ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อำเภอธาตุพนม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Billner2009 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 28:
คัมภีร์อุรังคธาตุกล่าวถึงสถานะของธาตุพนมว่าเป็น '''พุทธศาสนานคร''' หรือ [[ศาสนานคร]] เรื่องราวเกี่ยวกับเมืองจึงถูกเรียกว่า '''ศาสนานครนิทาน''' จารึกเจ้าพระยาหลวงนครพิชิตราชธานีศรีโคตรบูรหลวงจึงออกนามเมืองว่า '''สาสสนาพระนม''' เมืองพุทธศาสนานคร<ref>ประวิทย์ คำพรหม. ''ประวัติอำเภอธาตุพนม''. กาฬสินธุ์. ๒๕๔๖.</ref> นั้นหมายถึง เมืองศักดิ์สิทธิ์อันเป็นศูนย์กลางทางพระพุทธศาสนา จิตวิญญาณ ศรัทธาและความเชื่อของชาวลาวและชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในอาณาจักรล้านช้าง ถึงขนาดชาวต่างชาติขนานนามเมืองว่า '''เมืองเมกกะของลาว''' เนื่องจากเป็นเมืองที่พระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักร[[ศรีโคตรบูร]]และพระมหากษัตริย์แห่ง[[อาณาจักรล้านช้าง]]ถวายเขตแดนเป็น[[กัลปนา]]แด่พระธาตุพนม นัยหนึ่งเรียกว่าเมือง[[ข้าโอกาส]]หยาดทานหรือเมือง[[ข้อย]]โอกาส เจ้าผู้ปกครองเมืองธาตุพนมมีสถานะพิเศษต่างจากเจ้าเมืองทั่วไป จารึกผูกพัทธสีมาวัดธาตุพนมของเจ้าเมืองมุกดาหารออกนามเจ้าผู้ปกครองธาตุพนมว่า '''ขุนโอกาส''' (ขุนเอากฺลาษฺ)<ref>กรมศิลปากร. ''จดหมายเหตุการณ์บูรณปฏิสังขรณ์องค์พระธาตุพนม : ณ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม พ.ศ. ๒๕๑๘-๒๕๒๒''. กรุงเทพฯ. ๒๕๒๒.</ref> ส่วนอุรังคธาตุฉบับบ้านเชียงยืน กำแพงนครเวียงจันทน์ เมืองจันทะบูลี ๒ ฉบับออกนามว่า '''เจ้าโอกาส''' (เจ้าโอกาด)<ref> หนังสืออุลังคนีทาน (อุลังคะนิทาน) ฉบับหอสมุดแห่งชาติ บ้านเชียงยืน กำแพงนครเวียงจันทน์ เมืองจันทะบูลี หน้าลานที่ ๓๐-๓๒</ref> <ref>พื้นอุลํกาธา ฉบับหอสมุดแห่งชาติ บ้านเชียงยืน กำแพงนครเวียงจันทน์ เมืองจันทะบูลี หน้าลานที่ ๒๙-๓๐</ref> หมายถึงเจ้าผู้เป็นใหญ่แห่งข้าโอกาสพระธาตุพนมคล้ายกับสถานะขุนสัจจพันธคีรีรัตนไพรวัน เจติยาสันคามวาสี นพคูหาพนมโขลน<ref>http://th.wikisource.org/wiki</ref> ผู้ดำรงตำแห่ง '''ขุนโขลน''' เจ้า[[เมืองพระพุทธบาท]] (เมืองสุนาปรันตประเทศ) หัวเมืองกัลปนาชั้นจัตวาของสยาม<ref>กรมศิลปากร. ''ประชุมพงศาวดารภาคที่ ๗ : คำให้การขุนโขลน''. กรุงเทพ. ๒๔๖๐.