ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สวนสัตว์ยุคใหม่ ( Modern Zoo )"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Kongkham6211 (คุย | ส่วนร่วม)
Kongkham6211 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 20:
 
การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสวนสัตว์ในรูปแบบดังกล่าวเป็นวิธีการที่มีค่าใช้จ่ายสูง ทำให้ความคิดของฮาเจนเบคได้รับความนิยมอยู่ในวงแคบๆ ในระยะต่อมาภายใต้คำแนะนำและคำวิพากษ์วิจารณ์ของนักชีววิทยาและนักสัตววิทยาหัวก้าวหน้าหลายๆ ท่าน สวนสัตว์หลายแห่งก็เริ่มมีการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะนักวิจัยพฤติกรรมสัตว์ป่า ( animal behaviorist ) ได้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของสังคมสัตว์ที่มีการสัมผัสสัมพันธ์กันระหว่างสมาชิกในฝูง เช่น ลิงมีหาง ( monkeys ) ลิงไม่มีหาง ( apes ) ช้างและม้าลาย มีงานวิจัยในเรื่องพฤติกรรมการสืบพันธุ์ อาหารและสิ่งแวดล้อม การปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมของสัตว์หลากหลายชนิดในป่าธรรมชาติ งานวิจัยเหล่านี้ทำให้เราเข้าใจในสัตว์ชนิดต่างๆ มากขึ้น ดังนั้นในส่วนแสดงสัตว์ต้องมีการสร้างกิจกรรมให้แก่สัตว์ เพื่อให้สัตว์มีโอกาสที่จะได้แสดงพฤติกรรมตามสัญชาตญาณ มีพื้นที่เพียงพอให้สามารถเคลื่อนที่ไปมาซึ่งจะช่วยให้สัตว์แข็งแรง มีสุขภาพจิตที่ดี ซึ่งสัตว์ที่มีการเคลื่อนไหวและมีการแสดงพฤติกรรมปกติอย่างที่แสดงในป่าธรรมชาติ จะเป็นการสร้างจุดสนใจสำหรับผู้เที่ยวชมที่มีต่อสัตว์ในส่วนแสดง
ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา สาธารณะชนได้ให้ความสนใจกับกิจการของสวนสัตว์มากยิ่งขึ้น และแสดงความต้องการที่จะให้สวนสัตว์มีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงตัวเอง โดยมีสาเหตุ 2 ประการคือ แรงกระตุ้นจากสื่อสารมวลชน และรูปแบบการดำเนินชีวิตของมนุษย์ที่ห่างจากธรรมชาติมากขึ้น
1. สื่อมวลชนในหลายแขนงได้นำเสนอภาพถึงสัตว์ที่อยู่ในสภาวะใกล้สูญพันธุ์เช่น ช้าง ลิงกอลิลาร์และแพนด้าทำให้ประชาชนทั่วไปรับทราบถึงสถานการณ์ที่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ถูกคุกคาม และจำนวนประชากรในป่าลดลง ตัวอย่างของรายการที่แพร่ภาพทางโทรทัศน์ในประเทศสหรัฐอเมริกาและอีกหลายประเทศทั่วโลกในช่วงปี พ.ศ. 2506 ชื่อรายการ Wild Animal ซึ่งแพร่ภาพจำนวน 329 ตอน หรือในยุคปัจจุบันรายการโทรทัศน์มีการนำรายการสารคดีธรรมชาติสัตว์และพืชนำเสนออย่างมากมาย หรือเป็นช่องเฉพาะที่เราคุ้นเคยกันในชื่อของ Animal Planet Chanel, Discovery Chanel ได้ให้ความรู้แก่ประชาชนจำนวนมากในวงกว้าง ผู้ชมรายการดังกล่าวเคยเห็นภาพของนกกระจอกเทศและวิลเดอร์บีทที่วิ่งในทุ่งกว้าง และผู้ชมส่วนหนึ่งก็มีความต้องการที่จะเห็นสัตว์เหล่านี้แสดงพฤติกรรมแบบนั้นในส่วนแสดงสัตว์ในสวนสัตว์บ้าง
2. ในยุคปัจจุบันที่พื้นที่ของเมืองขยายตัว มนุษย์ไกลห่างจากพื้นที่ป่า พื้นที่ธรรมชาติมากขึ้น ความรู้สึกที่มนุษย์มีความต้องการที่จะสัมผัสกับธรรมชาติจึงมีมากขึ้น สวนสัตว์ซึ่งส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเมืองจึงต้องเป็นส่วนหนึ่งในการตอบสนองความต้องการของมนุษย์ในเรื่องนี้
เหตุผลอีกประการหนึ่งที่สวนสัตว์จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงตัวเอง เมื่อป่าไม้ที่เป็นถิ่นที่อยู่ของสัตว์ อยู่ในภาวะที่ต้องเผชิญกับปัญหาการถูกทำลายในอัตราที่สูงมาก เมื่อพื้นที่ป่าลดลงจำนวนสัตว์ก็ย่อมน้อยลงตามไปด้วย เช่น จำนวนประชากรของลิงกอลิล่าภูเขา ( mountain gorillas ) เหลืออยู่เพียง 500 ตัว ทั้งในประเทศซาอีร์และราวันดาของทวีปแอฟริกา รวมทั้งมีปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้สัตว์ชนิดนี้ลดจำนวนลงคือสถาณการณ์การเมืองที่ประเทศทั้ง 2 นี้อยู่ในสภาวะสงครามกลางเมือง และความอ่อนแอของกฎหมายที่จะควบคุมการล่าของนายพราน เฟอร์เรทเท้าดำ ( Black – foot ferret ) อยู่ในสภาวะใกล้สูญพันธุ์ เนื่องจากถิ่นที่อยู่คือพื้นที่ราบอเมริกัน (American Plain) กลายเป็นพื้นที่เพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ ทำให้สัตว์เหยื่อที่เป็นอาหารของ เฟอร์-เรทคือ แพรีดอค ( Prairie Dog ) ลดจำนวนลงตามไปด้วย ความจริงที่น่าเศร้าก็คือ มีสัตว์อีกหลายชนิดที่ต้องสูญพันธุ์ไปก่อนที่นักวิทยาศาสตร์จะได้ทำการศึกษา ถึงการมีอยู่ของสัตว์ชนิดนั้นในโลกใบนี้
 
