ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กล้องโทรทรรศน์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Bridget (คุย | ส่วนร่วม)
Undid edits by 1.47.42.218 (talk) to last version by Aranya
เรียบร้อยแล้ว
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1:
{{ขาดอ้างอิง}}
[[ไฟล์:กล้องโทรทรรศ.jpg|220px|thumb|right|กล้องโทรทรรศน์ชนิดสะท้อนแสง]]
'''กล้องโทรทรรศน์''' คืออุปกรณ์ที่ใช้ขยาย[[วัตถุท้องฟ้า]]โดยดยอาศัยหลักการรวม[[แสง]] เพื่อให้สามารถมองเห็นวัตถุท้องฟ้าที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า หรือทำให้มองเห็นได้ชัดขึ้น และมีขนาดใหญ่ขึ้น กล้องโทรทรรศน์ได้ถูกคิดค้นขึ้นครั้งแรกเมื่อปี [[ค.ศ. 1608]] โดยฮานส์ ช่างทำแว่นคนหนึ่งซึ่งต่อมาค้นพบว่าหากนำ[[เลนส์]]มาวางเรียงกับให้ได้ระยะที่ถูกต้องเลนส์สามารถขยายภาพที่อยู่ไกลๆได้ใกล้ขึ้น และ 1 ปีต่อมา [[กาลิเลโอ กาลิเลอิ]] ก็ได้ นำมาสำรวจท้องฟ้าเป็นครั้งแรกซึ่งในตอนนั้นเป็นกล้องหักเหแสงที่มีกำลังขยายไม่ถึง 30 เท่า เท่านั้นแต่ก็ทำให้เห็นรายละเอียดต่างๆมากมายของดวงดาวต่างๆที่ยังไม่เคยเห็นมาก่อนทำให้เป็นจุดเริ่มต้นของการเริ่มมาสำรวจท้องฟ้าโดยใช้กล้องโทรทรรศน์
 
== กล้องโทรทรรศน์ชนิดหักเหแสง ==
[[กล้องโทรทรรศน์ชนิดหักเหแสง]]เป็นกล้องที่ถูกสร้างขึ้นเป็นครั้งแรกโดยฮานส์ ช่างทำแว่นคนหนึ่ง ซึ่งต่อมาค้นพบว่าหากนำ[[เลนส์]]มาวางเรียงกันให้ได้ระยะที่ถูกต้องเลนส์สามารถขยายภาพที่อยู่ไกลๆได้ใกล้ขึ้น และ 1 ปีต่อมา [[กาลิเลโอ กาลิเลอี]] ก็ได้ นำมาสำรวจท้องฟ้าเป็นครั้งแรกโดยตัวกล้องจะมี[[เลนส์]] 2 ตัวขึ้นไปคือ [[เลนส์วัตถุ]] และเลนส์ตา โดย[[เลนส์วัตถุ]]จะทำหน้าที่รับภาพจากวัตถุ แล้ว[[หักเหแสง]]ไปยังเลนส์ใกล้ตาแไปยังเลนส์ใกล ซึ่งเลนส์ใกล้ตาจะทำหน้าที่ขยายภาพจากเลนส์วัตถุอีกทีหนึ่ง โดยลักษณะการวางเลนส์จะใช้เลนส์วัตถุที่มี [[ความยาวโฟกัส]] ยาว และเลนส์ใกล้ตาที่มีความยาวโฟกัสสั้น โดยในการวางเลนส์ จะวางเลนส์วัตถุ (ความยาวโฟกัสยาว) ไว้ด้านหน้า และเลนส์ใกล้ตา (ความยาวโฟกัสสั้น) ไว้ด้านหลัง โดยระยะห่างของเลนส์ 2 ตัวนี้คือ ความยาวโฟกัสเลนส์วัตถุ + ความยาวโฟกัสเลนส์ตา เป็นต้น [[ไฟล์:moonatm.jpg|165px|thumb|right|ตัวอย่างภาพดวงจันทร์ที่ได้จากกล้องโทรทรรศน์]]
 
