ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สวนสัตว์ยุคใหม่ ( Modern Zoo )"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Kongkham6211 (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: สวนสัตว์ยุคใหม่ ( The New Zoo ) สวนสัตว์สมัยใหม่เป็นสวนสัตว์ที่ต้อง...
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:01, 31 พฤษภาคม 2563

สวนสัตว์ยุคใหม่ ( The New Zoo ) สวนสัตว์สมัยใหม่เป็นสวนสัตว์ที่ต้องทำหน้าที่หลากหลายมากขึ้น เป็นโรงเรียนสำหรับการสอนเรื่องสัตว์ป่าและสิ่งแวดล้อม เป็นห้องวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ เป็นสถานีเพาะพันธุ์สัตว์ป่าเพื่อจุดประสงค์ทั้งเพื่อการแสดงและงานอนุรักษ์ เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจสำหรับประชาชนทุกเพศวัย และเป็นสถานประกอบการทางธุรกิจที่มีรูปแบบเหมาะสมเพื่อเป็นทุนทรัพย์สำหรับการดำเนินงาน ขยายพื้นที่และขอบเขตงาน

สวนสัตว์กับการเปลี่ยนแปลง ( Zoos in Transformation )

ยินดีต้อนรับสู่สวนสัตว์สมัยใหม่ ( modern zoo ) หรือสวนสาธารณะเพื่อการอนุรักษ์สัตว์ป่า ( wildlife conservation park ) โดยสวนสัตว์ในปัจจุบันได้ทำหน้าที่คือ ในการดูแลสัตว์ ป่าและพืชหลากหลายชนิด การเพาะขยายพันธุ์สัตว์ป่าเพื่อการจัดแสดงและเพื่อการอนุรักษ์สัตว์ในท้องถิ่นที่อยู่สภาวะถูกคุกคาม งานวิจัยโดยเฉพาะเรื่องการเพาะขยายพันธุ์สัตว์ การให้ข้อมูลและการศึกษาแก่ผู้เที่ยวชมในเรื่องสัตว์ป่าและพืช ส่วนแสดงสัตว์ในสวนสัตว์ในอดีตจะใช้แนวกันสัตว์ในแบบซี่กรงและพื้นที่แคบๆ แต่ในปัจจุบันวิธีการออกแบบและจัดสร้างส่วนแสดงจะมีรูปแบบของแนวกันสัตว์ที่หลากหลายเช่น การใช้คูน้ำ ( wet moat ) คูแห้ง ( dry moat ) กระจกนิรภัย ( laminate security glass ) ซึ่งวิธีที่กล่าวมานี้เพื่อแยกพื้นที่จัดแสดงสัตว์ออกจากพื้นที่ชมสัตว์ของผู้เที่ยวชม ด้วยวิธีการที่เหมาะสมสำหรับการชมสัตว์ สวนสัตว์บางแห่งที่ที่ใช้แนวคิดที่มีคำศัพท์ในภาษาอังกฤษว่า “ Immersion ” ซึ่งหมายถึงส่วนแสดงสัตว์ที่มีการจำลองถิ่นที่อยู่ของสัตว์ ซึ่งไม่ใช่เฉพาะพื้นที่แสดงสัตว์ที่สัตว์อยู่เท่านั้น แต่รวมทั้งพื้นที่โดยรอบและพื้นที่ชมสัตว์ของผู้เที่ยวชมด้วย ซึ่งจะทำให้ผู้เที่ยวชมเกิดความรู้สึกเสมือนเข้าไปในสิ่งแวดล้อมจริงที่เป็นถิ่นที่อยู่ของสัตว์ชนิดนั้นๆ เกิดปรากฏการณ์ที่สวนสัตว์ทั่วโลกมีการเปลี่ยนแปลงในการสร้างส่วนแสดง จากที่มีจุดประสงค์และภาระกิจเพื่อความบันเทิงเป็นหลัก มาสู่การสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ธรรมชาติแก่ประชาชนมากยิ่งขึ้น โดยการให้ภาพของธรรมชาติในภาพรวมของระบบนิเวศ เช่น ที่สวนสัตว์แห่งชาติของประเทศสหรัฐอเมริกา ( National zoo ) ที่เมืองวอชิงตัน ดีซี ได้สร้างส่วนแสดงที่มีชื่อว่า อเมโซเนีย ( Amazonia ) มีพื้นที่ประมาณ 4,560 ตารางเมตร ที่รวบรวมเอาพืช ปลา นก สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลานและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมกว่า 360 ชนิด และที่พิพิธภัณฑ์ทะเลทรายอริโซนา – โซนาราน ( Arizona – Zonora Desert Museum ) ที่รัฐอริโซนามีส่วนแสดงของแกะบิ๊กฮอร์น ที่นำเสนอภาพที่แกะบิ๊กฮอร์นยืนอยู่บนภูเขาหินเทียม ท่ามกลางต้นไม้ประจำพื้นที่แบบทะเลทราย ภาพของสวนสัตว์แบบเก่าคือคือผู้นำสัตว์ป่าออกจากป่า เพื่อการจัดแสดงและเมื่อสัตว์ นั้นตายก็จะไปนำออกจากป่าใหม่ แต่ในปัจจุบันสวนสัตว์ถูกควบคุมกฎหมายในประเทศและ ระหว่างประเทศ ทำให้สวนสัตว์ต้องมีการปรับตัวที่จะต้องใช้ทรัพยากรสัตว์ป่าอย่างคุ้มค่า และ ยั่งยืน รวมทั้งสวนสัตว์ยุคใหม่ต้องเปลี่ยนภาพลักษณ์ที่จะเป็นผู้เชื่อมโยงมนุษย์กับธรรมชาติ ให้ผู้เที่ยวชมเห็นระบบนิเวศของสัตว์ชนิดนั้นในพื้นที่ถิ่นที่อยู่ จุดเริ่มต้นของสวนสัตว์เป็นสถานที่เพื่อความบันเทิงและพักผ่อนหย่อนใจของสำหรับกษัตริย์และขุนนาง แต่ปัจจุบันสวนสัตว์จะเป็นศูนย์สำหรับการเพาะขยายพันธุ์สัตว์ป่า ( Conservation Center ) เป็นสวนสาธารณะที่จำลองพื้นที่ทางธรรมชาติ ( Biopark ) ที่ผู้เที่ยวชมจะเห็นความสำคัญ เห็นคุณค่าของความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตทั้งสัตว์และพืช เพื่อเป็นการสร้างจิตสำนึกที่ประชาชนในสังคม ที่จะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในอันที่จะลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่จะส่งผลต่อระบบนิเวศของสัตว์ป่า

