ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าพระยาบวรราชนายก (เฉกอะหมัด)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Chainwit. (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 8892957 สร้างโดย ยสวันต์ (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
Chainwit. (คุย | ส่วนร่วม)
ลบข้อมูล copy-paste (จาก http://www.bunnag.in.th/history6.html )
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
บรรทัด 23:
| spouse = ท่านเชย
| footnotes = จุฬาราชมนตรีคนแรกในสมัยอยุธยา
| wiki_links = [[:หมวดหมู่:จุฬาราชมนตรี]] |ราชินิกูล=ราชินิกุลบุนนาค}}
เชื้อชาติ ไทย​
สมัย รัตนโกสินทร์ ​
ต้นราชินิกุล เจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค)​
สัมพันธ์กับ ราชวงศ์จักรี​
ราชสกุลเทพหัสดิน
ราชสกุลอิศรางกูร
ราชสกุลฉัตรกุล​
ราชสกุลรัชนี
ราชสกุลสุริยง
ราชสกุลอาภากร​
ราชสกุลสวัสดิวัตน์
ราชสกุลภาณุพันธุ์​​
ราชสกุลศักดิเดชน์ ภาณุพันธุ์​
ราชินิกุล ณ บางช้าง
ราชินิกุลชูโต
สกุลเพ็ญกุล​
สกุลอภัยวงศ์
สกุลเศวตศิลา​
สกุลอหะหมัดจุฬา​
สกุลศุภมิตร​
สกุลชูโต​
สกุลบุรานนท์​
อิสรสิงหนาท
จาติกรัตน์​}}
 
'''เจ้าพระยาบวรราชนายก''' (เฉกอะหมัด กุมมี (شیخ احمد قمی) เป็นมุสลิม[[ชีอะหฺ]]อิษนาอะชะรียะหฺ (สิบสองอิมาม) เกิดเมื่อ [[พ.ศ. 2086]] ณ ตำบลกุนี (گونی) ในเมืองอัสตะราบาด (استرآباد) ซึ่งปัจจุบันคือเมืองกอร์กัน (گرگان) ตั้งอยู่แถบทะเลแคสเปียน ใน[[ประเทศอิหร่าน]]<ref>http://www.rakbankerd.com/rbk_foundation/kalatac/kalatac5_persia.htm</ref>
เส้น 64 ⟶ 40:
==สายสกุล==
ในปลายแผ่นดิน[[สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง]]โปรดเกล้า ฯ ให้ท่านเฉกอะหมัดซึ่งมีอายุ 87 ปี เป็น'''เจ้าพระยาบวรราชนายกจางวางกรมมหาดไทย''' ท่านได้ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อ [[พ.ศ. 2174]] รวมอายุ 88 ปี ท่านเฉกอะหมัดนี้ท่านเป็นต้นสกุลของไทยมุสลิมหลายนามสกุลและสกุล[[บุนนาค]] เป็นต้นสกุลของเจ้าพระยาหลายท่านในระยะเวลาต่อมา อาทิ [[เจ้าพระยาอภัยราชา]] (ชื่น) [[เจ้าพระยาชำนาญภักดี]] (สมบุญ) เจ้าพระยาเพชรพิไชย (ใจ) และมีบรรดาศักดิ์เป็นสมเด็จเจ้าพระยาในสมัย[[กรุงรัตนโกสินทร์]]ถึง 3 ท่าน คือ [[สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์]] (ดิศ)[[ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ]] (ทัต บุนนาค) และ[[สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์]] (ช่วง บุนนาค) รวมทั้งเป็นต้นสกุลของสายสกุลที่มีความสำคัญต่อการปกครองประเทศตลอดมา สถานที่ฝังศพของท่านเฉกอะหมัด ตั้งอยู่ในบริเวณมหาวิทยาลัยราชภัฏ[[พระนครศรีอยุธยา]]
 
ตระกูล "บุนนาค" เป็นตระกูลเก่าแก่สืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ท่านเฉกอะหมัด พ่อค้าชาวเปอร์เซียและคณะ ได้เข้ามาทำการค้าขายและต่อมาได้รับราชการในกรมพระคลัง วงศ์เฉกอะหมัดได้สืบตระกูลต่อเนื่องกันมา ๖ ชั้น จนกระทั่งกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าใน พ.ศ. ๒๓๑๐
 