 
เหตุผลอีกประการหนึ่งที่สวนสัตว์จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงตัวเอง เมื่อป่าไม้ที่เป็นถิ่นที่อยู่ของสัตว์ อยู่ในภาวะที่ต้องเผชิญกับปัญหาการถูกทำลายในอัตราที่สูงมาก เมื่อพื้นที่ป่าลดลงจำนวนสัตว์ก็ย่อมน้อยลงตามไปด้วย เช่น จำนวนประชากรของลิงกอลิล่าภูเขา ( mountain gorillas ) เหลืออยู่เพียง 500 ตัว ทั้งในประเทศซาอีร์และราวันดาของทวีปแอฟริกา รวมทั้งมีปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้สัตว์ชนิดนี้ลดจำนวนลงคือสถาณการณ์การเมืองที่ประเทศทั้ง 2 นี้อยู่ในสภาวะสงครามกลางเมือง และความอ่อนแอของกฎหมายที่จะควบคุมการล่าของนายพราน เฟอร์เรทเท้าดำ ( Black – foot ferret ) อยู่ในสภาวะใกล้สูญพันธุ์ เนื่องจากถิ่นที่อยู่คือพื้นที่ราบอเมริกัน (American Plain) กลายเป็นพื้นที่เพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ ทำให้สัตว์เหยื่อที่เป็นอาหารของ เฟอร์-เรทคือ แพรีดอค ( Prairie Dog ) ลดจำนวนลงตามไปด้วย ความจริงที่น่าเศร้าก็คือ มีสัตว์อีกหลายชนิดที่ต้องสูญพันธุ์ไปก่อนที่นักวิทยาศาสตร์จะได้ทำการศึกษา ถึงการมีอยู่ของสัตว์ชนิดนั้นในโลกใบนี้
 
= = การร่วมมือกันเพื่ออนุรักษ์สัตว์ป่าไว้ = =