คาร์ล ฮาเจนเบค ( Carl Hagenbeck )

คาร์ล ฮาเจนเบค ( Carl Hagenbeck ) พ่อค้าสัตว์ป่าชาวเยอรมัน ที่เกิดในปี พ.ศ. 2387 ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้ริเริ่มในการสร้างสวนสัตว์สมัยใหม่ ( deserve credit for envisioning the first modern zoo ) ก่อนที่จะมาถึงการเป็นเจ้าของสวนสัตว์ เขามีอาชีพในการจัดหาสัตว์ป่าเพื่อแสดงในละครสัตว์และสวนสัตว์ เจ้าของคณะละครสัตว์ ซึ่งสวนสัตว์ที่มีในยุคนั้นยังไม่ได้ใช้คำว่า “ Zoo ” แต่ใช้คำศัพท์ว่า “ Menageries ” โดยความคิดฝันของคุณฮาเจนเบค เขาอยากจะที่จะสร้างสวนสัตว์ที่มีพื้นที่กว้างขวาง ที่สามารถจัดแสดงสัตว์ให้ได้เหมือนกับถิ่นที่อยู่เดิมของสัตว์ชนิดนั้น สวนสัตว์ของเขาเปิดในปี พ.ศ. 2450 ที่เมืองสเทลลิงเจน ( Stellingen ) ประเทศเยอรมนี ซึ่งแนวคิดของเขามีสวนสัตว์ทั่วโลกนำไปปรับใช้คือ เขาไม่ใช้รูปแบบของส่วนแสดงในแบบเดิมๆ ที่ใช้รั้ว ซี่กรง หรือวัสดุอื่นๆ ซึ่งเป็นวัสดุที่สร้างความรู้สึกว่าสัตว์นั้นถูกกักขัง ที่ส่วนแสดงสัตว์ป่าจากพื้นที่ราบในทวีปแอฟริกา ( African plain ) เขานำม้าลาย แอนติโลปและกาเซลกำลังกินหญ้าอยู่ใกล้ ๆ กับสิงโต แต่ชนิดสัตว์ผู้ล่าจะถูกแยกจากสัตว์กินพืชโดยการใช้คูแห้งที่ลึก ซึ่งการออกแบบและก่อสร้างที่ทำให้ผู้เที่ยวชมมองไม่เห็นคูแห้งที่แยกระหว่างกลุ่มสัตว์เมื่อมองจากจุดชมสัตว์

การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสวนสัตว์ในรูปแบบดังกล่าวเป็นวิธีการที่มีค่าใช้จ่ายสูง ทำให้ความคิดของฮาเจนเบคได้รับความนิยมอยู่ในวงแคบๆ ในระยะต่อมาภายใต้คำแนะนำและคำวิพากษ์วิจารณ์ของนักชีววิทยาและนักสัตววิทยาหัวก้าวหน้าหลายๆ ท่าน สวนสัตว์หลายแห่งก็เริ่มมีการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะนักวิจัยพฤติกรรมสัตว์ป่า ( animal behaviorist ) ได้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของสังคมสัตว์ที่มีการสัมผัสสัมพันธ์กันระหว่างสมาชิกในฝูง เช่น ลิงมีหาง ( monkeys ) ลิงไม่มีหาง ( apes ) ช้างและม้าลาย มีงานวิจัยในเรื่องพฤติกรรมการสืบพันธุ์ อาหารและสิ่งแวดล้อม การปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมของสัตว์หลากหลายชนิดในป่าธรรมชาติ งานวิจัยเหล่านี้ทำให้เราเข้าใจในสัตว์ชนิดต่างๆ มากขึ้น ดังนั้นในส่วนแสดงสัตว์ต้องมีการสร้างกิจกรรมให้แก่สัตว์ เพื่อให้สัตว์มีโอกาสที่จะได้แสดงพฤติกรรมตามสัญชาตญาณ มีพื้นที่เพียงพอให้สามารถเคลื่อนที่ไปมาซึ่งจะช่วยให้สัตว์แข็งแรง มีสุขภาพจิตที่ดี ซึ่งสัตว์ที่มีการเคลื่อนไหวและมีการแสดงพฤติกรรมปกติอย่างที่แสดงในป่าธรรมชาติ จะเป็นการสร้างจุดสนใจสำหรับผู้เที่ยวชมที่มีต่อสัตว์ในส่วนแสดง ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา สาธารณะชนได้ให้ความสนใจกับกิจการของสวนสัตว์มากยิ่งขึ้น และแสดงความต้องการที่จะให้สวนสัตว์มีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงตัวเอง โดยมีสาเหตุ 2 ประการคือ แรงกระตุ้นจากสื่อสารมวลชน และรูปแบบการดำเนินชีวิตของมนุษย์ที่ห่างจากธรรมชาติมากขึ้น 1. สื่อมวลชนในหลายแขนงได้นำเสนอภาพถึงสัตว์ที่อยู่ในสภาวะใกล้สูญพันธุ์เช่น ช้าง ลิงกอลิลาร์และแพนด้าทำให้ประชาชนทั่วไปรับทราบถึงสถานการณ์ที่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ถูกคุกคาม และจำนวนประชากรในป่าลดลง ตัวอย่างของรายการที่แพร่ภาพทางโทรทัศน์ในประเทศสหรัฐอเมริกาและอีกหลายประเทศทั่วโลกในช่วงปี พ.ศ. 2506 ชื่อรายการ Wild Animal ซึ่งแพร่ภาพจำนวน 329 ตอน หรือในยุคปัจจุบันรายการโทรทัศน์มีการนำรายการสารคดีธรรมชาติสัตว์และพืชนำเสนออย่างมากมาย หรือเป็นช่องเฉพาะที่เราคุ้นเคยกันในชื่อของ Animal Planet Chanel, Discovery Chanel ได้ให้ความรู้แก่ประชาชนจำนวนมากในวงกว้าง ผู้ชมรายการดังกล่าวเคยเห็นภาพของนกกระจอกเทศและวิลเดอร์บีทที่วิ่งในทุ่งกว้าง และผู้ชมส่วนหนึ่งก็มีความต้องการที่จะเห็นสัตว์เหล่านี้แสดงพฤติกรรมแบบนั้นในส่วนแสดงสัตว์ในสวนสัตว์บ้าง

2.  ในยุคปัจจุบันที่พื้นที่ของเมืองขยายตัว  มนุษย์ไกลห่างจากพื้นที่ป่า  พื้นที่ธรรมชาติมากขึ้น  ความรู้สึกที่มนุษย์มีความต้องการที่จะสัมผัสกับธรรมชาติจึงมีมากขึ้น  สวนสัตว์ซึ่งส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเมืองจึงต้องเป็นส่วนหนึ่งในการตอบสนองความต้องการของมนุษย์ในเรื่องนี้  