หม่อมบุนนาคหรือนายบุนนาค ผู้สืบวงศ์เฉกอะหมัดลำดับชั้นที่ ๖ เข้ารับราชการและเป็นขุนนางที่ได้รับใช้ใกล้ชิดด้วยความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้สมรสกับเจ้าคุณนวล พระกนิษฐภคินี ของสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ จึงมีความสัมพันธ์เกี่ยว ดองกับพระองค์ท่าน หม่อมบุนนาครับราชการสนองพระเดชพระคุณมีความดีความชอบมากมาย โปรด เกล้าฯ เลื่อนตำแหน่งและตั้งให้เป็นเจ้าพระยามหาเสนาที่สมุหพระกลาโหม แล้วเป็นเจ้าพระยาอรรคมหาเสนา ท่านผู้นี้เป็นต้นสกุล "บุนนาค" นับเป็นชั้นที่ ๑
 
เสนาบดีสมัยรัชกาลที่ ๒ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งผู้ที่มาจากตระกูล ณ บางช้าง ซึ่งเป็นพระญาติทางฝ่ายพระบรมราชชนนีเป็นส่วนใหญ่ เสนาบดีในสมัยรัชกาลที่ ๓ จะเป็นขุนนางที่รับราชการในกรมวังมานาน และเป็นผู้ที่คุ้นเคยกับพระองค์ท่านมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๒ ได้แก่ เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) อัครมหาเสนา บดีมหาดไทย ส่วนตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีกลาโหม จะเป็นบุตรหลานในสกุลบุนนาค
 
เสนาบดีในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ส่วนใหญ่มีตำแหน่งสำคัญๆ อยู่ในกรมมหาดเล็กหลวง มีเสนาบดี ๗ คน เป็นบุตรหลานโดยตรง ของตระกูลบุนนาค ได้แก่ บุตรของเจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค) ๒ ท่าน คือ ท่านดิศ และท่านทัต ได้เข้ารับราชการมาตั้งแต่แผ่นดินรัชกาลที่ ๑ เป็นผู้ที่มีบทบาทในการช่วยบริหารประเทศ ในแผ่นดินรัชกาลที่ ๔ ท่านทั้งสองได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์สูงสุดเป็นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ (ดิศ) ผู้สำเร็จราชการทั่วพระราชอาณาจักร และสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต) ผู้สำเร็จราชการพระนคร ตามลำดับ บุตรของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ (ดิศ) คือ เจ้าคุณช่วง ซึ่งรับราชการตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๒ ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ต่อมา
 
ตลอดระยะเวลาระหว่างปี พ.ศ. ๒๓๒๕ ถึง พ.ศ. ๒๔๑๖ เสนาบดีจากตระกูลบุนนาคมีบทบาทในการบริหารประเทศมากกว่าเสนาบดีในตระกูลอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสมัยรัชกาลที่ ๓ รัชกาลที่ ๔ และต้นรัชกาล ที่ ๕ (พ.ศ. ๒๓๖๗ - ๒๔๑๖)
 
ความรุ่งเรืองของตระกูลบุนนาคอาจจะเกิดจากสาเหตุ ใหญ่ๆ ๕ ประการ ได้แก่ ประการแรก มีความสัมพันธ์อันใกล้ชิดกับองค์พระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรีอย่างมิตรและอย่างญาติ ประการที่สอง นโยบายของรัชกาลที่ ๒ อันเกี่ยวกับพระอุตสาหะวิริยะที่จะจัดการกับอำนาจของขุนนาง ประการที่สาม การเปลี่ยนแปลงในทางเศรษฐกิจของบ้านเมืองซึ่งมีผลต่อขุนนาง ประการที่สี่ การตัดสินใจที่จะลดอำนาจเจ้านายลง และประการสุดท้าย ความสามารถของคนในตระกูลบุนนาคที่แต่ละคนจะแสวงหาความรู้ที่จำเป็นในเวลานั้นโดยเฉพาะ
 
