ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระสุนทรราชวงศาฯ (เจ้าฝ่ายบุต)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ชวลิต ประกอบสุข (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 20:
|รัชกาลถัดมา= [[พระสุนทรราชวงศาฯ (เจ้าเหม็น)]]
}}
'''พระสุนทรราชวงศาฯ''' หรือ '''เจ้าฝ่ายบุต''' เจ้าผู้ครองเมืองยศสุนทรประเทศราช องค์ที่ 3 และเป็นพระโอรสของ[[พระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราช|เจ้าพระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราช]] เจ้าผู้ครอง[[อาณาจักรล้านช้างจำปาสักจำปาศักดิ์]] องค์ที่ 3 อีกทั้งยังสืบเชื้อสายมาจากพระอัยกา (ปู่) คือ [[เจ้าพระตา|เจ้าพระวรราชปิตา]] พระอัยยิกา (ย่า) คือ พระนางบุสดีเทวี และพระปัยกา (ปู่ทวด) คือ [[เจ้าปางคำ|พระเจ้าสุวรรณปางคำ]] ทรงเป็นปฐม[[ราชวงศ์สุวรรณปางคำ]] ปฐมกษัตริย์ผู้สร้างนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน ([[จังหวัดหนองบัวลำภู]]ในปัจจุบัน) พระปัยยิกา (ย่าทวด) คือ พระราชนัดดาใน[[พระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช]] แห่ง[[อาณาจักรล้านช้าง]]
 
== ประวัติ ==
พระสุนทรราชวงศาฯ หรือ เจ้าฝ่ายบุต เป็นพระโอรสของ[[พระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราช|เจ้าพระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราช]] เจ้าผู้ครอง[[อาณาจักรล้านช้างจำปาสักจำปาศักดิ์]] องค์ที่ 3 สมภพที่นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน ในปี พ.ศ. 2334 เกิดเหตุ[[กบฏอ้ายเชียงแก้ว]]ที่[[อาณาจักรล้านช้าง|อาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์]] ทางฝ่ายนครจำปาศักดิ์ไม่สามารถรับมือได้ เนื่องจาก[[พระเจ้าองค์หลวงไชยกุมาร]] เจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์ในเวลานั้น ถึงแก่พิราลัยกะทันหันหลังจากได้รับทราบข่าวศึก (ก่อนหน้านั้นพระเจ้าองค์หลวงฯ เองก็ประชวรเรื้อรังมานานแล้ว) เจ้าฝ่ายหน้า ได้นำเจ้าคำสิงห์ และเจ้าฝ่ายบุต พระโอรสทั้งสองไปร่วมมือกับ[[พระประทุมวรราชสุริยวงศ์|พระประทุมราชวงศา (เจ้าคำผง)]] เจ้าผู้ครองเมืองอุบล ผู้เป็นพระเชษฐา ยกทัพไปปราบกบฏอ้ายเชียงแก้วจนราบคาบ และเจ้าฝ่ายหน้าได้จับตัวอ้ายเชียงแก้วประหารชีวิตที่[[แก่งตะนะ]] (อยู่ใน[[แม่น้ำมูล]] ระหว่าง[[อำเภอพิบูลมังสาหาร]]กับ[[อำเภอสิรินธร]]ในปัจจุบัน) ก่อนหน้าที่กองทัพเมือง[[นครราชสีมา]]จะยกมาถึงตามรับสั่งจากกรุงเทพฯ ด้วยความดีความชอบในครั้งนี้ ทำให้เจ้าหน้าได้รับการแต่งตั้งเป็น '''"พระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราช"'''<ref>ชื่อตาม ''พงศาวดารหัวเมืองมณฑลอีสาน'' ของ[[หม่อมอมรวงศ์วิจิตร]]</ref> เจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์ องค์ที่ 3 แลพระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราชก็ยังให้เจ้าฝ่ายบุต ผู้เป็นพระราชโอรสลงไปรับราชการสนองที่นครจำปาศักดิ์อีกด้วย
 
ในปี พ.ศ. 2370 พระยาราชสุภาวดีจึงกราบบังคมทูลความดีความชอบของเจ้าฝ่ายบุตในคราวปราบกบฎเจ้าอนุวงศ์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเจ้าฝ่ายบุตเป็น'''พระสุนทรราชวงศา มหาขัติยชาติ ประเทศราชวงศ์เวียง ดำรงรักษ์ภักดียศฦๅไกร ศรีพิไชยสงคราม'''<ref>พระราชพงศาวดาร-กรุงรัตนโกสินทร์-รัชชกาลที่-๔/๒๑๑-ทรงตั้งและแปลงนามเจ้าเมืองกรมการ</ref> เจ้าผู้ครองเมืองยศสุนทร องค์ที่ 3 (พ.ศ. 2370-2400) พร้อมพระราชทานพระพุทธรูปสำคัญคือ [[พระพุทธปฏิมาบุษยรัตน์]] หรือ พระแก้วหยดน้ำค้าง อันเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองยโสธรในปัจจุบัน , พระราชทานเชลยศึกจากนครเวียงจันทน์ จำนวน 500 ครอบครัว และพระราชทานปืนใหญ่ไว้สำหรับเมืองยศสุนทร 1 กระบอก อันมีชื่อว่า "ปืนนางป้อง" ซึ่งยังคงปรากฏอยู่ที่ศาลหลักเมืองยโสธรมาจนถึงปัจจุบัน เมื่อเจ้าฝ่ายบุตได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งขึ้นเป็นเจ้าผู้ครองเมืองแล้ว ได้ให้ไพร่พลนำหินศิลาจากบ้านแก้งหินโงม มาสร้างพระพุทธบาทจำลองประดิษฐานที่มณฑปวัดป่าอัมพวัน สร้างวัดขึ้นที่ท่าน้ำริมฝั่งแม่น้ำชี เรียกว่า '''วัดท่าแขก''' (หรือ'''[[วัดศรีธรรมาราม]]'''ในปัจจุบัน) และสร้างวัดขึ้นที่กลางเมือง เรียกว่า '''วัดกลางศรีไตรภูมิ''' ไว้เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองสืบมา
บรรทัด 67:
|boxstyle_5=background-color: #9fe;
|1= [[พระสุนทรราชวงศาฯ (เจ้าฝ่ายบุต)]]
|2= [[พระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราช]] แห่ง[[อาณาจักรล้านช้างจำปาสักจำปาศักดิ์]]
|3= พระชายา
|4= [[เจ้าพระตา|เจ้าพระวรราชปิตา]] แห่งนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน