ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปลาบู่ทอง"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1:
== เนื้อเรื่อง ==
 
เรื่องปลาบู่ทองเริ่มขึ้นโดย'''เศรษฐีทารก''' ''(อ่านว่า ทา-ระ-กะ)'' ผู้มีอาชีพจับปลามีภรรยา 2 คน คนแรกชื่อ'''ขนิษฐา''' มีลูกสาวชื่อ '''เอื้อย''' ส่วนคนที่สองชื่อ '''ขนิษฐี''' มีลูกสาวชื่อ '''อ้าย''' และ '''อี่'''
 
วันหนึ่งเศรษฐีทารกพาขนิษฐาไปจับปลาในคลอง ไม่ว่าจะเหวี่ยงแหไปกี่ครั้งก็ได้มาเพียงปลาบู่ทองที่ตั้งท้องตัวเดียวเท่านั้น จนกระทั่งพลบค่ำเศรษฐีก็ตัดสินใจที่จะเอาปลาบู่ทองที่จับได้เพียงตัวเดียวกลับบ้าน ทว่าขนิษฐาผู้เป็นภรรยาเกิดความสงสารปลาบู่ ขอให้เศรษฐีปล่อยปลาไป เศรษฐีทารกเกิดบันดาลโทสะจึงฟาดนางขนิษฐาจนตายและทิ้งศพลงคลอง
 
เมื่อกลับถึงบ้านเอื้อยก็ถามหาแม่ เศรษฐีจึงตอบไปว่าแม่ของเอื้อยได้หนีตามผู้ชายไป และจะไม่กลับมาบ้านอีกแล้ว นับตั้งแต่วันนั้นขนิษฐีผู้เป็นแม่เลี้ยงของเอื้อย และอี่กับอ้ายน้องสาวทั้งสองก็กลั่นแกล้งใช้งานเอื้อยเป็นประจำโดยที่เศรษฐีทารกทำเป็นไม่รับรู้และไม่สนใจ
 
เอื้อยคิดถึงแม่มากจึงมักไปนั่งร้องไห้อยู่ริมท่าน้ำ และได้พบกับ'''ปลาบู่ทอง'''ซึ่งเป็นนางขนิษฐากลับชาติมาเกิด เมื่อเอื้อยรู้ว่าปลาบู่ทองเป็นแม่ของตนก็ได้นำข้าวสวยและรำมาโปรยให้ปลาบู่ทองกิน และมาปรับทุกข์ให้ปลาบู่ทองฟังทุกวัน
 
นางขนิษฐีและลูกสาวเห็นเอื้อยดูมีความสุขขึ้น เมื่อถูกกลั่นแกล้งก็อดทนไม่ปริปากบ่นจึงไปแอบสืบจนพบว่านางขนิษฐาได้มาเกิดเป็นปลาบู่ทอง และได้พบกับเอื้อยทุกวัน ดังนั้นเมื่อเอื้อยกำลังทำงานนางขนิษฐีก็ไปจับปลาบู่ทองมาทำอาหารและขอดเกล็ดทิ้งไว้ในครัว
 
เอื้อยได้พบเกล็ดปลาบู่ทองก็เศร้าโศกเสียใจเป็นอย่างมาก นางนำเกล็ดไปฝังดินและอธิษฐานขอให้แม่มาเกิดเป็น'''[[มะเขือ|ต้นมะเขือ]]''' เอื้อยมารดน้ำให้ต้นมะเขือทุกวันจนงอกงาม เมื่อนางขนิษฐีทราบเรื่องเข้าก็จัดการโค่นต้นมะเขือ และเด็ดลูกมะเขือไปจิ้มน้ำพริกกิน
 
เอื้อยแอบเก็บเมล็ดมะเขือที่เหลือไปฝังดินและอธิษฐานให้ขอแม่ไปเกิดเป็น'''[[ต้นโพธิ์]]เงินโพธิ์ทอง'''ในป่า และไม่ให้ผู้ใดสามารถโค่น ทำลาย หรือเคลื่อนย้ายต้นโพธิ์เงินโพธิ์ทองได้
 
อยู่มาวันหนึ่ง'''พระเจ้าพรหมทัต'''เสด็จประพาสป่าได้พบกับต้นโพธิ์เงินโพธิ์ทอง เห็นว่าสวยงามยิ่งนัก จึงโปรดให้ทหารนำไปปลูกไว้ในวัง แต่กลับไม่มีผู้ใดสามารถเคลื่อนย้ายต้นโพธิ์เงินโพธิ์ทองนี้ได้ พระเจ้าพรหมทัตจึงประกาศว่า หากผู้ใดสามารถเคลื่อนย้ายต้นโพธิ์เงินโพธิ์ทองได้จะให้รางวัลอย่างงาม
 
ผู้คนมากมายต่างมาร่วมลองถอนต้นโพธิ์เงินโพธิ์ทองรวมถึง
นางขนิษฐีและอ้ายกับอี่ก็มาเข้าร่วมลองถอนต้นโพธิ์เงินโพธิ์ทองด้วย แต่ก็ไม่สำเร็จ เอื้อยขอลองบ้างและได้อธิษฐานจิตบอกแม่ว่าขอย้ายแม่เข้าไปปลูกในวัง เอื้อยจึงสามารถถอนต้นโพธิ์เงินโพธิ์ทองได้สำเร็จอย่างง่ายดาย
 