จากเอกสารหนังสือประวัติสกุลบุนนาค ได้กล่าวถึงประวัติของเจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค) ตั้งแต่เยาว์วัยว่า เป็นมิตรสนิทของรัชกาลที่ ๑ ในสมัยที่กรุงศรีอยุธยาถูกพม่ายึดครอง และต่อมาสมเด็จพระเจ้า ตากสินมหาราชได้กู้อิสรภาพและสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานีนั้น เจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค) เมื่อครั้งเป็นนายฉลองไนยนารถ ได้รับใช้อยู่กับเจ้าพระยาจักรี (รัชกาลที่ ๑) เสมอมา อนึ่ง เมื่อตอนสูญเสียภรรยาไป ท่านได้แต่งงานกับเจ้าคุณนวล ซึ่งเป็นพระกนิษฐภคินีของพระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ ๑ ทั้งสองท่านได้อาศัยอยู่กับรัชกาลที่ ๑ (ขณะนั้นเป็นเจ้าพระยาจักรี) กล่าวกันว่าท่านเจ้าคุณนวลเป็นพระอภิบาลของรัชกาลที่ ๒ ในปี พ.ศ. ๒๓๓๐ เจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค) ได้รับแต่งตั้งเป็นอัครมหาเสนาบดีกลาโหมและธิดาของท่าน ๕ คนได้เป็นเจ้าจอม ได้แก่ เจ้าจอมมารดาตานี เจ้าจอม จิตร เจ้าจอมนก เจ้าจอมส้ม และเจ้าจอมชู บุตรของเจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค) ที่เกิดกับเจ้าคุณพระราชพันธุ์นวล นับเป็นราชินิกุล เป็นเจ้าคุณพระราชพันธุ์ชั้นที่ ๒ ตามลำดับ
 
ในสมัยรัชกาลที่ ๒ ทรงพยายามที่จะเหนี่ยวรั้งอำนาจของขุนนางต่างๆ ไว้โดยการแต่งตั้งพระญาติให้ดำรงตำแหน่งสำคัญๆ ทั้งหมด ทรงตั้งตำแหน่ง ผู้กำกับราชการ ประจำกรมที่สำคัญๆ และทรงแต่งตั้งเจ้านายให้ประจำตำแหน่งนั้นด้วย เสนาบดีส่วนใหญ่จะเป็นพระญาติทางฝ่ายพระราชชนนีจากบุคคลในตระกูล ณ บางช้าง หรือเกี่ยวดองกับตระกูล ณ บางช้าง เช่น บุนนาค-นวล จะเห็นได้ว่าเสนาบดีในรัชกาลนี้ ๑๑ ท่าน จะเป็นพระญาติ ๘ ท่าน หนึ่งในบรรดาเสนาบดีเหล่านี้มีท่านดิศ บุนนาค ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเสนาบดีคลัง และได้เป็นสมุหพระ กลาโหม ในสมัยรัชกาลที่ ๓ และรัชกาลที่ ๔
 
โดยทั่วๆ ไปคนในตระกูลบุนนาคจะรับราชการดำรงตำแหน่งกรมคลังติดต่อกันไป แต่ความสามารถยอดเยี่ยม ที่ได้รับการยกย่องของเสนาบดีในตระกูลบุนนาคคือ ในด้านการทูต ในสมัยที่ราชอาณาจักรสยามถูกประเทศมหาอำนาจตะวันตกคุกคามนั้น เมืองไทยยังไม่มีกำลังทหาร ที่ทันสมัยและเข้มแข็งที่จะต่อต้านมหาอำนาจตะวันตกได้ ความสามารถในทางการทูตจึงเป็นสิ่งจำเป็นมากที่สุด บุตร ของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) คือ ท่านช่วงเป็นผู้ที่ได้เตรียมพร้อมที่จะเผชิญปัญหา ใหม่ๆ ของบ้านเมือง ท่านได้ศึกษาภาษาอังกฤษ มีความ สนใจทั้งในด้านวิทยาศาสตร์และด้านวิศวกรรม ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ท่านมีชื่อเสียงในการควบคุมดูแลการก่อสร้าง ป้อมที่ปากน้ำ และต่อเรือสำเภาแบบใช้ใบมีสายระโยง ระยางตามแบบยุโรปได้สำเร็จ นอกจากนี้ท่านยังมีมิตร สหายเป็นชาวต่างประเทศอีกด้วย
 
เสนาบดีตระกูลบุนนาค ได้ตระหนักถึงปัญหาบ้าน เมืองที่กำลังเผชิญอยู่ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นครองราชสมบัติ มีพระมหากรุณาธิคุณกับคนในสกุลบุนนาคเป็นอย่างมาก ได้โปรดเกล้าฯ แต่ง ตั้งบุคคลในตระกูลบุนนาคและผู้ที่เกี่ยวข้องให้ดำรงตำแหน่งสำคัญๆ หลายคน
 
