]] ที่เคลื่อนขึ้นมาแล้วก็ลับขอบฟ้าไป ดวงอาทิตย์จึงมีความสำคัญกับเรามาก