ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ความเสมอภาคทางสังคม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
.
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Dolkungbighead (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 8889393 สร้างโดย 2001:44C8:451C:4070:615D:6C3E:58C5:74EA (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
บรรทัด 1:
'''ความเสมอภาค''' (Equality) เป็นมโนทัศน์พื้นฐานที่สุดเรื่องหนึ่งไม่ว่าจะกล่าวในมิติทาง[[การเมือง]]หรือในทาง[[เศรษฐกิจ]] คนทั่วไปมักสับสนคำว่า “เสมอภาค” กับ “เหมือนกัน” (sameness) กล่าวคือ คิดว่าการรับรองความเสมอภาคของ[[มนุษย์]]เท่ากับการทำให้มนุษย์ทุกคนเท่ากัน จนมักโต้แย้งว่าความเสมอภาคไม่มีทางเป็นไปได้ จึงควรทำความเข้าใจเบื้องต้นว่าหลักการของความเสมอภาค ไม่ได้และไม่เคยเรียกร้องให้มนุษย์ทุกคนต้องเหมือนกันหมด เพราะมนุษย์ย่อมแตกต่างกันเป็นธรรมชาติทั้งโดยชาติพันธุ์ รูปร่าง ผิวพรรณ [[เพศสภาพ]] บุคลิก ความเชื่อ [[ศาสนา]] [[วัฒนธรรม]] และอื่นๆ
 
แต่ความแตกต่างนั้นไม่ได้เป็นเหตุผลทำให้[[มนุษย์]]ต้องไม่เสมอภาคกัน เพราะความเสมอภาค (Equality) ตรงข้ามกับความไม่เสมอภาค (Inequality) ไม่ได้ตรงข้ามกับคำว่าความแตกต่าง (Difference) อย่างที่หลายคนทึกทัก นั่นหมายความว่า มนุษย์เราแตกต่างกันโดยธรรมชาติ แต่ก็สามารถและควรเท่าเทียมกันได้ (different but Equal) ดังนั้นเมื่อกล่าวว่า คนเสมอภาคกัน จึงไม่ได้หมายความว่าคนเหมือนกันทุกด้านไม่ว่าจะเป็นชาติตระกูล หน้าตา ความสามารถ สติปัญญา แต่การที่บอกว่าเสมอภาคกันมีความหมายว่า [[มนุษย์]]เท่าเทียมกันทั้งในความเป็นมนุษย์ และตาม[[กฎหมาย]]ของ[[รัฐ]] (Kurian, 2011: 515)<ref>Kurian, George Thomas (2011). The encyclopedia of political science. Washington: CQ Press.</ref> ดังที่มีวลีสำคัญที่สะท้อนความเสมอภาคคือ “Equality Before the Law” ซึ่งหมายความว่าบุคคลทุกผู้ทุกนามย่อมมี[[สิทธิ]]ได้รับความคุ้มครองตามกระบวนของ[[กฎหมาย]]อย่างเป็นธรรม หรือความเสมอภาคกันในทาง[[การเมือง]]คือ [[พลเมือง]]ที่มีคุณสมบัติตามที่[[กฎหมาย]]กำหนดย่อมสามารถใช้สิทธิเลือกตั้งได้อย่างเท่าเทียมกัน