ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ธนาคารกรุงไทย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 8759346 สร้างโดย 2001:44C8:451F:B1DC:F738:CE85:80C0:8AE6 (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 26:
| เว็บไซต์ = [http://www.krungthai.com Krungthai.com]
}}
ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เป็นสถาบันการเงินในประเทศไทยมีสำนักงานอยู่ที่[[เขตวัฒนา]]และ[[เขตคลองเตย]] [[กรุงเทพมหานคร]] ธนาคารกรุงไทยเป็น[[ธนาคารพาณิชย์]]เพียงแห่งเดียวในประเทศที่มีสถานะเป็น[[รัฐวิสาหกิจ]]ในรูปแบบของสถาบันการเงินภายใต้การกำกับดูแลของ[[กระทรวงการคลัง (ประเทศไทย)|กระทรวงการคลัง]] และเป็นหนึ่งในห้าธนาคารขนาดใหญ่<ref>[https://www.thairath.co.th/content/1082132 5 แบงก์ไทยที่แข็งแกร่งที่สุด]</ref> และมีจำนวนสาขาเป็นอันดับสามที่ 3 ของประเทศไทย<ref name="สาขา" />
 
 
== ประวัติ ==
=== ธนาคารมณฑล ===
ในช่วง[[สงครามโลกครั้งที่สอง]] รัฐบาลไทยในสมัยของจอมพล [[ป. พิบูลสงคราม]]ได้ดำเนินการจัดตั้งธนาคารของรัฐในรูปแบบของรัฐวิสาหกิจขึ้นเพื่อทดแทนธนาคารต่างประเทศที่ยุติการดำเนินกิจการเนื่องจากประกาศสงครามของรัฐบาลไทยต่อ[[ฝ่ายสัมพันธมิตร]]ทำให้ส่งผลกระทบต่อการค้าระหว่างประเทศเป็นอย่างมาก โดยทำการจัดตั้งธนาคารเมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2485 โดยใช้ชื่อว่า '''บริษัท ธนาคารไทย จำกัด''' ({{lang-en|Thai Bank Company Ltd.}}) ธนาคารไทยจึงมีหน้าที่ในการดำเนินธุรกิจทดแทนธนาคารต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือเพื่อเกื้อกูลการค้าข้าวของบริษัท ข้าวไทย จำกัด ต่อมาธนาคารไทยได้เปลี่ยนชื่อเป็น '''ธนาคารมณฑล จำกัด''' ({{lang-en|The Provincial Bank Ltd.}}) เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2488 เพื่อมิให้ชื่อซํ้าซ้อนกับธนาคารชาติซึ่งได้เปลี่ยนชื่อเป็นธนาคารแห่งประเทศไทยรวมถึงสอดคล้องกับบทบาทในการสนับสนุนกิจการของบริษัทพาณิชย์ในจังหวัดต่าง ๆ<ref name="สถาบันการเงินของรัฐ">[http://econ.tu.ac.th/archan/rangsun/หนังสือรวมบทความจากหนังสือพิมพ์/สังคมเศรษฐกิจไทย/วิกฤติการณ์การเงินและเศรษฐกิจการเงินไทย/ภาคที่%206.pdf วิกฤติการณ์การเงินและเศรษฐกิจการเงินไทย ภาคที่ 6 สถาบันการเงินของรัฐ]</ref> โดยมีสำนักงานเป็นตึก 4 ชั้นหน้า[[สนามม้านางเลิ้ง]] [[ถนนนครสวรรค์]] แขวงสี่แยกมหานาค [[เขตดุสิต]] [[กรุงเทพมหานคร]] (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของ[[กรมการปกครอง]] [[กระทรวงมหาดไทย (ประเทศไทย)|กระทรวงมหาดไทย]])
 