</ref> คล้ายกับการปกครองเมืองจำปาอันเป็นส่วนแห่งพรหมไทย (พรหฺมเทยฺย) ซึ่งกษัตริย์ถวายแก่พราหมณ์ตามที่ปรากฏในพระไตรปิฎก และคล้ายกับบรรดาศักดิ์ '''โขลญพล''' (โขฺลญฺ วล กํมฺรเตงฺ อญฺ) เจ้าเมืองกัลปนาของ[[เขมร]]โบราณ เช่น เมืองลวปุระ (ลพบุรี) ในสมัยขอมเรืองอำนาจ<ref>http://www.sac.or.th/databases/inscriptions/index.php</ref> สถานะผู้ปกครองเช่นนี้ยังปรากฏในอาณาจักรล้านช้างหลายแห่ง เช่น กวานนาเรือเมืองนาขาม เมืองหินซน และเมืองซนู แถบถ้ำสุวรรณคูหาในหนองบัวลำภู ช่วงรัชกาลสมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช เป็นต้น <ref>http://www.sac.or.th/databases/inscriptions/inscribe_detail.php?id=2233</ref> เอกสารบันทึกการเดินทางในลาวของเอเจียน เอมอนิเย กล่าวว่าผู้ปกครองธาตุพนมเป็นญาติกับเจ้าเมืองมุกดาหารและเจ้าพระยาหลวงเมืองแสน อำนาจของขุนโอกาสในสมัยล้านช้างมีมากกว่าเจ้าเมืองแถบลุ่มน้ำโขงหลายเมือง ส่วนใบลานพื้นเมืองเวียงจันทน์อย่างน้อย ๓ ฉบับกล่าวว่า ผู้ถูกสถาปนาให้รักษาธาตุพนมทรงเป็นกุมารเชื้อสายเดียวกันกับพระเจ้าพ่ออีหลิบ (สมเด็จพระเจ้าสิริบุญสาร) พระเจ้านันทเสน และพระเจ้าอินทวงศ์ กษัตริย์แห่งนครเวียงจันทน์ทั้ง ๓ พระองค์
 
สมัยโบราณเวียงพระธาตุของธาตุพนมถูกรายล้อมด้วยเวียงข้าพระธาตุ ๔ แห่ง คือ เวียงปากเซหรือเมืองกะบอง (ปัจจุบันคือเมืองเซบั้งไฟ สปป.ลาว) เวียงปากก่ำกรรมเวรหรือเมืองปากก่ำ (ปัจจุบันคือตำบลน้ำก่ำ อำเภอธาตุพนม) เวียงขอมกระบินหรือเมืองกบิล (ปัจจุบันคืออำเภอนาแก)<ref>http://na-kae.blogspot.com/</ref> เวียงหล่มหนองหรือเมืองมรุกขนคร (ปัจจุบันคือตำบลพระกลางทุ่ง นักวิชาการบางกลุ่มเชื่อว่าคือบ้านดอนนางหงส์ท่า) ธาตุพนมมีภูมิศาสตร์การวางผังเมืองขนานกับแม่น้ำโขงหันหน้าไปทางทิศตะวันออก วางผังเมืองตามคติจักรวาลวิทยาในพระพุทธศาสนา ประกอบด้วยกำแพงล้อมรอบ ๓ ชั้น แบ่งพื้นที่สำคัญเป็น ๓ ส่วน ส่วนแรกคือหัวเมืองทางทิศเหนือเป็นที่ตั้ง '''วัดหัวเวียง''' (วัดหัวเวียงรังษี) และชุมชนข้าโอกาสเดิมคือ [[บ้านหัวบึง]] บ้านหนองหอย เป็นต้น ต่อมาคือตัวเมืองเป็นที่ตั้งองค์พระธาตุพนมซึ่งเป็นตัวแทนอำนาจพุทธจักร จารึกวัดพระธาตุพนมแสดงให้เห็นว่าวัดนี้เป็นที่ประทับของพระสังฆราชและพระชั้นปกครองเรียกว่า เจ้าด้าน จำนวน ๔ รูป นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งหอเจ้าเฮือน ๓ พระองค์ซึ่งเป็นตัวแทนอำนาจผีบรรพบุรุษ เป็นที่ตั้ง[[บึงธาตุ]]ซึ่งเป็นแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ และเป็นที่ตั้งของกำแพงเมืองโบราณทิศตะวันออกริมฝั่งโขงซึ่งเป็นตัวแทนอำนาจการปกครองของเจ้านาย ส่วนทิศตะวันตกเป็นที่ตั้งของชุมชนข้าโอกาสเดิมคือ[[บ้านดอนกลาง]]หรือ[[บ้านดอนจัน]] ส่วนสุดท้ายคือท้ายเมืองทางทิศใต้เป็นที่ตั้ง[[แม่น้ำก่ำ]] อุรังคธาตุนิทานกล่าวว่าตอนใต้แม่น้ำนี้เคยเป็นราชสำนักกษัตริย์ที่มาร่วมสร้างพระธาตุพนม และเป็นที่ตั้งของชุมชนข้าโอกาสเดิมคือ[[บ้านน้ำก่ำ]]ยาวไปถึงตาลเจ็ดยอดในเขตตัวเมืองมุกดาหารด้วย
 