        เหตุผลอีกประการหนึ่งที่สวนสัตว์จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงตัวเอง เมื่อป่าไม้ที่เป็นถิ่นที่อยู่ของสัตว์  อยู่ในภาวะที่ต้องเผชิญกับปัญหาการถูกทำลายในอัตราที่สูงมาก  เมื่อพื้นที่ป่าลดลงจำนวนสัตว์ก็ย่อมน้อยลงตามไปด้วย  เช่น จำนวนประชากรของลิงกอลิล่าภูเขา ( mountain gorillas ) เหลืออยู่เพียง 500 ตัว ทั้งในประเทศซาอีร์และราวันดาของทวีปแอฟริกา  รวมทั้งมีปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้สัตว์ชนิดนี้ลดจำนวนลงคือสถาณการณ์การเมืองที่ประเทศทั้ง 2 นี้อยู่ในสภาวะสงครามกลางเมือง  และความอ่อนแอของกฎหมายที่จะควบคุมการล่าของนายพราน  เฟอร์เรทเท้าดำ ( Black – foot ferret )  อยู่ในสภาวะใกล้สูญพันธุ์  เนื่องจากถิ่นที่อยู่คือพื้นที่ราบอเมริกัน (American Plain)  กลายเป็นพื้นที่เพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์  ทำให้สัตว์เหยื่อที่เป็นอาหารของ   เฟอร์-เรทคือ  แพรีดอค ( Prairie Dog )  ลดจำนวนลงตามไปด้วย  ความจริงที่น่าเศร้าก็คือ มีสัตว์อีกหลายชนิดที่ต้องสูญพันธุ์ไปก่อนที่นักวิทยาศาสตร์จะได้ทำการศึกษา  ถึงการมีอยู่ของสัตว์ชนิดนั้นในโลกใบนี้  

= การร่วมมือกันเพื่ออนุรักษ์สัตว์ป่าไว้ =

มีสัตว์และพืชหลายชนิดอยู่ในสภาวะใกล้สูญพันธุ์จากสาเหตุหลายประการ เช่น ขาดแหล่งอาหาร ไดโนเสาร์เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนซึ่งสูญพันธุ์ไปเมื่อ 65 ล้านปีที่แล้ว ในช่วงปี พ.ศ. 2193 ถึง 2493 อัตราการสูญพันธุ์ของพืชและสัตว์อยู่ที่ 1 ชนิด ทุก ๆ 5 ปี ในปัจจุบันจากการทำลายป่าของมนุษย์อย่างกว้างขวาง ทำให้พืชและสัตว์มีโอกาสสูญพันธุ์ 74 ชนิดต่อ 1 วัน หากอัตราดังกล่าวยังดำเนินต่อไปคาดกันว่าจะ สิ่งมีชีวิตประมาณร้อยละ 20 จะสูญพันธุ์ในเวลา 30 ปี สวนสัตว์หลาย ๆ แห่งได้ทำงานในส่วนที่มากกว่าการจัดแสดงสัตว์และเผยแพร่เรื่องวิกฤตการณ์ของสิ่งแวดล้อม เป็นเวลามากกว่า 30 ปี ที่สมาคมสวนสัตว์และสถานแสดงสัตว์น้ำแห่งอเมริกา (American Zoo and Aquarium Association) ที่มีสมาชิกเป็นสวนสัตว์จำนวน 162 แห่ง เป็นสมาคมที่จัดลำดับให้งานด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่าเป็นเป้าหมายที่สำคัญที่สุดโดยมีความร่วมมือในงานที่เรียกว่า แผนงานเพื่อความคงอยู่ของพันธุ์สัตว์ ( Species Survival Plan , SSPs) โดยมีสวนสัตว์ที่ใหญ่ ๆ เป็นผู้ร่วมในงานนี้มีชนิดสัตว์จำนวน 172 ชนิดที่อยู่ในแผนงานนี้และโครงการจำนวน 116 โครงการ

