ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สวนสัตว์ยุคใหม่ ( Modern Zoo )"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Kongkham6211 (คุย | ส่วนร่วม)
Kongkham6211 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 28:
มีสัตว์และพืชหลายชนิดอยู่ในสภาวะใกล้สูญพันธุ์จากสาเหตุหลายประการ เช่น ขาดแหล่งอาหาร ไดโนเสาร์เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนซึ่งสูญพันธุ์ไปเมื่อ 65 ล้านปีที่แล้ว ในช่วงปี พ.ศ. 2193 ถึง 2493 อัตราการสูญพันธุ์ของพืชและสัตว์อยู่ที่ 1 ชนิด ทุก ๆ 5 ปี ในปัจจุบันจากการทำลายป่าของมนุษย์อย่างกว้างขวาง ทำให้พืชและสัตว์มีโอกาสสูญพันธุ์ 74 ชนิดต่อ 1 วัน หากอัตราดังกล่าวยังดำเนินต่อไปคาดกันว่าจะ สิ่งมีชีวิตประมาณร้อยละ 20 จะสูญพันธุ์ในเวลา 30 ปี
สวนสัตว์หลาย ๆ แห่งได้ทำงานในส่วนที่มากกว่าการจัดแสดงสัตว์และเผยแพร่เรื่องวิกฤตการณ์ของสิ่งแวดล้อม เป็นเวลามากกว่า 30 ปี ที่สมาคมสวนสัตว์และสถานแสดงสัตว์น้ำแห่งอเมริกา (American Zoo and Aquarium Association) ที่มีสมาชิกเป็นสวนสัตว์จำนวน 162 แห่ง เป็นสมาคมที่จัดลำดับให้งานด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่าเป็นเป้าหมายที่สำคัญที่สุดโดยมีความร่วมมือในงานที่เรียกว่า แผนงานเพื่อความคงอยู่ของพันธุ์สัตว์ ( Species Survival Plan , SSPs) โดยมีสวนสัตว์ที่ใหญ่ ๆ เป็นผู้ร่วมในงานนี้มีชนิดสัตว์จำนวน 172 ชนิดที่อยู่ในแผนงานนี้และโครงการจำนวน 116 โครงการ
 
เป้าหมายหลัก 2 งานของ SSPs คือ 1. การคัดเลือกชนิดสัตว์เพื่อเข้าสู่การเพาะขยายพันธุ์ เพื่อเพิ่มจำนวนสัตว์ที่แข็งแรงให้มีจำนวนมากเพียงพอ 2. การนำสัตว์ปล่อยคืนสู่พื้นที่ธรรมชาติ ซึ่งก่อนที่จะนำสัตว์ปล่อยคืนนั้น สัตว์ต้องผ่านกระบวนการฝึกสัตว์ให้มีความคุ้นเคยเรียนรู้สภาพพื้นที่และชนิดอาหาร โดยมีตัวอย่างความสำเร็จคือ 1. ม้าป่าพันธุ์เอเชียหรือม้าป่าพันธุ์พรีวอซสกี้ (Prezewalski’s horse) ที่สูญพันธุ์จากทุ่งหญ้าสเตปป์ในประเทศมองโกเลียไปแล้ว โดยตั้งแต่ พศ. 2513 ได้มีการปล่อยคืนสู่ถิ่นที่อยู่เดิมที่เป็นทะเลทรายและทุ่งหญ้าที่เป็นพื้นที่อนุรักษ์ 2. โครงการนำลิงโกลเด้นไลอ้อนทามารีน ( Golden Lion Tamarin ) จำนวนหนึ่งที่สามารถเพาะพันธุ์ได้ในสวนสัตว์ปล่อยคืนสู่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ในป่าดิบชื้นของประเทศบราซิล
โดยภาพรวม SSPs มีโครงการเพาะขยายพันธุ์สัตว์ป่าที่อยู่ในสภาวะใกล้สูญพันธ์อยู่มากกว่า 50 ชนิดสัตว์ ซึ่งเป็นเพียงส่วนเล็ก ๆ ของสัตว์ป่าที่ถูกคุกคามทั้งหมด มีบางสวนสัตว์ที่มีสถานีเพาะขยายพันธุ์ที่อยู่นอกพื้นที่ของสวนสัตว์ และเป็นเขตที่เปิดให้ประชาชนทั่วไปได้เข้าชมเป็นครั้งคราว เช่น ศูนย์วิจัยและอนุรักษ์ของสวนสัตว์แห่งชาติของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นศูนย์วิจัยและเพาะขยายพันธุ์ 1 ใน 3 แห่งของประเทศ มีพื้นที่ 7,800 ไร่ ที่เมืองฟอร์น รอยอล รัฐเวอร์จิเนีย ( Fort Royal, Virginia.)