สำหรับกล้องโทรทรรศน์หักเหแสงของกาลิเลโอนั้น เลนส์วัตถุจะเป็น[[เลนส์นูน]] และเลนส์ตาจะเป็นจาก[[เลนส์เว้า]] ซึ่งข้อดีของการใช้ระบบเลนส์แบบนี้คือภาพที่ได้จะเป็นภาพหัวตั้งโดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์อื่นมาช่วย แต่ข้อเสียของการใช้เลนส์เว้าเป็นเลนส์ตาคือระบบกล้องจะมีมุมมองภาพที่แคบมาก ต่อมา [[โยฮันเนส เคปเลอร์]]ได้ใช้เลนส์นูนเป็นเลนส์ตาของกล้องโทรทรรศน์แทน ซึ่งทำให้ระบบกล้องโทรทรรศน์ให้ภาพกลับหัว และมีมุมมองภาพกว้างขึ้น ระบบเลนส์แบบนี้ได้ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน
 
== ความคลาดสีของกล้องโทรทรรศน์หักเหแสง ==
หากว่าเราใช้[[ปริซึม]]มาส่องกับแสงแดดจะพบว่า [[ปริซึม]]จะแตกแสงออก 7 สีด้วยกันเพราะปริซึมจะ[[หักเหแสง]]เหล่านั้น และถ้าสังเกตให้ดีเข้าไปอีกจะเห็นว่าสีที่หักเหมานั้นแต่ละสีจะยาวออกมาจากแท่งแก้ว[[ปริซึม]]ไม่เท่ากันและเราจะเรียกปรากฏการณ์เหล่านี้ว่า[[ดัชนีความหักเหของสี]]ไม่เท่ากันและถ้าหากมาใช้กับเลนส์เราจะเรียกว่า[[ความคลาดสี]]หรือ [[ความคลาดรงค์]] นั่นเอง
 
ความคลาดสีจะพบได้กับเลนส์ที่มีคุณภาพต่ำโดยเกิดจากการที่สีของแสงต่างมีดัชนีความหักเหของแสงไม่เท่ากันทำให้สีแต่ละสีไม่สามารถมารวมกันที่จุดรวมภาพจุดเดียวกันได้และทำให้เกิดรุ้งที่ขอบภาพ และในที่สุดภาพที่ได้มีแสงสีไม่ครบในภาพ และแสงที่หายไปจะเกินออกตรงขอบภาพ
 
ในอดีตได้มีการพยายามแก้ความคลาดสีด้วยการเพิ่ม[[ความยาวโฟกัส]]ของเลนส์วัตถุขึ้นแต่จะทำให้กล้องยาวมากหลายสิบเมตรทำให้การที่จะขยายกล้องหันหาดาวที่ต้องการศึกษาเป็นไปด้วยความยุ่งยากและคุณภาพที่ได้ก็ไม่ดีเท่าที่ควร
 
[[ไฟล์:chromatic.jpg|250px|thumb|right|แสดงถึงความคลาดสีที่เกิดขึ้น]]
บรรทัด 20:
 