ตำแหน่งเสนาบดีสำคัญๆ ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ของขุนนางในสกุลบุนนาคนั้นมีหลายตำแหน่ง ดังได้กล่าวมาแล้วว่า ระหว่าง พ.ศ. ๒๓๒๕ ถึง พ.ศ. ๒๔๑๖ เป็นช่วงที่เสนาบดีจากตระกูลบุนนาคมีบทบาท ในการช่วยบริหารประเทศมากกว่าเสนาบดีในตระกูลอื่น ตำแหน่งสำคัญในการบริหารราชการแผ่นดินในสมัยนั้น มีบุคคลในสกุลบุนนาคดำรงตำแหน่ง โดยสรุปดังนี้
 
๑. ตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน เป็นตำแหน่งสูงสุดในแผ่นดินที่บริหารราชการในพระปรมาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสที่พระองค์มิได้ประทับอยู่ในพระนคร เป็นตำแหน่งที่เริ่มขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ และมีในรัชกาลที่ ๕ รัชกาลที่ ๗ รัชกาลที่ ๘ และรัชกาลที่ ๙
 
- สมัยรัชกาลที่ ๔ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) เป็นผู้สำเร็จราชการในรัชกาลนี้ และอยู่ในตำแหน่งจนถึงแก่พิราลัยเมื่อวันที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๓๙๘
 
- สมัยรัชกาลที่ ๕ ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินท่านแรกคือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) บุตรสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) ท่านเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินเมื่อขณะที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระชนมายุ ๑๕ พรรษา และดำรงตำแหน่งอยู่ ๕ ปี พ้นหน้าที่โดยถึงแก่พิราลัย
 
ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินท่านที่ ๒ คือ สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีบรมราชินีนาถ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสยุโรป ปี พ.ศ. ๒๔๕๐
 
ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ได้โปรดเกล้าฯ ให้มีตำแหน่งที่สูงมากขึ้นอีก ๒ ตำแหน่ง ได้แก่ ตำแหน่งผู้สำเร็จราชการ ทั่วพระราชอาณาจักร พระราชทานแก่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) ผู้พี่ และตำแหน่งที่สองได้แก่ ตำแหน่งผู้สำเร็จราชการในพระนคร พระราชทานแก่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค) ผู้น้อง
 
๒. ตำแหน่งผู้กำกับราชการ ตำแหน่งนี้เริ่มมีในสมัยรัชกาลที่ ๒ สำหรับขุนนางสกุลบุนนาคได้เป็นผู้กำกับราชการเพียงท่านเดียว คือเจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค) เป็นผู้กำกับราชการกรมท่า ท่านเป็นเจ้าพระยาที่มีศักดินาสูงกว่าเจ้าพระยาท่านอื่นๆ และเป็นเจ้าพระยาคนเดียวที่มีศักดินาถึง ๒๐,๐๐๐ ไร่ (เจ้าพระยาทุกคนมีศักดินา ๑๐,๐๐๐ ไร่) มีเกียรติยศเสมอสมเด็จเจ้าพระยา และมีอำนาจแต่งตั้งจางวางทนาย ปลัดจางวางและสมุห์บัญชีจางวางประจำตำแหน่งตนเองได้ เป็นขุนนางคนหนึ่งที่มีอำนาจมากสมัยนั้น
 
๓. ตำแหน่งสมุหนายก กรมมหาดไทย ตำแหน่งนี้ไม่มีขุนนางสกุลบุนนาค ในสมัยรัชกาล ที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๕
 
๔. ตำแหน่งสมุหพระกลาโหม สมัยรัชกาลที่ ๑ - เจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค) บุตรเจ้าพระยามหาเสนา (เสน) ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่สมัยกรุงศรีอยุธยา ท่านเป็นน้องต่างมารดากับเจ้าพระยามหาเสนา (บุญมา) และท่านเป็นต้นสกุล "บุนนาค" สมัยรัชกาลที่ ๓ - เจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ บุนนาค)บุตรเจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค) ต่อมาเป็นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ ในรัชกาล ที่ ๔ สมัยรัชกาลที่ ๔ - สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) สมัยรัชกาลที่ ๕ - เจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) - พระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชื่น บุนนาค) เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าพระยาพลเทพ (พุ่ม) ในตำแหน่งสมุหพระกลาโหมชั่วคราว
 