พระเจ้าพรมทัตมีจิตปฏิพัทธ์ต่อเอื้อย จึงชวนเอื้อยเข้าไปอยู่ในวังและแต่งตั้งให้เป็นพระมเหสี ฝ่ายนางขนิษฐีและลูกสาวทั้งสองรู้สึกอิจฉาเอื้อยอย่างมากจึงวางแผนส่งจดหมายไปบอกเอื้อยว่าเศรษฐีทารกบิดานั้นป่วยหนักขอให้เอื้อยกลับมาเยี่ยมที่บ้าน
 
เมื่อเอื้อยกลับมาบ้าน นางขนิษฐีก็ได้แกล้งนำกระทะน้ำเดือดไปวางไว้ใต้ไม้กระดานเรือน และทำกระดานกลไว้ เมื่อเอื้อยเหยียบกระดานกลก็ตกลงในหม้อน้ำเดือดจนถึงแก่ความตาย นางขนิษฐีให้อ้ายปลอมตัวเป็นเอื้อยและเดินทางกลับไปยังวังของพระเจ้าพรหมทัต
 
เอื้อยได้ไปเกิดใหม่เป็น'''[[นกแขกเต้า]]''' เมื่อเกิดใหม่แล้วก็บินกลับเข้าไปในพระราชวัง พระเจ้าพรหมทัตเห็นนกแขกเต้าแสนรู้ ไม่รู้ว่าเป็นเอื้อยกลับชาติมาเกิดก็เลี้ยงไว้ใกล้ตัว นางอ้ายใจบาปเห็นดังนั้นก็ไม่พอใจ จึงสั่งคนครัวให้นำนกแขกเต้าไปถอนขนและต้มกิน
 
แม่ครัวถอนขนนกแขกเต้าจนหมดและวางทิ้งไว้บนโต๊ะ เอื้อยในร่างนกแขกเต้าจึงกระเสือกกระสนหลบหนีเข้าไปอยู่ในรูหนู มีหนูช่วยดูแลจนขนขึ้นเป็นปกติ แล้วเอื้อยก็บินหนีเข้าป่าไปจนเจอกับ'''พระ[[ฤๅษี]]'''
 
พระฤๅษีตรวจดูด้วยญานอันแก่กล้าพบว่านกแขกเต้าคือเอื้อยกลับชาติมาเกิด และได้รู้ถึงชะตาชีวิตอันแสนรันทดของเอื้อย พระฤๅษีเกิดเวทนาจึงช่วยเสกนกแขกเต้ากลายเป็นคนตามเดิม และได้วาดรูปเด็กชายขึ้นมารูปหนึ่งแล้วเสกให้มีชีวิตเพื่อให้เป็นลูกของเอื้อย เมื่อเด็กชายนั้นโตขึ้นก็ขอแม่เดินทางไปหาบิดา เอื้อยจึงต้องจำยอมเล่าเรื่องทั้งหมดให้บุตรชายฟังและร้อยพวงมาลัยฝากให้บุตรชายนำไปถวายพระเจ้าพรหมทัต
 
เมื่อพระเจ้าพรหมทัตได้พบกับบุตรชายของเอื้อยและได้เห็นพวงมาลัย ก็จำได้ว่าเป็นฝีมือของเอื้อย พระองค์จึงขอให้เด็กชายเล่าเรื่องทั้งหมดให้ฟังว่าได้มาลัยนี้มาได้อย่างไร เด็กน้อยจึงเล่าเรื่องที่ได้ฟังจากแม่ให้พระองค์สดับ เมื่อพระเจ้าพรมทัตได้ทราบเรื่องทั้งหมด จึงได้ทรงสั่งประหารชีวิตอ้าย อี่ และนางขนิษฐีจนหมดสิ้น และเสด็จไปรับเอื้อยกลับมาครองรักด้วยกันอีกครั้งอย่างมีความสุขตลอดไป
<ref name="ปลา"/>
 
== การดัดแปลง ==
ปลาบู่ทองถูกนำมาสร้างครั้งแรกเป็นภาพยนตร์ 16 มม. สร้างโดย เทพกรภาพยนตร์ โดย กิติมา เศรษฐภักดี เป็นผู้อำนวยการสร้าง กำกับโดย [[อำนวย กลัสนิมิ]] (ครูเนรมิต) ออกฉายครั้งแรกวันที่ 20 สิงหาคม 2508 ที่โรงหนังเฉลิมบุรี ต่อมาปลาบู่ทองถูกนำมาทำเป็นภาพยนตร์โทรทัศน์จักรๆวงศ์ๆครั้งแรกทาง [[สถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7]] ในปี พ.ศ. 2510 เป็นภาพยนตร์โทรทัศน์เรื่องแรกของ [[ดาราวิดีโอ|ดาราฟิล์ม]] กำกับโดย [[ไพรัช สังวริบุตร]] บทโดย ประสม สง่าเนตร มีเพลงนำเรื่องขับร้องโดย [[เพ็ญศรี พุ่มชูศรี]] ต่อมาในปี พ.ศ. 2515 นำมาเป็นภาพยนตร์ 35 มม. ออกฉายในชื่อเรื่อง "แม่ปลาบู่" โดย วนิชศิลปภาพยนตร์ ของ อนันต์ ชลวนิช ออกฉายวันที่ 14 พฤศจิกายน 2515 โดยฉายที่โรงภาพยนตร์นิวบรอดเวย์