== กล้องโทรทรรศน์ชนิดสะท้อนแสง ==
[[กล้องโทรทรรศน์ชนิดสะท้อนแสง]]สร้างได้สำเร็จครั้งแรกในปี ค.ศ. 1668 โดย [[ไอแซค นิวตัน]]ซึ่งในตอนนั้นถือเป็นเรื่องที่ใหม่มากสำหรับวงการ[[ดาราศาสตร์]]ในสมัยนั้น หลักการทำงานของกล้องสะท้อนแสงจะใช้[[กระจกเว้า]]สะท้อนแสงแทนที่จะใช้เลนส์ในการหักเหแสง โดยยังมีหลักการที่คล้ายคลึงอยู่บ้างคือ จะใช้กระจกเว้าที่มีความยาวโฟกัสยาว (เหมือนเลนส์วัตถุของกล้องหักเหแสง) สะท้อนแสงจากวัตถุเข้าที่กระจกรองซึ่งจะสะท้อนแสงของวัตถุเข้าที่เลนส์ตาและเข้าตาของผู้ใช้ในที่สุด โดยกล้องชนิดนี้มีข้อดีคือกล้องสามารถที่จะผลิตให้มีขนาดหน้ากล้องใหญ่มาก ๆ ได้ซึ่งจะทำให้สำรวจวัตถุที่จางบนท้องฟ้าได้ดีขึ้น และเมื่อเทียบกับกล้องหักเหแสงหากหน้ากล้องเท่ากันแล้วกล้องแบบสะท้อนแสงจะมีราคาถูกกว่ามาก แต่ทั้งนี้ก็มีราคาเริ่มต้นที่ไม่ถูกนักเหมือนกับกล้องหักเหแสง และกล้องชนิดนี้ยังสามารถใช้สำรวจช่วงคลื่นได้หลากหลายกว่ากล้องหักเหแสง เพราะช่วงคลื่นเหล่านั้นจะไม่ถูกดูดซับโดยแก้วของ[[เลนส์]]อีกทั้งยังไม่พบปัญหาเรื่องความคลาดสีของกล้องหักเหแสงออกไปจนหมดเพราะกล้องใช้หลักการการสะท้อนจะไม่มีปัญหาเรื่องความคลาดสีเข้ามาเกี่ยวข้อง
 
แต่กล้องชนิดนี้มีข้อเสียคือตรงหน้ากล้องจะมีกระจกรองบังหน้ากล้องอยู่ (เพื่อสะท้อนแสงจากกระจกเว้าเข้าสู่เลนส์ตา) จึงทำให้แสงผ่านเข้าได้น้อยลงและทำให้ภาพมืดลงด้วยด้วยสาเหตุนี่กล้องชนิดสะท้อนแสงจะต้องมีขนาดหน้ากล้องใหญ่เพื่อชดเชยข้อเสียดังกล่าวและจะทำให้ราคาแพงขึ้นด้วยแต่ถึงอย่างไรก็ดีผู้ศึกษามักจะนิยมใช้กล้องสะท้อนแสงมากกว่ากล้องหักเหแสงเพราะมีราคาที่ถูกกว่าเมื่อหน้ากล้องเท่ากันและสามารถเลือกซื้อกล้องที่มีหน้ากล้องใหญ่ ๆ ได้
บรรทัด 33:
'''ฐานตั้งกล้องคอมพิวเตอร์ (Computerized Mount) ''' เป็นฐานตั้งกล้องที่มีการฝังระบบคอมพิวเตอร์ลงไป ทำให้สามารถชี้ไปที่วัตถุท้องฟ้าที่กำหนดได้อัตโนมัติ โดยการระบุวัตถุที่ต้องการลงไปบนระบบควบคุม ซึ่งอาจเป็นรีโมต หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ฐานตั้งกล้องจะรับพิกัดของวัตถุนั้นจากฐานข้อมูล และหมุนกล้องไปที่วัตถุนั้น
 
== กำลังขยายขยา ==
[[กำลังขยาย]]ของกล้องโทรทรรศน์จะเท่ากับ ความยาวโฟกัสเลนส์ใกล้วัตถุหรือหร[[กระจกเว้า|้า]] / โฟกัสเลนส์ใกล้ตา
และ[[ความไวแสง|สง]]เท่ากับ ความยาวโฟกัส / ขนาดหน้ากล้อง
 
== ดูเพิ่ม ==
บรรทัด 43:
* [[กล้องโทรทรรศน์แบบผสม]]
* [[กล้องโทรทรรศน์วิทยุ]]
*
* [[กล้องโทรทรรศน์รังสีเอ็กซ์]]
*
* [[กล้องโทรทรรศน์รังสีแกมมา]]
 
{{Commons|Telescope}}