๕. ตำแหน่งเสนาบดีกรมเมือง สมัยรัชกาลที่ ๑ - เจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค) เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเป็นพระยายมราช
 
๖. ตำแหน่งเสนาบดีกรมคลัง สมัยรัชกาลที่ ๒ - เจ้าพระยาสุริยวงศ์โกษา (ดิศ บุนนาค) คือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ สมัยรัชกาลที่ ๓ - ในรัชกาลนี้มีผู้ดำรงตำแหน่งเพียงท่านเดียว คือ เจ้าพระยาพระคลัง (ดิศ บุนนาค) หรือสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ โดยท่านว่าราชการพร้อมกัน ๒ ตำแหน่ง ได้แก่ สมุหพระกลาโหมและเสนาบดีกรมท่าตลอดรัชกาลนี้ สมัยรัชกาลที่ ๔ - [[เจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดี]] (ขำ บุนนาค) บุตรสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ (ดิศ) สมัยรัชกาลที่ ๕ - ในรัชกาลนี้มีผู้ดำรงตำแหน่งเพียงท่านเดียวคือ เจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุนนาค) บุตรสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ (ดิศ)
 
๗. ตำแหน่งกระทรวงกลาโหม สมัยรัชกาลที่ ๕ - พระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชื่น บุนนาค) ท่านผู้นี้มารักษาการแทนชั่วคราวเท่านั้น
 
๘. ตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ สมัยรัชกาลที่ ๕ - พ.ศ. ๒๔๑๘ ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้แยกกรมพระคลังมหาสมบัติออกจากกรมท่า พร้อมกันนั้นโกรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุนนาค) ดำรงตำแหน่ง "ผู้ว่าการต่างประเทศ" - พ.ศ. ๒๔๓๐ มหาอำมาตย์เอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทววงศ์ วโรปการ เสด็จประพาสยุโรป ได้โปรดเกล้าฯ ให้พระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) มาเป็นผู้รักษาการแทนเสนาบดีกระทรวงต่างประเทศชั่วคราว
 
๙. ตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ สมัยรัชกาลที่ ๕ - พระยาสุริยานุวัตร (เกิด บุนนาค) เดิมเป็นราชทูตประจำกรุงปารีส ได้มีพระบรมราชโองการสั่งให้กลับมาเข้าดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ แล้วย้ายมาอยู่กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
 
๑๐. ตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงเกษตร พาณิชยการ สมัยรัชกาลที่ ๕ - [[เจ้าพระยาภาสกรวงศ์]] (พร บุนนาค)
 
๑๑. ตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงธรรมการ สมัยรัชกาลที่ ๕ - เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค)
 
๑๒. ตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ สมัยรัชกาลที่ ๕ - พระยาสุริยานุวัตร (เกิด บุนนาค)
 
๑๓. ตำแหน่งผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ สมัยรัชกาลที่ ๕ - พลโท [[เจ้าพระยาสุรวงศ์วัฒนศักดิ์]] (โต บุนนาค)
 
๑๔. ตำแหน่งผู้ว่าราชการเมือง[[เพชรบุรี]] - [[เจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ)]] - พระยาสุรินทรฤๅชัย (เทียม) - พระยาสุรินทรฤๅชัย (เทียน)
 
ตำแหน่งเสนาบดี ยศบรรดาศักดิ์ขุนนางนั้นมีรายละเอียดมากมาย จะเห็นว่าบางท่านจะมีราชทินนามซ้ำๆ กัน ดังที่เคยกล่าวในตอนต้นว่า ยศ บรรดาศักดิ์ และราชทินนามอาจจะบอกตำแหน่งหน้าที่ควบคู่กันไปได้ เช่น เจ้าพระยามหาเสนา เป็นบรรดาศักดิ์และราชทินนามของตำแหน่งสมุหพระกลาโหม เจ้าพระยายมราช จะมีตำแหน่งเป็นเสนาบดีกรมเมือง เจ้าพระยาธรรมาธิกรณ์เป็นเสนาบดีกรมวัง เจ้าพระยาพระคลังเป็นเสนาบดีกรมพระคลัง เจ้าพระยาพลเทพเป็นเสนาบดีกรมนา พระยาโชฎึกราชเศรษฐีเป็นเสนาบดีกรมท่า เป็นต้น
 