อุรังคธาตุและพื้นธาตุพนมกล่าวว่าสมัย'''พระยานันทเสน'''กษัตริย์[[เมืองศรีโคตรบูร]] (ราวพุทธศตวรรษที่ ๑-๓) พระองค์ทรงเป็นเค้าอุปถากพระธาตุพนม จากนั้นทรงแต่งตั้งเจ้า ๓ พี่น้องซึ่งเป็นพระราชนัดดาให้ปกครองข้าโอกาสพระธาตุพนมโดยแบ่งออกเป็น ๓ กอง ได้แก่ '''พระยาสหัสสรัฏฐา''' (เจ้าแสนเมือง) ปกครองนอกกำแพงพระมหาธาตุ '''พระยาทักขิณรัฏฐาˈ''' (เจ้าเมืองขวา) ปกครองในกำแพงพระมหาธาตุ และ'''พระยานาคกุฏฐวิตถาร''' (เจ้าโต่งกว้าง) ปกครองฝั่งซ้ายน้ำโขงตั้งแต่ปาก[[น้ำเซ]]ไหลตกปาก[[น้ำก่ำ]] เจ้านายทั้ง ๓ พระองค์ได้รับยกย่องให้เป็น[[มเหสัก]][[หลักเมือง]]ธาตุพนมสืบมาถึงปัจจุบัน นับถือกันกว่าเป็นวิญญาณบรรพบุรุษรุ่นแรกของข้าโอกาสพระธาตุพนม เรียกว่า '''[[เจ้าเฮือนทั้ง ๓]]''' หรือ '''เจ้าเฮือน ๓ พระองค์''' สมัยต่อมาในอุรังคธาตุผูกเดียวกล่าวว่าพระธาตุพนมถูกอุปถากโดย '''พระยาปะเสน''' ต่อมาสมัยพระยาสุมิตธรรมวงศาเจ้าเมืองมรุกขนครได้แต่งตั้งให้'''หมื่นลามหลวง''' (หมื่นหลวง) เป็นเค้าอุปถากโดยมีนายด่านนายกองช่วยปกครองธาตุพนม พระองค์พระราชทานเงินทองทรัพย์สินจำนวนมากเป็นเครื่องตอบแทน ต่อมาสมัยพระยาสุบินราชพระองค์โปรดฯ ให้ '''หมื่นมาหารามหลวง''' และ '''พวกเฮือนหิน''' เป็นเค้าอุปถากธาตุพนม เมื่ออาณาจักรขอมเสื่อมอำนาจลงในสมัยล้านช้างตอนต้นคือรัชกาลของพระเจ้าโพธิสาลราช (พ.ศ. ๒๐๖๓-๒๐๙๐) เมืองพนมถูกปกครองโดยขุนนางข้าหัตบาสใกล้ชิดของพระเจ้าโพธิสาลราชจากราชสำนักเมืองหลวงพระบางนามว่า '''[[พันเฮือนหิน]]''' (พันเฮือหีน) พร้อมได้รับพระราชทานบริวารติดตามให้อีก ๓๐ นาย เรียกว่า กะซารึม ๓๐ ด้ามขวาน ส่วนขุนกินเมืองทั้งหลายได้ส่งคนมาให้อีก ๓๐๐ นาย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้ปกครองธาตพนมสมัยนั้นมีอำนาจมาก นอกจากนี้ยังแต่งตั้ง '''[[พันซะเอ็ง]]''' ([[ข้าชะเอ็ง]]) พี่ชายของพันเฮือนหินให้เป็นผู้ปกครองธาตุพนมร่วมกันด้วย <ref>พระธรรมราชานุวัตร (แก้ว อุทุมมาลา), ''อุรังคธาตุนิทาน : ตำนานพระธาตุพนม (พิศดาร) ''. กรุงเทพฯ. ๒๕๓๗.</ref> อย่างไรก็ตามพันเฮือนหินได้กลับคืนไปอยู่หลวงพระบางแล้วทำหน้าที่อัญเชิญเครื่องสักการะบูชาของพระองค์ลงมานมัสการพระธาตุพนมในวันสังขานปีใหม่แทน ต่อมาสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชมหาราช (พ.ศ. ๒๐๙๑-๒๑๑๔) พระองค์เสด็จมาบูรณะพระธาตุพนมและโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง '''[[พระยาธาตุพระนม]]''' หรือ '''พระยาพระมหาธาตุเจ้า'''<ref>พื้นอุลํกาธา ฉบับหอสมุดแห่งชาติ บ้านเชียงยืน กำแพงนครเวียงจันทน์ เมืองจันทะบูลี หน้าลานที่ ๒๔</ref> ขึ้นเป็นเจ้าโอกาสรักษานครพระมหาธาตุพนม โดยมี '''พระยาทั้ง ๔''' เป็นผู้ช่วย<ref>อุลังกทาดผูกเดียว ฉบับวัดอับเปวันนัง บ้านบกท่ง เมืองจำพอน แขวงสุวรรณเขต หน้าลานที่ ๑๓</ref> ถัดนั้นรัชกาลพระเจ้าวรวงศาธรรมิกราช (พ.