ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระนางสิริมหามายา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1:
== พระประวัติ ==
=== พระประวัติตอนต้น ===
พระนางสิริมหามายามีพระชนม์ชีพตอนต้นเป็นอย่างไรไม่เป็นที่ทราบ ปรากฏความเพียงว่าเสด็จพระราชสมภพในวงศ์เจ้าผู้ปกครอง[[แคว้นโกลิยะ]] เป็นพระราชธิดาของ[[พระเจ้าอัญชนะ]]แห่งโกลิยะกับพระนางยโสธราแห่งสักกะ มีพระเชษฐาสองพระองค์คือ[[พระเจ้าสุปปพุทธะ]]และ[[พระเจ้าทัณฑปาณิ]] และมีพระขนิษฐาคือ[[พระนางมหาปชาบดีโคตมี]] พระราชบิดาและพระราชชนนีเป็นเครือญาติกัน สืบมาแต่[[พระเจ้าโอกกากราช]] (Okkākarāj)<ref name="ประตู" /><ref name="พุทธะ" /><ref name="พุทธะ1" /><ref name="ดาว">ดาวสยาม วชิรปัญโญ, พระมหา. ''ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในอินเดีย''. กรุงเทพ : เม็ดทรายพริ้นติ้ง, พิมพ์ครั้งที่ 2, หน้า 27-31</ref>
 
ผู้สืบเชื้อสายจากพระเจ้าโอกกากราชนี้แบ่งออกเป็นสองตระกูลคือสักกะ (ศากยะ) กับโกลิยะ ซึ่งสายตระกูลโกลิยะสืบมาจากเจ้าหญิงปิยา (หรือปริยา) พระราชธิดาของพระเจ้าโอกกากราชที่ถูกพี่น้องเนรเทศออกมาจากวังไปประทับอยู่ในป่าเพราะเป็นทรงประชวรพระโรค[[เรื้อน]]น่ารังเกียจปรากฏบนพระวรกายเหมือนดอก[[ทองหลาง]] ต่อมาได้ทรงพบกับพระเจ้ารามะ อดีตเจ้าผู้ครอง[[พาราณสี]]ที่ทรงพระประชวรพระโรคผิวหนังเช่นกันซึ่งสละราชสมบัติแก่พระราชโอรสและครองเพศ[[ฤๅษี]] ภายหลังทั้งสองพระองค์จึงอยู่กินกันและต่อมาได้เสวยผลจากไม้โกลัน (ต้น[[กระเบา]]) จึงทรงหายจากพระโรคผิวหนัง ด้วยสำนึกในบุญคุณของต้นไม้นี้จึงเรียกนามวงศ์ตระกูลตนเองว่า "โกลิยะ"<ref name="พุทธะ1" /><ref name="ดาว" /> แต่ใน ''สัมมาปริพพาชนิยสูตร'' อธิบายว่าที่ชื่อโกลนคร เพราะสร้างพระนครบริเวณที่เคยเป็นป่ากระเบามาก่อน ส่วนที่หายจากพระโรคเรื้อนนั้นก็เพราะเสวยรากไม้และผลไม้ในป่า พระฉวีจึงหายจากการเป็นพระโรคเรื้อน กลับผ่องพรรณดุจทอง<ref>{{cite web|url= http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=331 |title= อรรถกถา ขุททกนิกาย สุตตนิบาต จูฬวรรค สัมมาปริพพาชนิยสูตร |author=|date=|work= ภิกษุณี เอตทัคคะ 84000 |publisher=|accessdate= 17 กรกฎาคม 2560}}</ref>
 
อย่างไรก็ตามสองตระกูลคือสักกะและโกลิยะถือตัวในระบบ[[วรรณะ (ศาสนาฮินดู)|วรรณะ]]ยิ่ง ด้วยแต่งงานเกี่ยวดองกันภายในสองตระกูลเท่านั้น จะไม่แต่งงานกับตระกูลอื่นเด็ดขาดแม้ว่าจะเป็นวรรณะกษัตริย์จากเมืองอื่นก็ตาม<ref name="ประตู" /><ref name="พุทธะ" /><ref name="พุทธะ1" /><ref name="ดาว" /> แต่ดอนัลด์ เอส. โลเปซ (Donald S. Lopez) ศาสตราจารย์ด้านพุทธศาสนาและทิเบตศึกษา และริชาร์ด เอฟ. กอมบริช (Richard F. Gombrich) นักภารตวิทยาและนักวิชาการด้านภาษาบาลี-สันสกฤตและพุทธศึกษา อธิบายว่าช่วงเวลานั้นอิทธิพลของ[[พระเวท]]ไม่น่าจะเข้าถึงแคว้นทั้งสอง รวมทั้งการเสกสมรสในหมู่เครือญาตินั้นเป็นเรื่องต้องห้ามของสังคม[[อารยัน]] ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าตระกูลทั้งสองนี้อาจมิได้สืบเชื้อสายชาวอารยัน<ref name="ศิลปะ">{{cite web|url= https://www.silpa-mag.com/club/art-and-culture/article_289 |title= พุทธประวัตินอกกระแส (ในไทย): “สิทธัตถะ” เกิดในสังคมแบบชนเผ่า ไม่ได้ปกครองด้วยระบอบกษัตริย์ |author= อดิเทพ พันธ์ทอง |date= 20 พฤษภาคม 2559 |work= ศิลปวัฒนธรรม |publisher=|accessdate= 17 กรกฎาคม 2560}}</ref>
 
''อรรถกถาอัปปายุกาสูตร'' ระบุว่าแต่เดิมพระนางสิริมหามายาเป็น[[เทวดา|เทพบุตร]]อยู่สวรรค์ชั้น[[ดุสิต]] แต่ได้อธิษฐานขอเป็นพุทธมารดา ชาตินี้จึงประสูติมาเป็นสตรี ทั้งได้ขอมีพระชนม์เพียงเจ็ดวันหลังประสูติกาล เพราะสงวนพระครรภ์ไว้แก่พระโพธิสัตว์เพียงพระองค์เดียว<ref name="มหิดล">{{cite web|url= http://www.crs.mahidol.ac.th/thai/buddhist17.htm |title= ทำไมหลังจากพระนางสิริมหามายาประสูติพระราชโอรสแล้วจึงมีพระชนชีพอยู่ต่อมาได้เพียง 7 วัน |author=|date=|work= วิทยาลัยศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล |publisher=|accessdate= 17 กรกฎาคม 2560}}</ref> และเพื่ออยู่เชยชมพระโฉมพระโพธิสัตว์ ก่อนเสด็จสวรรคตกลับไปจุติบนสวรรค์ชั้นดุสิต<ref name="ภิกษุณี" />
 
=== พุทธมารดา ===
{{Multiple image