สำหรับตำแหน่งเจ้าเมือง เมื่อมีการแต่งตั้งจะมีบรรดาศักดิ์และราชทินนามปรากฏในสัญญาบัตร แต่คนส่วนมากนิยมเรียกตามชื่อเมืองที่ไปอยู่ เช่น เจ้าเมืองตาก หรือพระยาตาก เจ้าเมืองราชบุรีหรือพระยาราชบุรี เป็นต้น ในกฎหมายตราสามดวงกำหนดบรรดาศักดิ์และราชทินนาม เจ้าเมืองไว้ จะขอยกตัวอย่างเมือง/จังหวัด ที่มีขุนนางตระกูลบุนนาคไปเป็นเจ้าเมือง ได้แก่ ตำแหน่งพระยา สุรินทรฤๅชัย เจ้าเมืองเพชรบุรีซึ่งมี
 
พระยาสุรินทรฤๅชัย (เทศ บุนนาค) ผู้ว่าราชการเมืองเพชรบุรี (พ.ศ. ๒๔๐๑ - ๒๔๓๗) พระยาสุรินทรฤๅชัย (เทียม บุนนาค) ผู้ว่าราชการเมืองเพชรบุรี (พ.ศ. ๒๔๓๗ - ๒๔๔๑) พระยาสุรินทรฤๅชัย (เทียน บุนนาค) ผู้ว่าราชการเมืองเพชรบุรี (พ.ศ. ๒๔๔๑ - ๒๔๕๖) ตำแหน่งเจ้าเมืองราชบุรี ซึ่งมีราชทินนามว่า อัมรินทรฤๅชัย ได้แก่ พระยาอัมรินทรฤๅชัย (เทียน บุนนาค) เป็นต้น
 
อย่างไรก็ตาม หลังจากมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง สู่ระบอบประชาธิปไตยไม่นาน ได้มีพระบรมราชโองการ ประกาศเรื่องการยกเลิกบรรดาศักดิ์ ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตามประกาศประธานสภาผู้แทนราษฎร ลงวันที่ ๔ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๘๐ และลงวันที่ ๑๖ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๘๔ "โปรดเกล้าฯ ให้ยกเลิกบรรดาศักดิ์ อันมีราชทินนามเป็นเจ้าพระยา พระยา พระ หลวง ขุน เป็นต้น... ผู้ที่มีบรรดาศักดิ์ผู้ใดประสงค์จะใช้ราชทินนามเป็นชื่อตัวหรือชื่อสกุล เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งความดีงามในราชการ จนได้รับพระราชทานราชทินนามนั้น และเพื่อเป็นสวัสดิมงคลแก่ตนหรือครอบครัวของตน ก็ให้ใช้ราชทินนามนั้นได้..."
 
การยกเลิกบรรดาศักดิ์ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเรื่องชื่อและนามสกุล ผู้มีบรรดาศักดิ์หลายท่านได้เปลี่ยนชื่อและนามสกุลไปพร้อมกันเลย เช่น
 
* อนันต์ บุนนาค
* ชินมิษ บุญนาค บุตรชายคนโตของ พลเอก[[กรีเมศร์ บุนนาค]] และคุณหญิงสุนิดา บุนนาค (สกุลเดิม สัมพันธารักษ์) และเป็นหลานชายของ[[สุรเทิน บุนนาค]] ผู้ใกล้ชิดใต้เบื้องพระยุคลบาท [[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]] และ[[สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ]] กับ[[ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค]] พระมาตุจฉาและอดีต[[นางสนองพระโอษฐ์]]ใน[[สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ]]
* ยสฬิ์ศิวะ อิสรสิงหนาท บุุนนาค สืบสายชั้นที่เเปดจากสาย [[สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์]] บิดาของ [[สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์]] ลงมาทาง [[เจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์]]
* พีรวิชญ์ บุนนาค
 
ในบางท่านใช้ราชทินนามที่ตนได้รับอยู่เป็นนามสกุลก็มีอยู่มาก บางท่านกลับไปใช้นามสกุลเดิมไม่ยอมเปลี่ยน สำหรับผู้ที่อยู่ในตระกูลบุนนาคแม้จะมีบรรดาศักดิ์สูงสุดหรือราชทินนาม ใด ทุกท่านก็ยังใช้นามสกุล "บุนนาค" โดยเฉพาะบุตรหลานที่สืบเชื้อสายมาจากเจ้าพระยาอรรคมหาเสนา (บุนนาค) และเจ้าคุณพระราชพันธุ์นวล
 
==อ้างอิง==