ศ. ๒๑๔๐-๒๐๖๕) เจ้าพระยานครหลวงพิชิตราชธานีสีโคดตะบูรหลวงได้เสด็จมาพระราชทานโอวาทแก่'''พระยาทาด''' (พระยาธาด) พร้อมแต่งตั้งพระยาทั้ง ๒ คือ '''พระยาทด''' และ '''พระยาสีวิไซ''' ให้ช่วยปกครองข้าโอกาสพระธาตุพนม จากนั้นในรัชกาลพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราชแห่งนครเวียงจันทน์ (พ.ศ. ๒๑๘๑-๒๒๓๘) ในพื้นธาตุพระนมฉบับวัดใหม่สุวันนะพูมารามเมืองหลวงพระบางกล่าวว่า พระองค์โปรดฯ พระราชทานเขตดินชั้นนอกให้พระธาตุพนมพร้อมแต่งตั้งให้ '''พระเจ้าเฮือนทั้ง ๓''' หรือ '''พระยาเจ้าทั้ง ๓''' ปกครองธาตุพนม ได้แก่ '''เจ้าตนปู่เลี้ยง''' เป็นใหญ่ในข้าโอกาสภายในพระมหาธาตุ ส่วนทิศใต้และทิศเหนือนั้นให้ '''พระยาเคาะยดทะราดธาดพระนม''' (หมื่นเคาะ) และ '''พระยาเคายดทะราดธาดพระนม''' (หมื่นเคา) ปกครอง <ref>พื้นทาดตุพระนม วัดใหม่สุวันนะพูมาราม บ้านป่าขาม เมืองหลวงพระบาง แขวงหลวงพระบาง ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หน้าลานที่ ๒๙-๓๑</ref> หลังสิ้นรัชกาลพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราชแห่งนครเวียงจันทน์ [[เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก]]สังฆราชแห่งเวียงจันทน์ได้อพยพผู้คนจากนครเวียงจันทน์บางส่วนมาถวายไว้เป็นข้าพระธาตุพนมจำนวนมาก พร้อมทั้งต่อเติมเสริมยอดพระธาตุพนมให้สูงขึ้น ในตำนานบ้านดงนาคำซึ่งเป็นหมู่บ้านข้าโอกาสพระธาตุพนมทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงกล่าวว่า เจ้าราชครูหลวงได้ตั้งให้พระสงฆ์ฝ่ายปกครอง ๔ รูปปกครองวัดวาอารามทั้ง ๔ ทิศในเขตเมืองพนม เรียกว่า '''[[เจ้าด้านทั้ง ๔]]''' จากนั้นทรงขออนุญาตเจ้านายผู้ปกครองกองข้าโอกาสพระธาตุพนมซึ่งแบ่งออกเป็น ๓ กอง ให้เป็นผู้นำพาประชาชนจากเวียงจันทน์ออกไปตั้งหมู่บ้านใหม่เพื่อให้ข้าโอกาสพระธาตุพนมมีจำนวนเพิ่มขึ้น คือ '''[[แสนกลางน้อยศรีมุงคุล]]''' หัวหน้าข้าโอกาสให้นำพาผู้คนไปตั้งบ้านหมากนาว<ref>เชื่อว่าเป็นองค์เดียวกันกับอาชญาหลวงกลางน้อยศรีวรมุงคุล (ศรี รามางกูร) เจ้าเมืองธาตุพนม แต่เมื่อเทียบศักราชช่วงที่ปกครองแล้วห่างกันมาก</ref> '''[[แสนพนม]]''' ให้นำพาผู้คนไปตั้งบ้านดงใน '''[[แสนนามฮาช]]''' (แสนนาม) ให้นำพาผู้คนไปตั้งบ้านดงนอก ทั้งสามท่านยังเป็นต้นตระกูลข้าโอกาสพระธาตุพนมทั้งสองฝั่งโขงสืบมาจนปัจจุบัน<ref>พระเทพรัตนโมลี, ''เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก (ท่านเจ้าราชครูขี้หอม)''. กรุงเทพฯ. ๒๕๒๘.</ref>