เป้าหมายหลัก  2  งานของ SSPs คือ 1.  การคัดเลือกชนิดสัตว์เพื่อเข้าสู่การเพาะขยายพันธุ์  เพื่อเพิ่มจำนวนสัตว์ที่แข็งแรงให้มีจำนวนมากเพียงพอ 2.  การนำสัตว์ปล่อยคืนสู่พื้นที่ธรรมชาติ  ซึ่งก่อนที่จะนำสัตว์ปล่อยคืนนั้น สัตว์ต้องผ่านกระบวนการฝึกสัตว์ให้มีความคุ้นเคยเรียนรู้สภาพพื้นที่และชนิดอาหาร โดยมีตัวอย่างความสำเร็จคือ 1.  ม้าป่าพันธุ์เอเชียหรือม้าป่าพันธุ์พรีวอซสกี้ (Prezewalski’s horse)  ที่สูญพันธุ์จากทุ่งหญ้าสเตปป์ในประเทศมองโกเลียไปแล้ว  โดยตั้งแต่  พศ. 2513  ได้มีการปล่อยคืนสู่ถิ่นที่อยู่เดิมที่เป็นทะเลทรายและทุ่งหญ้าที่เป็นพื้นที่อนุรักษ์  2.  โครงการนำลิงโกลเด้นไลอ้อนทามารีน ( Golden Lion Tamarin ) จำนวนหนึ่งที่สามารถเพาะพันธุ์ได้ในสวนสัตว์ปล่อยคืนสู่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ในป่าดิบชื้นของประเทศบราซิล  

โดยภาพรวม SSPs มีโครงการเพาะขยายพันธุ์สัตว์ป่าที่อยู่ในสภาวะใกล้สูญพันธ์อยู่มากกว่า 50 ชนิดสัตว์ ซึ่งเป็นเพียงส่วนเล็ก ๆ ของสัตว์ป่าที่ถูกคุกคามทั้งหมด มีบางสวนสัตว์ที่มีสถานีเพาะขยายพันธุ์ที่อยู่นอกพื้นที่ของสวนสัตว์ และเป็นเขตที่เปิดให้ประชาชนทั่วไปได้เข้าชมเป็นครั้งคราว เช่น ศูนย์วิจัยและอนุรักษ์ของสวนสัตว์แห่งชาติของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นศูนย์วิจัยและเพาะขยายพันธุ์ 1 ใน 3 แห่งของประเทศ มีพื้นที่ 7,800 ไร่ ที่เมืองฟอร์น รอยอล รัฐเวอร์จิเนีย ( Fort Royal, Virginia.)

ที่อยู่ของสัตว์ป่า ( Places for Living Thing )

         เนื่องจากถิ่นที่อยู่  ( habitat )  เป็นปัจจัยสำคัญต่อพฤติกรรมและความอยู่รอดของสัตว์ป่า เรามาทำความเข้าใจกับคำว่าถิ่นที่อยู่  “ Habitat ”  ในความหมายของนักสัตววิทยานั้นหมายถึงอะไร ความหมายที่สั้นที่สุดคือ เป็นพื้นที่จำเพาะที่สัตว์และพืชนั้นอาศัยอยู่ เช่น  แหล่งน้ำชื่อ  Great blue heron  เป็นถิ่นที่อยู่ของบีเวอร์ซึ่งเป็นสระน้ำ ( pond )  ในรัฐมิเนโซต้า  ในขณะที่ถิ่นที่อยู่ของอูฐคือ ทะเลทรายที่กำลังขยายพื้นที่ในประเทศมอรอคโค  เราจะใช้คำว่าสังคม ( Community ) ในกรณีที่พืชและสัตว์มาใช้พื้นที่ร่วมกัน  สังคมของสระน้ำที่บีเวอร์อยู่ยังประกอบไปด้วยพืชหลายชนิด  ปลา  นก  สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม  สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังและสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็ก  สังคมของสระน้ำก็คือระบบนิเวศ ( ecosystem ) ที่หมายถึง  ความเชื่อมโยงของพืชและสัตว์หลายชนิดที่มีความเกี่ยวพันกันในสภาพสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ 

ระบบนิเวศจะใช้บ่งถึงพื้นที่ที่ค่อนข้างเล็ก เช่นสระน้ำที่บีเวอร์อาศัยอยู่ เมื่อจะต้องกล่าวถึงถึงพื้นที่ใหญ่ขึ้น เช่น พื้นที่ป่าสน ( Coniferous Forest) ระบบนิเวศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเราจะใช้คำว่า ชีวนิเวศ ( biomes) ซึ่งหมายถึงพื้นที่ของโลกจะประกอบด้วยพืชที่คล้ายกันและสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาล ชีวนิเวศจะประกอบด้วยสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์หลายชนิด รวมทั้งสิ่งที่ไม่มีชีวิต เช่น หินและดิน ตัวอย่างเช่น ป่าเขตร้อน ( Tropical forest ) ที่มีลักษณะสำคัญคือ เป็นพื้นที่ในบริเวณใกล้เส้นศูนย์สูตรมีฝนตกชุก มีความหลากหลายของชนิดพืช ทะเลเป็นชีวนิเวศที่รวมเอาตั้งแต่สาหร่าย แพลงตอนที่เป็นอาหารของปลาวาฬสีน้ำเงิน โดยที่องค์ประกอบของแต่ละชีวนิเวศจะประกอบด้วยถิ่นที่อยู่และสังคมที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น ทะเลทรายโมเจวี ( Mojave ) ทะเลทรายซาฮาร่าและทะเลทรายโกเบ จะมีลักษณะจำเพาะและลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกันแต่ทั้งหมดจัดอยู่ในชีวนิเวศเดียวกัน