ธนาคารมณฑลได้รับการก่อตั้งโดยมีทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาท โดยกระทรวงการคลังถือ 50,650 หุ้น และบริษัท ข้าวไทย จำกัด ซึ่งมีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจถือ 45,172 หุ้น ทำให้ธนาคารมณฑลมีสัดส่วนของการถือหุ้นของรัฐสูงถึงร้อยละ 95.8 และกรรมการธนาคารในระยะแรกมีความสัมพันธ์อันแนบแน่นกับ จอมพล ป. พิบูลสงคราม เช่น [[วนิช ปานะนนท์]] [[แนบ พหลโยธิน]] [[พระยาเฉลิมอากาศ]] เป็นต้น และพนักงานส่วนใหญ่เป็นพนักงานเดิมจาก[[ฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น|ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้]] [[สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด|ธนาคารชาร์เตอร์ด]] และ[[ธนาคารเมอร์แคนไทล์แห่งอินเดีย ลอนดอน และจีน|ธนาคารเมอร์แคนไทล์]]ที่ได้ยุติกิจการไป<ref name="สถาบันการเงินของรัฐ" />
เส้น 40 ⟶ 38:
 
=== ธนาคารเกษตร ===
ธนาคารเกษตร ({{lang-en|Agricultural Bank Ltd.}}) ได้รับการก่อตั้งโดยกลุ่มข้าราชการและพ่อค้าซึ่งนำโดย[[วิลาส โอสถานนท์]] และ[[ดิเรก ชัยนาม]] โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริการแก่ลูกค้าที่เป็นเกษตรกรเมื่อวันที่ 26 เมษายน
พ.ศ. 2493 โดยมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ริม[[ถนนเยาวราช]] แขวงจักรวรรดิ [[เขตสัมพันธวงศ์]] [[กรุงเทพมหานคร]] และมีทุนจดทะเบียนในชั้นแรก 10 ล้านบาท แบ่งเป็น 10,000 หุ้น โดยมีการกระจายหุ้นอย่างกว้างกว้างให้กับบุคคลต่าง ๆ โดยมี[[สุริยน ไรวา]]เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ และวิลาสดำรงตำแหน่งผู้จัดการคนแรก
ต่อมาได้มีข้าราชการหลายคนเข้ารับตำแหน่งผู้จัดการแทน เช่น [[พระช่วงเกษตรศิลปการ]] [[พระยาบูรณสิริพงศ์ (ปราโมทย์ บุรณศิริ)|พระยาบูรณสิริพงศ์]]<ref name="สถาบันการเงินของรัฐ" />
 
เส้น 47 ⟶ 45:
 
=== รวมกิจการ ===
ด้วยนโยบายของ[[เสริม วินิจฉัยกุล]] อดีต[[รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง]] ที่เห็นว่า[[ธนาคาร]]พาณิชย์ของรัฐ รัฐบาลควรมีเพียงแห่งเดียวเท่านั้น ขณะที่ในเวลาดังกล่าว รัฐบาลไทยเข้าถือหุ้นใหญ่ ในธนาคารพาณิชย์ถึงสองแห่ง ประกอบด้วย ''ธนาคารมณฑล จำกัด'' ซึ่งก่อตั้งเมื่อวันที่ [[28 กันยายน]] [[พ.ศ. 2485]] และ ''ธนาคารเกษตร จำกัด'' ที่ก่อตั้งโดย[[สุริยน ไรวา]] ตั้งแต่ [[6 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2493]] กระทรวงการคลังจึงประกาศ ให้ควบรวมกิจการของธนาคารทั้งสองดังกล่าว โดยก่อตั้งขึ้นในชื่อใหม่ว่า ''ธนาคารกรุงไทย จำกัด'' เมื่อวันที่ [[14 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2509]] และใช้อาคารสำนักงานใหญ่แห่งเดิมของธนาคารเกษตร ซึ่งตั้งอยู่ริม[[ถนนเยาวราช]] แขวงจักรวรรดิ [[เขตสัมพันธวงศ์]] [[กรุงเทพมหานคร]] เป็นสำนักงานใหญ่ของธนาคารกรุงไทยในยุคแรก ต่อมาอาคารที่เยาวราชดังกล่าาวมีพื้นที่คับแคบ ไม่สามารถรองรับกิจการ ซึ่งขยายตัวขึ้นอย่างมาก ธนาคารจึงทำการย้ายสำนักงานใหญ่ ไปยังอาคารเลขที่ 35 [[ถนนสุขุมวิท]] แขวงคลองเตยเหนือ [[เขตวัฒนา]] ตั้งแต่ปี [[พ.ศ. 2525]] จนถึงปัจจุบัน สำหรับอาคารที่เยาวราชในทุกวันนี้ นอกจากคงใช้เป็นสาขาเยาวราชแล้ว ยังปรับปรุงส่วนหนึ่งของอาคาร ให้เป็นหอศิลป์กรุงไทยด้วย
 
=== จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์และแปรสภาพ ===
เส้น 53 ⟶ 51:
เมื่อวันที่ [[26 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2532]] ก่อนจะเปิดการซื้อขายอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ [[2 สิงหาคม]] ปีเดียวกัน และแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน เมื่อวันที่ [[24 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2537]] ตามลำดับ ปัจจุบันกระทรวงการคลังยังคงเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ โดยถือผ่าน[[กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน]]<ref>[http://www.set.or.th/set/companyholder.do?symbol=KTB&language=th&country=TH ข้อมูลผู้ถือหุ้นจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย]</ref>
 
ธนาคารกรุงไทยเป็นธนาคารพาณิชย์ที่มีนัยต่อความเสี่ยงเชิงระบบในประเทศประจำปี พ.ศ. 2560<ref>http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/235/38.PDF</ref> ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สนส. 17/2560
 
=== ธนาคารอื่นที่รับโอนกิจการและโอนบริการ ===
เส้น 59 ⟶ 57:
* รับโอนกิจการ ''[[ธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ|ธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ จำกัด (มหาชน)]]'' ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ ตั้งอยู่ที่[[ถนนสุรศักดิ์]] (ปัจจุบันเป็นที่ทำการของบริษัท บริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ บสก.) ซึ่งยุติการดำเนินกิจการ เมื่อวันที่ [[17 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2541]] โดยรับโอนเฉพาะทรัพย์สิน หนี้สิน งบประมาณที่มีคุณภาพ และเงินฝากของลูกค้าธนาคารดังกล่าว
* รับโอนกิจการ ''[[ธนาคารมหานคร|ธนาคารมหานคร จำกัด (มหาชน)]]'' (ที่เปลี่ยนชื่อเมื่อวันที่ [[4 กรกฎาคม]] [[พ.ศ. 2520]] มาจากชื่อเดิมคือ ''บริษัท แบงก์ตันเปงชุน จำกัด'' ซึ่งก่อตั้งเมื่อวันที่ [[6 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2477]] และเปลี่ยนชื่อครั้งแรกเป็น ''ธนาคารไทยพัฒนา'' เมื่อวันที่ [[28 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2503]] ตามลำดับ) ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ ตั้งอยู่ในซอยสวนมะลิ (ปัจจุบันเป็นธนาคารกรุงไทย สาขาสวนมะลิ) เมื่อวันที่ [[2 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2541]]
* โอนบริการทางการเงิน ตาม[[กฎหมายชะรีอะฮ์]]ใน[[ศาสนาอิสลาม]] หรือที่นิยมเรียกว่า ''ธนาคารกรุงไทยชะรีอะฮ์'' ให้แก่[[ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย]] เมื่อวันที่ [[9 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2548]]
 
== บริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคาร ==
เส้น 83 ⟶ 81:
 
== ตราสัญลักษณ์ ==
ธนาคารกรุงไทยใช้ตราสัญลักษณ์เป็นภาพ[[นกวายุภักษ์]]เช่นเดียวกับกระทรวงการคลังซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐที่กำกับดูแล ในช่วงแรกตราสัญลักษณ์จะเป็นรูปนกวายุภักษ์สีขาวล้อมรอบด้วยรูปวงกลม[[สีกรมท่า]]ซึ่งเป็นสีประจำธนาคาร ต่อมาใน[[ปี พ.ศ. 2554]] ธนาคารเปลี่ยนแปลงรูปแบบตราสัญลักษณ์โดยนำรูปวงกลมที่ล้อมรอบออกและเปลี่ยนสีพื้นหลังของนกวายุภักษ์จากสีขาวเป็น[[สีฟ้า|สีฟ้าอ่อน]]แทนหรือใช้เป็นรูปนกวายุภักษ์สีขาวบนพื้นหลังสีฟ้าในบางครั้ง
 
== อ้างอิง ==