การปรับตัวของสัตว์ป่าเพื่อความเหมาะสมกับสิ่งแวดล้อม ( Finding a Nich )

         สัตว์หลาย ๆ ชนิดที่ดำรงชีวิตในชีวนิเวศ ( biomes ) เดียวกัน  จะมีวิธีการปรับตัวที่ช่วยให้ตัวเองอยู่รอดในสิ่งแวดล้อมแห่งนั้นๆ คล้ายกัน อย่างไรก็ตามสัตว์แต่ละชนิดจะมีการพัฒนาลักษณะทางร่างกายและพฤติกรรมให้เหมาะกับพื้นที่ที่ตัวเองอยู่โดยใช้คำศัพท์สำหรับความหมายดังกล่าวว่า   niche หรือ ecological niche 

ecological niche คือ บทบาทที่สัตว์หรือพืชแสดงออกมาในสิ่งแวดล้อมที่ตนเองอาศัยอยู่ ซึ่งบทบาทจะแสดงออกมาอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมที่ตนเองอยู่ เช่น ลักษณะพื้นที่ สิ่งแวดล้อม อาหารที่สัตว์กิน วิธีการสืบพันธุ์ การที่สัตว์แต่ละชนิดมีบทบาทของตัวเองที่แตกต่างจากสัตว์ชนิดอื่น ๆ ในสิ่งแวดล้อมเดียวกัน จะมีประโยชน์ในแง่ของการใช้แหล่งอาหารที่ไม่แก่งแย่งกันเกินไป จำนวนของลูกที่เกิดใหม่ก็ไม่ออกมามากเกินปริมาณอาหารและพื้นที่ รวมทั้งพฤติกรรมที่ช่วยให้สัตว์แต่ละชนิดอยู่ร่วมกับสัตว์ชนิดอื่นได้


สัตว์เท้ากีบที่กินหญ้า-ใบไม้ในทุ่งหญ้าซาวันน่าในทวีปแอฟริกา เป็นภาพที่บทบาทของสัตว์แต่ละชนิดค่อนข้างลงตัว สัตว์แต่ละชนิดมีอาหารที่ตัวเองชอบและกินส่วนที่ต่างกันของพืช ซึ่งจะช่วยให้ไม่เกิดปัญหาขาดแคลนอาหารเกิดขึ้น ม้าลายที่มีฟันที่แข็งแรงจะกินหญ้าที่ใบแห้งหยาบ วิลเดอร์บีทจะกินหญ้าที่มีลำต้นยาว แอนติโลปจะกินส่วนโคนที่เหี่ยวแห้งของหญ้า ส่วนยีราฟจะกินยอดอ่อนของใบไม้ ดังนั้นสัตว์และพืชหลายชนิดจึงมีบทบาทของตัวเองในแต่ละถิ่นที่อยู่ และต้องมีการปรับให้เกิดความสัมพันธ์กับสัตว์ชนิดอื่นเพื่อให้สิ่งมีชีวิตอยู่รอดได้ ความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดระหว่างสิ่งมีชีวิต 2 ชนิดที่มีสัตว์ชนิดหนึ่งหรือทั้งสองชนิดได้ประโยชน์ เราจะเรียกความสัมพันธ์โดยใช้คำศัพท์ว่า การอยู่ร่วมกันแบบอิงอาศัย ( Symbiosis ) ยกตัวอย่างเช่น นกในทวีปแอฟริกาชื่อออคเปคเกอร์ ( oxpecker ) จะจิกกินแมลงบนหลังแรด สัตว์ทั้ง 2 ชนิดได้ประโยชน์จากความสัมพันธ์ดังกล่าว นกหาแมลงเพื่อกินเป็นอาหาร ส่วนแรดก็ไม่มีแมลงมารบกวน